แรงงานเพื่อนบ้าน (1)


แรงงานเพื่อนบ้าน (1)

คำว่า  “แรงงานเพื่อนบ้าน”  ฟังดูรู้สึกนุ่มหู อยู่ใกล้ตัวเรา  อยากเรียนรู้และสัมผัสใกล้ๆ  จริงๆ คือ ประชากรต่างด้าว ตามภาษาราชการ  หรือ “แรงงานข้ามชาติ”  ภาษาที่นักสิทธิมนุษยชน นักพัฒนาสังคมใช้เรียกเสมอๆ  เพราะ คำว่า  “แรงงานต่างด้าว”  คนที่เป็น  “คนนอก”  ฟังแล้วรู้สึกเฉยๆ  แต่ “คนใน”  ที่สัมผัสจริงกับปัญหาแรงงาน ฟังแล้วอาจรู้สึกมี “ปนอคติ”  “ทัศนคติเชิงลบ”  

“แรงงานต่างด้าว” เป็นภาษาเขียนที่ถูกบัญญัติในกฎหมายไทย  แต่ก่อนที่ผมไม่ได้ลงมาทำงานด้านนี้ เห็นมีคนเขียนหรือแปลเป็น  Alien workers  หรือ Foreign Workers  ปัจจุบันภาษาวิชาการส่วนใหญ่จะใช้  Migrant Workers

“แรงงานเพื่อนบ้าน”  ในประเทศไทยส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 90  เป็นชาวพม่าที่มาจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น พม่า มอญ ทวาย คะฉิ่น คะยา ไทยใหญ่ อาระกัน กระเหรี่ยง ปะหล่อง ปะโอ ลาหู่ อาข่า ฯลฯ

จากการที่ได้สัมผัสชีวิตผู้คนตามกลุ่มชาติพันธุ์ เห็นความแตกต่างของวิถีชีวิต แบบแผนการดำเนินชีวิต ปัญหาและความต้องการแตกต่างกัน 

แรงงานเพื่อนบ้าน จริงๆ  มีผู้คนจำนวนมากถูกนโยบายรัฐผลักใสให้ไปเป็นเพราะต้องมาทำงานในเมืองใหญ่ เพราะเขาอาจเป็นคนบนพื้นที่สูง หรืออยู่บริเวณชายแดนฝั่งประเทศไทย 

การพิสูจน์สัญชาติพม่า ทำหนังสือเดินทางชั่วคราว ทำใบอนุญาตทำงาน ก็ดำเนินไปตามนโยบาย หากการพิสูจน์ทราบจริงๆ ว่าเป็นคนที่ไหน อย่างไร ไม่มีใครบอกได้ ขอให้มีตัวตนและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นคน “พม่า” 

ทราบข่าวว่า รัฐบาลพม่ากำลังจัดทำฐานทะเบียนราษฎร และมีทีมปรึกษาจากต่างประเทศ  ก็คงจะเห็นชัดเจนว่า ใครอยู่ที่ไหน ทำอะไร 

ก่อนจะถึง  “อาเซียน”   ประเทศไทยอาจต้องทำ   “หน้าตา และการแสดงตัวตนให้ชัดเจน” และให้สิทธิบุคคลตามกฎหมายที่ประกาศไว้

อำเภอต่างๆ ในพื้นที่ตะเข็บชายแดนภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ของไทยติดกับพม่า  ต้องดำเนินตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล  ให้ได้รับตามสิทธิที่พึงได้รับ   แต่วันนี้ที่คนจำนวนมากยังไม่ได้รับเพราะ  “ระบบอุปถัมภ์”   “ปัญหาคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่ท้องที่ ท้องถิ่น และฝ่ายปกครองบางคน” 

“ครูครับ  หฯยังไม่ได้สัญชาติไทยเลยค่ะ  ที่บ้านไม่มีเงิน พ่อหนูไปทำงานแล้วหายไปเลย เหลือแต่แม่ต้องเลี้ยงน้องอีกสองสามคน แม่รับจ้างทำงานตามไร่   หนูไม่ได้เรียนหนังสือต้องเลี้ยงน้อง   หนูแอบร้องให้เสมอเมื่อเห็นเพื่อนๆ  แต่งชุดนักเรียไปโรงเรียน”  เสียงของเด็กไร้สัญชาติ ที่อำเภอสังขละบุรี  จังหวัดกาญจนบุรี  (วันที่ 17  ตุลาคม 2556)

“แต่หนูอยากสอนหนังสือภาษาพม่าให้กับคนที่ชายแดนค่ะ  เราจะเป็นอาเซียนแล้ว พวกหนูอยู่ชายแดนคงจะเห็นปัญหาเยอะ”  ความฝันของเด็กชายแดนสู่เด็กไทย

“คนชายแดนคือผู้ที่จะเข้าถึงอาเซียนมากกว่าใครเพื่อน  คนในเมืองต้องผ่านมาเรียนรู้พวกเรา   เราต้องเตรียมตัวและสร้างความพร้อมมากกว่านี้  เด็กที่อยู่ชายแดนเราต้องคุ้มครองเสมอเหมือนกัน”   เสียงของ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองลู กล่าวในวันเปิดการประชุม “องค์กรปกครองท้องถิ่นกับการพัฒนาระบบคุ้มครองเด็ก พื้นที่นำร่อง  ตำบลหลองลู  อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี”

 จากแรงงานเพื่อนบ้าน สู่คนชายแดน สู่คนใกล้บ้าน ครอบครัวเดียวกัน  ตลาดเดียวกัน วัฒนธรรมใกล้กัน  ความเป็นอาเซียนอาจต้องมาวัดเรื่องนี้   อาชีพ 7+1 อาจมีความหมายน้อยมากสำหรับ  “แรงงานเพื่อนบ้าน”

 

สมพงค์  สระแก้ว

มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN)

21 ตุลาคม 2556

 

 

หมายเลขบันทึก: 551432เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2013 17:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2013 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท