บทสาขาที่ 2 เรื่องที่ 2.1 วิจักษณ์ศิลปินดนตรี Appreciation Of musical artists ในแหล่งสยาม


2.1.1 ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลมหาราช  (รัชกาลที่1)

 

จับตอนจากที่มาและกล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับมนุษย์ต่อสังคมและวัฒนธรรมเมืองในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่1) ต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งเพลงดนตรีที่กล่าวนี้มาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เริ่มเจริญในด้านความรู้ ประสบการณ์และการพัฒนาร้องเล่น ยังใช้ปี่ใน ระนาดกลางเอกทำด้วยไม้ไผ่ดง ฆ้องวง (ปัจจุบันคือฆ้องวงใหญ่) ตะโพน กลองทัด (ลูกโยน)ใช้เพลงเทพทองบรรเลงเล่น จนเป็นที่รู้จัก ปัจจุบันได้สร้างกลองทัดเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ใบ เพื่อให้มีเสียงต่ำกว่าลูกเดิม ขอสันนิฐานว่า       คงได้เห็นวงฝรั่งในแบบรูปวงซิมโฟนี ออร์เคสตร้า Symphony orchestra เพราะมีกลองอยู่ 2 3 ใบ ปากกว้าง ก้นคล้ายกะละมังใบใหญ่หงาย ขึ้นหน้าด้วยหนังสารสังเคราะห์ ใช้ไม้ตีด้วยหัวไม้มีขนปุย มีเสียงเร้าใจยิ่งใหญ่ ระทึกและนิ่มนวล เป็นวิวัฒนาการเกิดขึ้นในกรุงต้นรัตนโกสินทร์ ตามธรรมดาไม่ว่าสมัยใดถ้าร่วมเล่นกันเป็นลุ่มเป็นหมู่แล้วเรียกว่าวง (ดนตรี) จะเล็กหรือใหญ่แล้วแต่ขนาดของวง เพื่อความสำคัญและสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่นกับผู้ฟังพร้อมทั้งผู้ชม

 

วงมโหรี ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาตอนปลายจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการคิดค้นเครื่องดนตรีมาเติมร่วมเช่นวงมโหรีเครื่อง 6 สมัยอยุธยาตอนปลายมี (1) กระจับปี่ (2) ซอสามสาย (3) ขลุ่ยเสียงกลาง (4) โทน (5) รำมะนา (6) กรับพวง ขอสันนิฐานว่าคงนับชิ้นเครื่องมือ

 

เมื่อเข้าสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่1) ได้เติมระนาดทำด้วยไผ่ดง 1 ปรับให้เป็นระนาดเสียงทุ้ม และระนาดกลางเอกปรับให้เป็นเสียงเอก ด้วยการเพิ่มลดลูกของผืนระนาด และทำระนาดผืนแก้ว จึงมีมโหรีเครื่อง 8 ขึ้น ระดับครูพระยาภูมี เล่าให้ฟังว่า ระนาดผืนแก้วนั้นหล่อจากแก้ว ลักษณะแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าเลียนผืนฯ แต่ละลูกระนาด หนาบางไม่เท่ากัน ลูกไม่เรียบ ตีแรงแล้วแตก สีเขียวขุ่นแปลกน่าเกลียดกว่าสีลอดช่องปลากริมไข่เต่า อยากรู้ประมาณเสียงใช้เหรียญ 10 บาทเคาะแก้วน้ำเช่นกัน เพียงแต่ เสียงโตกว่า ไม่สำเร็จ แต่ยังจัดได้ว่ามีการพัฒนาเกิดขึ้นในวงการดนตรี  

 

ด้านความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับผู้เล่นดนตรี และผู้ที่ชอบสื่อดนตรี ได้มีใจให้กันเพิ่มขึ้นต่อการดำรงชีวิต ดังเพลงบทหนึ่งสมัยนั้นสรุปกล่าวไว้ว่าทำนา ค้าขาย ใครจะพาย จะพา จงได้รวย ทั่วหน้า โชคนำมา มากมาย

 

 

2.1.2 ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

(รัชกาลที่2)

 

ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับมนุษย์ต่อสังคมและวัฒนธรรมเมืองในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) รัชกาลแห่งศิลปินถิ่นศิลปะ พระองค์ทรงเป็นศิลปินอย่างเต็มพระองค์ ทรงบรรเลงซอสามสายได้อย่างเลิศ มีซอสามสายคู่พระหัตถ์นามว่า สายฟ้าฟาด และพระองค์ยังทรงแพร่หลายเรื่องทำเครื่องดนตรีด้วยการปลูกมะพร้าวพันธ์ซอ สามารถนำกะลามาทำซออู้กับทำซอสามสาย ผ่าปาดให้ได้ตามส่วนประกอบของเครื่องมือ ขึ้นหน้าจากหนังวัวหนังแพะ พระองค์ท่านได้ปลูกมะพร้าวพันธ์ซอนี้ไว้ที่จังหวัดสมุทรสงคราม อำเภออัมพวา (เมืองแม่กลอง) ปัจจุบัน สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงฟื้นฟูด้วยการปลูกแพร่พันธ์รักษาไว้ที่สวนหลวง ร. 2 และยังเล่ากันสืบต่อมาว่า พระองค์ได้ทรงพระสุบิน (ฝัน) คราได้เสด็จเข้าสวนในเวลาจันทร์ข้างแรมเต็มดวงขณะบรรทม เสียงเข้าพระกรรณ เป็นทำนองดนตรีมาแต่ทางใดไม่ปรากฏ เกิดเป็นเพลง พอตื่นบรรทม พระองค์ทรงทบทวนและจำทำนองเพลงนั้นได้ ทวนทำนองด้วยซอสายฟ้าฟาด แล้วตรัสเรียกหัวหน้าวงมโหรีหลวงมารับพระราชทานต่อเพลงนั้นให้อีกทอดหนึ่ง เสร็จแล้วก็ทยอยถวายการตั้งชื่อ แต่ที่เรียกกันมีชื่อว่า เพลงบุหลันลอยเลื่อน.  เพลงบุหลันลอยเลื่อนฟ้า.เพลงพระสุบิน. เป็นเพลงสำคัญมาก เพราะสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช (รัชกาลที่ 5 ) ที่ประเทศไทยต้องมีเพลงสรรเสริญพระบารมี เหมือนอย่างมีใช้ในทุกวันนี้ เคยได้ใช้เพลงบุหลันลอยเลื่อน.  เพลงบุหลันลอยเลื่อนฟ้า.เพลงพระสุบิน.อยู่ชั่วขณะหนึ่ง จึงได้เรียกชื่อเพลงนี้ว่า สรรเสริญพระบารมีไทยในรัชกาลที่ 5

 

ละครเสภา การขับเสภาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ได้ใช้วงปี่พาทย์เข้าเป็นส่วนประกอบของละคร มีไว้โหมโรง ขยายกริยาท่าแสดงของตัวละครตามท้องเรื่อง เช่นร้องไห้ ดีใจ เยาะเย้ย ถากถาง โกรธ สำแดง อิทธิฤทธิ์ พิธีกรรมมนต์ขาว ไสยดำ กริยาหนี ไล่ตาม จาก เหาะ ไปมาอย่างรวดเร็ว แต่ก่อนที่จะมีวงปี่พาทย์ ยังไม่มีอะไรมาสนองรับการขับเสภา มีเพียงกรับขยับอยู่ในสองมือแค่นั้น แต่เมื่อมาเปิดสถานที่เพื่อประชาชน จึงได้มีวงปี่พาทย์เข้าเป็นส่วนบรรเลงประกอบ

 

เริ่มมีปี่พาทย์บรรเลงประกอบเสภาบรรเลงเฉพาะแสดงบทกริยา นั้นหมายถึงเพลงหน้าพาทย์ เช่นเพลงเสมอใช้แนะนำตัว เพลงโอดใช้ร้องไห้ เมื่อเสภาขับไปตามท้องเรื่องมาถึงบทกริยาแล้วเช่นกริยายกทัพ ทำสงคราม ใช้เพลงหน้าพาทย์กราวนอก กริยาเสด็จใช้เพลงหน้าพาทย์ เชิด

 

ตามประเพณีผู้แต่งคำขับเสภา จะต้องแต่งไหว้ครูขึ้นต้นกลอนไหว้พระรัตนตรัย ไหว้บิดามารดา ไหว้ครูบาอาจารย์ ถวายพระพรพระมหากษัตริย์ แล้วจึงขับเข้าเรื่อง การไหว้ครูจะไหว้บุคคลโดยอ้างชื่อครูที่เป็นมนุษย์ มิใช่เข้าพราหมณ์ ดังที่ปรากฏในคำไหว้ครูบทหนึ่งแต่งไว้ว่า

 

เมื่อครั้งจอมนรินทร์แผ่นดินลับ     เสภาขับยังมีปี่พาทย์ไม่

                       ครั้นมาถึงพระองค์ผู้ทรงชัย        จึงเกิดคนดีในอยุธยา

 

คำว่า แผ่นดินลับ อาจหมายถึงสมัยในรัชกาลที่ 1 เพราะในขณะนั้นยังไม่มีวิวัฒนาการใช้วงปี่พาทย์ ครั้นมาถึงพระองค์ผู้ทรงชัยหมายถึงในสมัยรัชกาลที่ 2 จึงเกิดคนดีในอยุธยา วรรคนี้ผู้แต่งคงยังยึดติดเมืองหลวงเดิม เพราคำว่า อยุธยาไม่สิ้นคนดี มีความหมายว่าคนดียังมีอยู่ ดังที่พูดติดปากมาจนทุกวันนี้ ความหมายซ้อนคือ มีวงปี่พาทย์เกิดขึ้นในรัชสมัยของรัชกาลที่ 2 คงไม่ค่อยชัดเจนในวรรคสุดท้ายของกลอนดังกล่าว สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแก้วรรคสุดท้ายใหม่ว่า จึงเกิดมีขึ้นในอยุธยา

 

ดนตรี เพลง และการละคร ได้สร้างสื่อสัมพันธ์กับผู้ที่รับฟังรับชม ด้านบริการจนเกิดทัศนะสังคมคติ จากการผูกสร้างเรื่องการแสดง จากวันเป็นสองวันและถัดวันต่อไป  Music Humanism Relation ได้กำหนดบทพัฒนาท้องเรื่องใหม่ เพื่อโดนใจทันใจผู้ชมมากขึ้น

 

การบรรเลงเพลงเฉพาะละคร หมายถึงเพลงกริยาโอ้โลม (ความรัก ความสวย ความงาม)กริยาเพลงโอ้ปี่ (จุดประสงค์) กริยาเพลงช้าปี่ (ความอาลัย เศร้าหมอง) กริยาเพลงโอดทยอย (เดินไปร้องไห้ไป) ในบท โส กะ ปะ ริ เท วะ ทุก ขะ โท มะ นัส สุ ปา ยา สา ปิ ทุข ขา โศกแทบดิ้นแดยัน และเมื่อวิวัฒนาการมาถึงระดับนี้ทำให้เพิ่มรสชาติในการชมด้วยตา พร้อมทั้งหูฟังดนตรีได้อรรถรสขึ้น

 

ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับมนุษย์เพิ่มขึ้น แล้วมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงแนวการบรรเลง อาจเป็นว่าบรรเลงเล่นอยู่ในรูปเดิม ผู้เล่นมีความรู้สึกเบื่อ จึงเพิ่มการสรรหาสิ่งแปลกใหม่ให้กับคณะ หันมาบรรเลงอย่างแนวมโหรีบ้าง โดยมีแนวรับส่งร้อง และลำลองไปเรื่อยๆคือ ให้ร้องนำไปก่อน

ละครเสภา เพียงแต่นำมโหรีเข้าร่วม ใช้เพลงประเภท 2 ชั้นต่างๆ ที่กำหนดกันไว้กับตัวละครเช่นเพลงเทพทอง พระทองหวน (สมัยอยุธยาตอนปลาย) เพลงการเวก โดยการแต่งคำร้องให้เข้ากับบทเรื่องการแสดง พอจบเพลงแนวมโหรีแล้วมอบให้วงปี่พาทย์รับเพลงแนวกริยาจากนั้นขับเสภาตามท้องเรื่องต่อไป พิจารณาแล้วว่า ละครโทรทัศน์ในรายการ ได้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

 

กลองทัด เสียงสูงเรียกว่าตัวผู้ เสียงต่ำเรียกว่าตัวเมีย ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เพราะเวลาเล่นในที่แคบเสียงดัง นอกจากจะใช้ Concert เพื่อประชาชน แต่พอละครแสดงถึงบทกริยาที่ต้องใช้เพลงหน้าพาทย์ก็ไม่มีหน้าทับหน้าพาทย์ประกอบ แก้ปัญหาด้วยการนำเปิงมางเปิงคอกลูกเดียว นำใช้เป็นหน้าทับประกอบเพลงหน้าพาทย์ บางรายนำมาถ่วงหน้าด้วยกล้วยตากบดติดหน้าใหญ่หน้าเดียว เพื่อฝืนให้เสียงกระหึ่มต่ำตีแทนตะโพน มาเรียกกันใหม่ว่าสองหน้าหรือกลองสองหน้า นำใช้

จนถึงปัจจุบัน และใช้กับวงปี่พาทย์ไม้แข็งเมื่อตีแรงๆเสียงระทึกเร้าใจ มีความคึกคะนองดั่งออกศึกรบ แต่มีอีกอย่างที่ติดมาจากการแสดงละครประกอบเสภา ต้องขึ้นเพลงโหมโรง Overture เหมือนละครเสภาด้วยโดยเริ่มจากสาธุการไปจนถึงกราวในสุดท้ายต้องลงเพลงวา เพราะเมื่อถึงท้ายเพลงมีลีลาค่อยช้าลง กระทั่งลงลูกจบด้วยการไม่มีจังหวะควบคุมด้วยเสียง Re ต่ำส่วนลองทัด พัฒนาเป็นกลองเสริด เพราะมีทรงเล็กกว่า เสียงเบาและนุ่มนวล   

 

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เพื่อเป็นการแนะเสียงให้กับผู้ขับเสภาที่ต้องขับต้นเสียงที่ Re สูง เพื่อให้ตรงกับเสียงวงดนตรีที่ส่งให้ขับ นับว่าเป็นวิวัฒนาการความสัมพันธ์ของบริบทดนตรีในสมัย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ยังปรากฏวงมโหรีเครื่อง 9 ขึ้นโดยเพิ่มจะเข้เลิกใช่ระนาดแก้ว หันมาใช้ฆ้องวงพัฒนาเป็นฆ้องวงใหญ่แทน

 

2.1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 

    (รัชกาลที่ 3)

 

สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ได้มีวงมโหรีเครื่อง 12 เกิดขึ้น ได้มีการเพิ่มระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก และฉิ่งตีประกอบจังหวะแทนกรับพวง วงใหญ่ขึ้น จึงต้องฟังเสียงจังหวะชัดเพื่อควบคุมวง มีฉาบเล็กไว้ล่อฝืนรับจังหวะตก เกิดสีสันดำเนินการบรรเลง

 

ทางด้านวิชาการ มีการประพันธ์เพลง ย่อขยายเพลง เช่นจากครูผู้หนึ่งเป็นผู้เริ่ม เดิมในอัตราลีลาเพลงชั้นเดียว (1ชั้น) ขยายอัตราลีลาเพลงเป็น 2 ชั้น เริ่มจากเดิมในอัตราลีลาเพลง 2 ชั้น ขยายอัตราลีลาเพลงเป็น 3 ชั้น จากเพลงโบราณที่มีอยู่แล้ว ความจริงน่าจะเรียกเป็น 4 ชั้นเพราะอัฏลักษณ์ลีลา Masseur ขยายเท่าตัว ส่วนการประพันธ์เพลงใหม่นั้น จะเริ่มชั้นไหนส่วนใด แล้วแต่ผู้ประพันธ์มีความรู้แตกฉานพอ      

 

สังคมดนตรี Social Music ด้านความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมแขนงนี้เจริญมากขึ้น เพราะนักดนตรีได้นำดนตรีแต่ละชาติตน กระชับความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีความเป็นไทย ตามบริบทชานเมืองและในเมือง เพลงจึงเพิ่มสีสันต่อการดำรงชีวิต มีปฏิภาคดนตรี ต่างวัฒนธรรมดนตรี จีน ฝรั่ง ลาว แขก ชวา เขมร จาม มลายูได้เข้ามาเยือน แล้วมอบความสัมพันธ์ทางดนตรีระหว่างดนตรีไว้ให้คงยังระลึก มีทั้งครู อาจารย์ นักวิชาการดนตรีเกิดขึ้น ได้สำเนียงดนตรีชาติที่มาเยือน นำประดิษฐ์จนปรากฏเป็นเพลงไทยสำเนียงชาติต่างๆ คิดแค่เพียงการระลึกถึง

 

เกิดดนตรีมนุษย์สัมพันธ์ภาคชนบท เพลงศาสนาประเพณี พิธีกรรมทางชาวบ้าน วางความมาตรฐานเดียว ร่วมกันเชื่อ รวมกันชอบ เช่นพิธีเพลงเชิญปอบผีฟ้า เพลงพญาแถน เพลงขอฝนด้วยพิธีแห่นางแมว ขอความเมตตาจากชาวบ้านด้วยการบรีจากทานให้ทำกุศล จากชูชกไล่ทุบตีกันหา ชาลี นอกจอ ตระเวนเข้าตามบ้านเพื่อนำเงินบูรณะวัด เต้นรำกำเคียว ลอยเรือเกี้ยวกลอน พร้อมทำนองสอนประเพณีธรรมทางศาสนา

 

ดนตรีได้สร้างสุขตามสังคมให้กับมนุษย์ในสมัยนั้น มิได้แปลกอะไร เพราะดนตรียังไม่มีความหลากหลายพอ Accessory song ยังเป็นชุดสูตรดนตรี ปรับวนด้นคำสด เปลี่ยนแค่เพียงคำร้องคำกลอน ร้องเล่นเต้นรำไปตามประสาหา ความสุขรื่นเริง บันเทิงใจ

 

2.1.4 ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

(รัชกาลที่ 4)

 

สังคมดนตรีเจริญมาก นักระพันธ์เพลง นักวิเคราะห์ นักสังเคราะห์ พร้อมนักร่วมวิชาการเข้ามามีบทบาท ได้มีวงปี่พาทย์เกิดขึ้นหลายวงอันเนื่องมาจากทรงโปรดพระราชทานกำหนดครั้งแต่เคยมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ห้ามมิให้ใช้ละครหญิง นอกเสียจากของหลวงเท่านั้น ข้อความจากพระราชดำหริในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอ้างถึงการมีละครด้วยกันหลายรายเป็นการดี บ้านเมืองจะได้ครึกครื้น

 

ยังมีระบบเจ้าขุนมูลนายอยู่ ผู้ร่ำรวยย่อมมีทาษบริวารมาก ต่างบ้านต่างหัดการดนตรี ใช้

วงมโหรี เพื่อให้สตรีเล่น ส่วนเรื่องรำผู้หญิงชอบมากกว่า เลยมาหัดการละคร จึงมีละครผู้หญิงมากมาย เพราะละครแต่ก่อนนั้นใช้ผู้ชายเล่นทั้งหมดแม้กระทั่งตัวนาง ระยะนี้มีละครผู้หญิงใครๆย่อมหาละครผู้หญิงมาดูได้ การดูละครผู้ชายนั้นคนไม่นิยม พวกผู้ชายที่เคยเล่นละครต้องไปหัดเล่นหางเครื่องประกอบจังหวะบ้าง เล่นดนตรีวงปี่พาทย์เพื่อประกอบละครบ้าง

 

ระยะนี้ได้เกิดวงดนตรีประจำบ้านมากมาย แต่ละวงต้องมีผู้ฝึกสอน มีผู้ควบคุมวงเพื่อให้วงดนตรีของตนมีคุณภาพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีครูมีแขกประจำวงด้วย

 

สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในรัชกาลที่4)

สมัยที่พระองค์ทรงเสด็จไปยังเมืองสระบุรี ทรงขับแคนเดินกลอนหมอลำ ทรงโปรดในการเข้าใกล้ชิดประชาชน บางครั้งพระองค์ทรงออกแสดงงานชนบทโดยที่ประชาชนไม่ทราบว่าพระองค์เป็นใคร อยู่ระยะหนึ่งจนทำให้ดนตรีทางเมืองหลวงเหงาไป เพราะบางวงบางบ้านไปตั้งวงหมอลำหมอแคน เมื่อกลับมาได้บูรณะดนตรีทางเมืองหลวงอีกครั้ง และพระองค์ทรงมีความรู้ภาษาอังกฤษขนาดในบันทึกของหมอบรัดเลย์ไว้ว่า ถ้าไม่เห็นพระองค์แล้วจะไม่ทราบว่าเป็นคนไทย ทรงมีเพื่อนเป็นชาวต่างระเทศมากได้รับของขวัญมากมาย

 

 มีอยู่สิ่งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเป็นพิเศษคือ นาฬิกาตั้งโต๊ะมีตุ๊กตาสวยๆยืนนุ่งชุดกระโปรงยาวหมุนรอบตัวได้ยามเมื่อบอกเวลา เสียงจะดังเพราะมีซี่เหล็กที่ตัวตุ๊กตา หมุนไปเกี่ยวกับซี่แกนเหล็กที่ตั้งเรียงรอบแกนภายในตุ๊ตาไว้ เขี่ยทั้งช่วงบนบ้าง กลางบ้าง ล่างบ้างถี่ห่างไม่เท่ากัน เกิดทำนองเสียงเพลงทรงเรียกสิ่งนี้ว่า นาฬิกาเขี่ยหวี

 

พระองค์ไม่ได้ทรงโปรดอย่างเดียว กลับทรงเห็นประโยชน์ในความกังวานของสียง ถ้านำเหล็กมาทำเป็นลูกระนาด คงมีความกังวานไพเราะดีโดยตั้งพระฤทัยไว้ไห้เป็นเสียงต่ำ ให้เรียงต่ำลงมาเรื่อยๆ จากลูกต่ำสุดทางด้านซ้ายมือของผื่นระนาดเอก ต่ำลงมาได้ไม่กี่ลูกก็ต่ำไม่ไหว จึงทำได้แค่ขนาดลูกระนาดทุ้ม เสียงเท่าระนาดทุ้มแต่กังวานกว่าเพราะทำจากเหล็ก เมื่อทำเสร็จแล้วระนาดเอกขาดคู่จึงทำระนาดเอกเหล็กขึ้นมาอีกหนึ่งผืน แล้วมาเสริมผสมกับวงปี่พาทย์ เป็นวงปี่พาทเครื่องใหญ่  ได้รับความนิยมมาก ส่วนบรรดาที่มีวงปี่พาทย์เครื่องคู่อยู่แล้ว ต่างวงต่างหันมาเอาอย่างเลยมีวงปี่พาทย์ขึ้นหลายวง

 

วงปี่พาทย์และเครื่องสายระดับเจ้าขุนนายขุนหลายวงเกือบจะมีแทบทุกบ้าน ในระดับเจ้านาย ขุนนางต่างๆ เมื่อคราวฉลองพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกปราสาท วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ได้เข้าร่วมการบรรเลงอย่างเป็นทางการ โดยไม่นับวงของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมี 12 วง ที่ติด Topaward ปรากฏหลักฐานดังนี้

 

            1. วงของกรมหลวงวัชรินทรณเทเวศร์

2. วงของกรมหลวงสรรพศิลปะเดชา

3. วงของกรมหลวงวงศาธิราชสนิท

4. วงของสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา

5. วงของกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ

6. วงของหม่อมเจ้าประเสริฐศักดิ์

7. วงของสมเด็จเจ้าพระยาพิชัยญาติ

8. วงของเจ้าพระยายมราช

9. วงของพระยามนตรีสุริยวงค์

10. วงของพระยาเสนาภูเบศร์

11. วงของพระยาสุรินทร์ราชเสนี

12. วงของเจ้าหมื่นสรรเพธภัคดี

 

วงต่างๆที่ใช้กับละครมักจะไม่ใช้เครื่องใหญ่ ประโยชน์ใช้แค่เป็น Back up การละคร เช่นวงของเจ้าพระยาเทเวศร์ใช้เพียงวงปี่พาทย์เครื่องคู่

เพลงประเภทเพลงเถาแนวทยอย เกิดขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ครูเพ็ง ดุริยางค์กูล ได้แต่งเพลงทยอยใน (ข้อมูลเพลงยาวมาก) มีศักดิ์เป็นน้องชายของครูมีแขก นำใช้บรรเลงเล่น ชอบที่จะอวดการแต่งเพลง อวดการแข่งขัน อวดวิชากันเสมอ (สีสันอย่างนี้มีกันทุกยุค) ครูมีแขก ได้ฝึกสอนวงปี่พาทย์ ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจนมีชื่อเสียงกว่าวงใด ถึงกับโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ครูมีแขกเป็นหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ด้วยผลงานการประพันธ์เพลงเชิดจีน ครูมีแขกได้วางทางทัศนะให้เพลงมีความคึกคัก บางวรรคตอนมีลีลาการควบวิ่งของม้า สิ่งที่แปลกคือ การเดินจังหวะของฉิ่ง ให้เดินฉับหมด เมื่อถึงบางวรรคตอนมีลีลาการควบวิ่งของม้า (เชิด) ใช้ฉิ่งตีเสียงฉิ่งอย่างเดียวในการควบคุมจังหวะ ปนสำเนียงจีน เพื่อให้รู้ที่มาของโคลงประพันธ์โดยคนไทยเป็นผู้ประพันธ์

         

เมื่อซ้อมเพลงให้กับวงเป็นที่เรียบร้อย เวลาถวายเพลงด้วยการบรรเลง ต่อพระพักตร์        พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดมาก ถึงกับโปรดเกล้าฯพระราชทานบรรดาศักดิ์ ณ เวลานั้นเป็นพระประดิษฐ์ไพเราะเพียงแค่ในระยะเดือนเดียว เพลงที่แต่งไว้บรรเลงเล่นนั้นมี เพลงการเวก เพลงสารถี เพลงแขกมอญ และเพียงอีกไม่นาน พระประดิษฐ์ไพเราะได้ปะพันธ์เพลงทยอยนอก เถา ขึ้นแก้ต่างน้องชาย

 

เมื่อมีปี่พาทย์เครื่องใหญ่ วงมโหรีก็เอาอย่าง คือมีระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็กเหมือนกัน ลูกของผืนย่อมกว่า ย่อมเห็นทางด้านรูปธรรมและให้เสียงทางด้านนามธรรมทางโสตทัศนะและเมื่อเข้าสู่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชได้มีสำเนียงบังคับด้วยทางกรอเกิดขึ้น

 

 

หมายเลขบันทึก: 551283เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2013 13:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณค่ะ

เนื้อหาเข้มข้น แต่ดิฉันก็ชอบอ่าน

เสียดายไม่มีภาพประกอบให้ได้ชม

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท