การสังเกตคำยืมจากภาษาบาลีและสันสกฤต


การสังเกตคำยืมจากภาษาบาลีและสันสกฤต

 

ในภาษาไทยจะมีคำภาษาต่างประเทศปะปนอยู่เป็นอันมาก  โดยเฉพาะคำบาลีและสันสกฤต  ภาษาบาลีเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเนื่องมาจากการรับศาสนาพุทธเข้ามาเป็นภาษาประจำชาติ  ส่วนภาษาสีนสกฤตเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาในเนื่องจากการรับพิธีกรรมต่างๆ ของศาสนาพราหมณ์ตลอดจนวรรณคดีเรื่องต่างๆ  

ลักษณะเฉพาะคำยืมภาษาบาลีและสันสกฤตที่แตกต่างจากภาษาไทย มีดังนี้

1.  คำยืมภาษาบาลี-สันสกฤตแม้จะเป็นเสียงสั้นก็ไม่ใช้เครื่องหมายไม้ไต่คู้ เช่น เพชร  เบญจ  สรรเพชญ์

2.  คำยืมจากภาษาบาลี-สันสกฤตนิยมใช้เครื่องหมายทัญฑฆาตกับพยัญชนะที่เป็นตัวตามซึ่งไม่สะดวกแก่การออกเสียงของไทย เช่น จันทร์  พัฒน์  ราษฎร์  วิทย์

3.  คำภาษาบาลี-สันสกฤตไม่ใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์เลย  ยกเว้น  โล่ห์  เท่ห์ (น. ตัว ร่างกาย)  สนเท่ห์  พุทโธ่  เสน่ห์  อุตส่าห์

4.  คำบาลี-สันสกฤตใช้รูปพยัญชนะ ฆ ฌ ฏ ฎ ฐ ฑ ฒ ภ ศ ษ ฬ เช่น อัชฌาสัย จุฬา  ฆาตกรรม  ครุฑ  ยกเว้นคำไทยบางคำ เช่น ฆ่า  เฆี่ยน  ฆ้อง  ศึก  ศอก  เศร้า 

5.  คำบาลี-สันสกฤตใช้ตัวสะกดหลากหลาย 

      แม่ กก  ใช้   ข ค ฆ

      แม่ กด  ใช้  จ ช ฎ ก ฐ ฑ ธ ท ต ถ ศ ษ ส 

      แม่ กบ  ใช้  ป พ ภ 

      แม่ กน  ใช้  น ญ ณ ร ล ฬ 

6.  คำบาลี-สันสกฤตมักใช้เป็นคำศัพท์ เช่น 

      คำศัพท์ที่มีความหมายว่า พระอาทิตย์ เช่น ทินกร ภาสกร รวิ รวี 

      คำศัพท์ที่มีความหมายว่า พระจันทร์ เช่น ศศิ ศศิธร รัชนีกร 

7.  คำยืมภาษาบาลี-สันสกฤตมักมีหลายรูปแต่ใช้ในความหมายเดียวกัน เช่น

      วัชระ วัชรา พัชรา เพชรา เพชร พชร = สายฟ้า เพชร

      กาย กายา กายี กายิน = ร่างกาย

ทดสอบความเข้าใจ

1.  ประโยคในข้อใดไม่มีคำบาลีสันสกฤตอยู่เลย

ก.  เรื่องสำคัญเช่นนี้ต้องเสนอในที่ประชุม

ข.  ขึ้นรถลงเรืออย่าลืมนำกระเป๋าเงินติดตัวไปด้วย

ค.  เมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้วต้องรู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ได้

ง.  เธอก็เป็นชาวอีสานเหมือนพวกเรา

เฉลย  คำตอบที่ถูกคือข้อ ก ไม่มีคำบาลี-สันสกฤต

คำบาลี-สันสกฤตในคำตอบข้ออื่น ได้แก่

รถ น. ยานที่มีล้อสำหรับเคลื่อนไป. (ป.)

ปัญหา น. ข้อสงสัย คำถาม ข้อที่ต้องพิจารณาแก้ไข. (ป.)

อีสาน น. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ป.)

2.  คำประพันธ์ในข้อใดไม่มีศัพท์ที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต

ก.  เราจะตัดศึกใหญ่ให้ย่นย่อ

ข.  ด้วยกำลังรี้พลเข้มแข็ง

ค.  แม้นไพรีหนีมือออกกลางแปลง

ง.  เห็นหักได้ไม่แคลงวิญญาณ์

เฉลย  คำตอบที่ถูกคือข้อ ก ไม่มีคำยืมจากภาษาบาลี-สันสกฤต

คำบาลี-สันสกฤตในตำตอบข้ออื่น ได้แก่

พล น. กำลัง ทหาร (ป. ; ส.)

ไพรี น. ผู้มีเวร ข้าศึก (ส. ไวรินุ)

วิญญาณ์ น. สิ่งที่สิงอยู่ในตัวบุคคล  แม้ตายแล้ววิญญาณก็ยังคงอยู่ ความรู้แจ้ง ความรู้สึกตัว ; จิต ใจ (ป.)

 

หมายเลขบันทึก: 550537เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2013 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 ตุลาคม 2013 09:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท