บทสาขาที่ 1 เรื่องที่ 1.3 ดนตรีบำบัดจิต Mental music Therapy


ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับมนุษย์

 Music Humanism Relation (MHR)   

1.3 

ดนตรีบำบัดจิต

Mental music Therapy

 

แหล่งที่มาของดนตรีบำบัด

ขอกล่าวทางแถบภาคพื้นเอเซียตะวันออกเกิดขึ้นก่อนคริสศักราช 3000 ปี และอารยะธรรมโบราญทางภาคพื้นยุโรปได้เกิดขึ้น เป็นความเจริญของยุโรปตะวันออกเมื่อ 1000 ปี ก่อนคริสศักราชเช่นกัน ในระยะนั้น กรีกมีความเจริญอย่างสูงสุด ชาวกรีก Helen people ยกย่องดนตรีเป็นสิ่งศักด์สิทธ์และอยู่ใกล้พระเจ้าได้ทำพิธีล้างบาป ชำระล้างจิตใจให้เกิดความสุขเพื่อแสวงหาความรักในความมีเป็นสังคมของมนุษย์ บำบัดโรคภัยไข้เจ็บ และดีต่อการปลอบประโลมสำหรับผู้ที่ขาดกำลังใจ นอกจากนั้น ดนตรียังได้รับการยกย่องเป็นศิลปชั้นสูงของยุโรปตะวันตก ผูกพันอยู่กับชาวโรมันกับชาวกรีกโบราญซึ่งไม่สามารถปฏิเสธได้ จากความสวยอย่างสมบูรณ์แห่งเสียงดนตรีและทางปรัชญา ความสวยงามทางวัฒนธรรม รวมทั้งองค์ศาสตร์ความรู้ต่างๆแห่งดนตรีพอสุปได้ว่า ประวัติศาสตร์ดนตรียุคกรีกโบราญตั้งแต่เริ่มจนถึง 330 ปี ก่อนคริสกาล(330 B.C.) จากนั้นดนตรีตรีกรีกได้แยกออกเป็น 2 สาย

 

สายทางที่ 1 เข้าสุ่กรีกทางทิศตะวันออก Alexander the Great เป็นระดับเสียงที่วางไว้เป็น Cycle voice มี 7 โคลงสร้างดำเนินสายเป็นยุโรปสากล และต่อมาพัฒนามี Scale เพิ่มขึ้นจาก 7 ระดับเสียง ถึง 11 ระดับครึ่งเสียง 

 

 สายที่ 2 เข้าสุ่กรีกทางทิศตะวันตก เคลื่อนตัวไปกับชาวโรมัน เป็นออกกึ่งสำเนียงเสียงวัฒนธรรมสังคมยุคนั้นนำด้วยเสียงเครื่องดนตรีเข้าสู้ตะวันออกกลางมีเสียงดนตรีเฉพาะแนวภูมิ ซึ่งกำเนิดมาจากแถบแถวมหาสมุทร์บอลข่าน

 

อีธอส  (Ethos) นักดนตรีจิตวิทยาสมัยกรีกโบราญ ได้สร้างโหมดหลักคำสอนนี้ไว้ Doctrine of Ethos เพราะคุณสมบัติดนตรีประเภทแนวนี้ สมารถเข้าถึงจิตใจมนุษย์และควบคุมนิสัยภายในได้ ซึ่งมีความเชื่อตามขนบในเรื่องพลังแห่งการรักษาทางสัจจะธรรมดนตรี โดยกล่าวว่า ก่อนนั้น พลังรักษาของดนตรีได้เกี่ยวเนื่องมาจากเทพเจ้า ตามประวัติดนตรี ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึง 330 ปีก่อน      คริตกาล (B.C.) เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมให้กับเทพอพอลโล God Apollo เป็นเทพเจ้าผู้ให้แสงสว่างทั้งภิภพและแสงสว่างทางปัญญากับมวลมุษย์ จากนักคิดที่ปีทากอร์แรส Pythagoras ชี้แนะให้ จนเกิดระดับเสียง Modevoice หลายระดับเสียงขึ้น ได้มีการสร้างเสียงดนตรีบางเฉพาะกรณี และ Ethos ได้กล่าวอีกไว้ว่า ดนตรีเองก็มีสิ่งขัดแย้งอยูในตัว ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับความชั่วร้ายคือเสียง Mode voice ที่ส่อไปในทางเร่งเร้า ระทึกคึกโครม ป่าเถื่อน ไว้ประกอบการแข่งขันแย่งชิง กีฬาสนับสนุนการฆ่ากันในสนามเพื่อครองความเป็นอัศวิน แล้วยังนำดนตรีไปประกอบพิธีเซ่นชีวิต เพื่อเทพเจ้า โอนีทัส Onitus ส่วนดนตรีที่มีคุณสมบัติดนตรีในโหมดที่ Ethos นำใช้ เข้าสู่ด้านสังคมของมนุษย์นั้นอ่อนโยน คอยสมานรอยร้าวรอยแตกแยกของกลุ่มชนชั้น ขับกล่อมให้เกิดความสงบสุขร่มเย็น เกิดการดำรงค์ชีวิตได้อย่างปกติ นักปราชญ์ยุคนั้นได้กล่าวว่า เสียงดนตรีมีพลังอำนาจสามารถบำบัดโรคทางกายและทางจิตได้เช่น

 

ปีทากอร์แรสPythagoras นักคณิตศาสตร์ของโลกฉายาเจ้าสำนัก ทุกสิ่งคือจำนวนนับ”Everything is natural ได้เป็นผู้วางกฏเกนณฑ์ทางเสียงไว้ ด้วยการทดลองขึงเชือกให้ตึงตามกำหนดจะได้เสียงจากความสั้น ยาวของเสียงที่ขึงนั้นนับจากเสียงแรกและเมื่อได้Tonic ส่วนเชือกที่ตัดสั้นเท่าตัว เมื่อขึงให้ตึงตามกำหนดตามน้ำหนักเส้นที่แล้ว ย่อมได้เสียงที่ 5 ของลำดับของระดับเสียง และรวมทั้งระยะคั่นคู่ 8 (octave) สิ่งนี้เป็นหลักสำคัญต่อนักคิดรุ่นต่อๆมา จนเข้าสู่ในระดับซับซ้อนและจัดเรียงเข้าเป็นเสียงชุด Mode voice ทำให้เกิดตวามรู้สึกแตกต่างกันออกไปได้ถึงรสสัมผัสทางเสียงอย่างหลากหลาย แล้วแต่จะสร้างสีสันอารมณ์ในทางดนตรี Pythagoras  เชื่อว่า ดนตรีในชีวิตประจำวันของมนุษย์ย่อมมีผลกระทบต่อสุขภาพ ย่อมเข้าใจต่ออีกได้ว่า ประเภทแนวดนตรีบางแนว มีทั้งชอบและไม่ชอบนั้น ย่อมมีผลกระทบต่อสุขภาพด้วย ยามเมื่อขาดอารมณ์ต้องการ

 

อริสโตเติ้ลAristotle นักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลกที่มีความถนัดในเชิงปฏิมากรรมและเป็นทั้งนักปรัชญา-วิทยาศาสตร์ ได้กล่าวไว้ในเรื่องดนตรีว่า ดนตรีมีอำนาจเหนือจิตใจมนุษย์ สามารถปลุกเร้าเคล้าอารมณ์ และเลียนแบบอารมณ์มนุษย์ได้ แต่ถ้าเลียนแบบอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งย่อมทำให้มนุษย์คล้อยตามไปด้วย Amenable mood และทฤษฎีของกรีกได้กลายเป็นพื้นฐานเสียงในระบบดนตรีระดับชุดบันไดเสียงแรกเรียกว่า Tetra chords ดั่ง3 ชนิด คือ

 1. Dai tonic

 2. Chromatic

 3. Enharmonic

 แต่ เพลาโต Plato ได้ประณามดนตรีระบบนี้เป็นสิ่งเลวร้ายเพราะมิได้มีจรียะเสียง ethic sound เข้าประเมินค่า 

 

เพลาโตPlato เจ้าของวิทยาลัย Academy (ในสวนสาธารณะ) เสนอว่า ดนตรีสามารถปรับสุขภาพกาย สุขภาพจิตให้ดีขึ้นได้ ย่อมเข้าใจต่ออีกได้ว่า เพียงทำได้แค่ปรับ ถ้าทุกข์ภาพจิตนั้นไม่ออกนอกเส้นทางจนเกินไป Plato ยังกล่าวไว้อีกว่า การบำบัดด้วยดนตรีอย่างเดียวนั้นอ่อนแอเกินไป ควรมีการกีฬาเข้ามาเสริม และไม่ควรใช้โหมดระดับดนตรีที่บางอ่อนเกินไปและแข็งกระด้าง ควรใช้ระดับโหมดดนตรีที่กระตุ้นให้มีความรู้สึกตื่นตัวอย่างสำรวม (เพราะคนกำลังป่วย) เช่น Dorian Mode กับ Phrygian Mode ดังนี้

 

โดยหลักการจากผู้ดำเนินการพิจารณาว่า

1.      โหมดใด หรือเสกลใดต่างย่อมมี 7 เสียงด้วยกัน

2.      โน้ตตัวที่ 3 ของโหมดใด หรือเสกลใดต่างย่อมมีเสียงเด่นชัดกว่าเสียงอื่นเสียงนั้นเรียกว่า roof sound

3.      Tonic ของโหมด Phrygian คือโน้ตตัวที่ 3 ของโหมด Ionian เพราะ โน้ตแต่ละตัวของ Ionian modeเป็น Cycle point ทั้ง 7 โหมด

4.      ความมีเสน่ห์โน้ตตัวที่ 5 6 ของ DorianMode ห่างกัน 1 เสียงเต็ม

 

โอเมอร์Homer นักมหากาพย์แห่งการละครต้นยุคกลางโดยใช้ดนตรีเป็นส่วนมีบทบาทสนับสุนนในขณะขับร้องมหากาพย์ Homeric period ฝากไว้ในการละครว่า โดยหลักการแล้วการกำเนิดได้ในวิชาไสยศาสตร์superstition ซึ่งมีความฤษยา เป็นตัวหลักนั้น สามารถ ป้อง ปราม ปราบด้วยดนตรีได้ ซึ่งหมายถึง head กิเลสในทางลบทั้งหมด เช่นเดียวกับการกำเนิดได้ในวิชาศาสนา Religion ซึ่งมีความสงบเป็นตัวหลักนั้น สามารถสยบความเคลื่อนไหวทางกายได้

 

วัตถุประสงค์   มีหลายประการจากดนตรีแนวบำบัดที่ให้คุณประโยชน์ต่อมนุษย์เช่นการปรับสมดุลย์ให้กับภาวะจิตใจ อารมณ์ดี มีความคิดเชิงบวก ลดภาวะความวิตกกังวล ผ่อนคลายความตึงตังและตึงเครียด กระตุ้นเสริมสร้างสัมพันธ์ต่อสังคม ส่งเสริมสมาธิ สนับสนุนทักษะการสื่อสาร การประกอบใช้อักษรภาษา สร้างบุคลิคการเคลื่อนไหว ลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ เบนความสนใจจากอาการเจ็บปวดต่างๆ ช่วยเสริมกระบวนการแพทย์ทางจิตเวช ประเมินความรู้สึกของตัวเองและผู้อื่นได้ เสริมสร้างความสามัคคี สร้างสุขสร้างความเข้มแข็งต่อสมาชิกครองครัว อีกทั้งแก้ไขการขัดแย้งต่างๆ

 

นิยามศัพท์ดนตรีบำบัด เป็นโครงการของข่าวสารการแพทย์ News medicine ในส่วนสาขาหนึ่งที่ใช้คลื่นเสียงของดนตรีที่วัดได้ตามศาสตร์อุโฆควิทยา Acoustic MovementAcademy มีองค์ประกอบด้วย สุนทรียะศาสตร์ Aesthetic ควบคุมด้วยหลักจริยะศาสตร์ Ethic จัดระดับระบบวงจรเสียงด้วยหลักวิทยาศาสตร์การดนตรี Science of music เพื่อการศึกษา Education โดยมีจุดมุ่งหมายใช้บำบัดรักษาโรคร่วมกับทางการแพทย์ในด้านสรีระกายวิภาคศาสตร์ Physiologies andAnatomy

 

ดนตรีบำบัด รับได้ด้วยการสัมผัสและการฟังดำเนินไปกับพื้นผิวทำนองดนตรี Texture Melodiesราบเรียบ นุ่มนวลดื่มด่ำเมื่อติดตามท่วงทำนองนั้นไป อาจอยู่ในรูปแบบดนตรีธรรมชาติ bio-musicology จาก  เครื่องงดนตรีแท้ หรือเสียงสังเคราะห์ ที่แปรรูปเสียงแล้วอาจอยู่ในรูปแบบบทสวดของศาสนาเนื้อเพลงที่กรองมาเป็นกวีนิพนธ์ ถือเป็นโสตทัศนวัสดุที่รับมาโดยตรง แต่ผลงานนั้นต้องเหมาะกับรสนิยม เมื่อรับการบำบัด ดนตรีสามารถทำให้คงสภาพในอารมณ์ เกิดมีสตินึกคิดอย่างดีงามมีความแข็งแรงทางด้านจิตใจ Power of Mind เมื่อใช้บำบัด

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ต่อส่วนตัว ครอบครัว สังคม จิตใจ มีความสำคัญต่อการปรับอุณหภูมิในร่างกายด้านอารมณ์ให้เป็นปกติ อีกทั้งการปรับสมดุลย์การทำงานร่วมให้เกิดทัศนคติร่วมกันเพื่อความสำเหร็จ ด้านการศึกษาพบว่า ผลของดนตรีทางด้านสรีระวิทยา สามารถปรับให้การหายใจเป็นตามปกติ การเต้นของชีพจรให้อยู่นสภาวะไม่ตื่นกังวล มิให้เกิดความรูสึกว่าอยู่คนเดียวในโลก ปรับความดันโลหิตสูง ต่ำ ลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อปรับระดับการไหลเวียนของโลหิต ซึ่งการแพทย์ได้นำมาประยุกต์ในการรักษาโรค ดนตรีบำบัด Music Therapy ทำให้มนุษย์ได้รับประโยชน์มากหลาย

 

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

ความถี่ของเสียงเครื่องดนตรีไทยแท้

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี และคะณะ (2542 : 74) ได้ค้นคว้าวิเคราะห์เรื่อง ความถี่ของเสียงในเครื่องดนตรีไทย โดยพระราชดำหริในพระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  ถึงระบบความ ห่างของช่วงเสียงระหว่างเสียงหนึ่งเรียงตามอีกเสียงหนึ่งที่ถัดไป จะมีช่วงเสียงเท่ากันทุกช่วงเสียงในระบบ 7 เสียง เรียกว่า 1 เสียงเต็ม” ส่วนเรื่องระดับบันไดเสียงแต่ละช่วงความถี่ ห่าง ระหว่างเสียง ควางแตกต่างทางบ้านเครื่องนั้นมีหลายสาเหตุ ระดับบันไดเสียงบ้านเครื่องจะต่ำกว่าระดับบันไดเสียงวงปี่พาทย์หลวงในกรมมหรสพ เพราะมีการปรับระดับเสียงให้สูงเท่าแตรฝรั่ง โดยมีพระประณีตวรศัพย์เป็นผู้ปรับเสียงไว้เมื่อเปรียบเทียบแล้วจะใกล้เคียงกัน เพราะ Range เสียงของ Trumpet range เป็นเครื่องมือ Bb เมื่อเทียบระดับเสียงของเครื่องดนตรีไทยตรงกับระดับเสียงกลาง นักดนตรีไทยเรียกว่าระดับเสียงเพียงออ เข้าสมัยเปลี่ยนการปกครองได้มีการปรับเปลี่ยนระดับเสียงครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง เมื่อกรมประชาสัมพันธ์ได้ปรับเสียงเข้ากับดนตรีสากลโดยใช้เครื่องมโหรีเทียบให้เข้ากับระดับเสียง Pianorange เป็นระดับเสียง C  ใช้เสียง  โดเป็น Tonic วงมโหรีเป็นเครื่องมือขนาดเล็กในวังหลวงมีไว้ให้กับสตรีใช้บรรเลงเล่น มีระดับเสียงสูงกว่าวงปี่พาทย์ จึงเหมาะต่อการนำมาเทียบเสียงให้ใกล้เคียงกับระดับเสียง Piano เกิดวงดนตรีหลวงแนวใหม่ขึ้นควบคุมโดยครูเอื้อ สุนทรสนาน Man of the year แห่งวัฒนธรรมสหประชาชาติชื่อว่าวงดนตรีสังคีตสัมพันธ์

 

 

ตารางเปรียบเทียบความถี่ของระดับเสียงไทยกับระดับเสียงสากล

 

ระดับเสียง

ความถี่เสียงดนตรีสากล

ความถี่เสียงดนตรีไทย

ผลความต่าง

Do (ต่ำ)

512

505

7

Re

575

557

20

Me

645

616

29

Far

683

680

3

Sol

767

750

17

La

861

828

33

Ti

966

915

51

Do (สูง)

1024

1010

0

 

แสดงผลความถี่ต่างโดยสมมติฐานของของระดับเสียงเครื่องดนตรีที่ โด = 505 รอบ: วินาที ได้มาจากการค้นคว้ากลุ่มชมนุมวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เอกสารประกอบการสอนวิชาอุโฆควิทยา เกี่ยวกับคลื่นถี่ของระดับเสียงดนตรีไทยในกระบวนการทางฟิสิกส์

 

ดนตรี มีองค์ประกอบของเสียงนั้นร่วมรวมอยู่กับระยะเวลา และจากจุดบรรเลง เสียงได้แทรกอากาศเข้ากระทบหู วัตถุเกิดการสั่นสะเทือนแล้วเสียงจึงเกิดขึ้น การบรรเลงนั้นนับเป็นจำนวนครั้งต่อวินาทีว่าเสียงใดใช้เป็น เวท-เวช ได้ ถ้าวัตถุสั่นสะเทือน 440 ครั้งตามหลักสากลย่อมตรงกับเสียง La ของเสียง Do เซ็นเตอร์ ถ้า La 8vb (Octave) จะได้ความสั่นสะเทือนต่ำ 220 ครั้งต่อวิานที ถ้า La 8va (Octave)   จะได้ ความสั่นสะเทือนสูง 880 ครั้งต่อวิานทีของเสียง Do center  

 

วิธีดำเนินการ

ดนตรีบำบัดในยุคปัจจุบันMusic therapytodayได้นำดนตรีมาใช้ในการแพทย์แล้วและนำมาประยุกต์ใช้กับศาสตร์ต่างๆมากมายเพื่อรักษาร่างกายและจิตใจ อย่างแรก ประโยชย์ของดนตรีเป็นเครื่องมือชี้ให้ติดตามนำมาซึ่งความสงบสุขเมื่อเริ่มรักษา เช่นดนตรีบำบัดความเครียด ดนตรีบำบัดด้วยการฟังอย่างผ่อนคลายด้วย mp 3 ดนตรีบำบัดรักษาสมอง และดนตรีบำบัดโรค บำบัดจิต รวมทั้งปลุกใจ ออกกำลังกาย ประกอบการสอนธรรม

 

ดำเนินการ

ดนตรีบำบัด Music Therapy ขั้นตอนของดนตรีศาสตร์แขนงบำบัดโดยการนำวิธีสุนทรีย์ วิธีบำรักษาและเพื่อการศึกษา 3 หลักใหญ่ด้วยกัน ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจจากหลายๆด้านในการทำงานของสมอง ข้อสำคัญเมื่อปรับอารมณ์เกิดสมดุลย์แล้วย่อมเข้าสู่สภาพความเป็นจริงที่พิจรณาตนเอง ต่อโรคที่กำลังได้รับอยู่ ในการดำเนินการนั้น ต้องใช้องค์ประกอบของดนตรีเข้าบำบัดรักษาโดยมี

 


หมายเลขบันทึก: 551232เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2013 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2013 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณความรู้เรื่องดนตรีบำบัด 

ไม่ทราบว่าได้บันทึกเสียงดนตรีบำบัดไว้บ้างไหมคะ

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท