ลำไยนอกฤดู เก็บหน้าฝน จะต้องเตรียมการอย่างไร เพื่อไม่ให้สูญเสียโอกาส


เจ้าของล๊ง...ขา หากเห็นว่าสวนใดได้สร้างโรงเรือนสำหรับการเก็บผลผลิตไว้เตรียมรับสถานะการณ์การณ์ การเก็บผลผลิตในช่วงฝนตก ก็ควรปรับเพิ่มราคาให้กับสวนนั้นด้วย...นะคะ จะได้เป็นกำลังใจกัน และกัน ให้ความช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน จะอยู่ด้วยกันได้ทั้งสามฝ่ายค่ะ (เกษตรกรชาวสวนลำไย - แรงงานเก็บลำไย - ล๊งผู้รับซื้อลำไย)

ลำไย : ชุมชนคนสนใจเรื่องลำไย ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

https://www.facebook.com/groups/www.longankipqew/

หรือ

http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/545415/edit

สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000397078840

สวัสดี..ค่ะ เกษตรกร แรงงานเก็บ และเจ้าของล๊ง หรือผู้สนใจเข้ามาอ่าน

หน้าฝนปีนี้ เกษตรกรเจ้าของสวนลำไย  คนงานเก็บลำไย และล๊ง กำลังมึนกันเป็นแถว เพราะฝนตกไม่เลิกลา ขณะที่เขียนบันทึกนี้ ที่อำเภอโป่งน้ำร้อน และสอยดาว รวมถึงในเขตตัวเมืองจังหวัดจันทบุรี รวม ถึงหลายๆ จังหวัดในภาคตะวันออก  ฝนตกต่อเนื่องกันมาหนึ่ง-สองสัปดาห์แล้ว...ค่ะ

ที่บ้านสวนส้ม ตำบลสะตอน อำเภอสอยดาวที่ยุ้ยอยู่ ฝนตกมาต่อเนื่องมาเกือบ 1 เดือนแล้ว และบางช่วงตกหนักมาก  24 ชั่วโมง จำนวนหลายครั้งเลยค่ะ  น้ำป่าไหลเข้าท่วมสวนบางส่วนของยุ้ยแล้วด้วย

สวนอื่นเป็นอย่างไรบ้าง .... เล่าสู่กันฟังบ้าง นะคะ

หลายสวน ขณะนี้ น้ำคงเข้าท่วมในพื้นที่ทางการเกษตรไปแล้ว รวมถึงที่สวนของยุ้ย

แต่บังเอิญโชคดีที่ปีนี้ ยุ้ยได้เก็บผลผลิตลำไยไปส่วนหนึ่งแล้ว ส่วนทีเหลือไม่สามารถเข้าไปดูแลได้ แต่ยังโชคดีที่กำหนดการเก็บ คือปลายเดือนพฤศจิกายน...ค่ะ  คิดว่าช่วงนั้น ปัญหาคงบรรเทาไปแล้ว

ยุ้ยโชคดี เหมือนเจ้าของสวนอีกจำนวนหนึ่ง ที่มีสวนลำไยติดถนนลาดยาง สามารถนำรถยนต์เข้าไปเก็บผลผลิตได้  (แต่ถึงจะเข้าไปได้ หากฝนตก ลำไยเปียก ก็เก็บไม่ได้อยู่ดี) 

แต่สำหรับเกษตรกรหลายๆ ท่าน หรือสวนที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ ขณะนี้ลำบากมากเพราะเส้นทางที่จะเข้าไปเก็บลำไยยังเป็นถนนดินสวนตามธรรมชาติ ซึ่งขณะนี้กำลังอิ่มน้ำฝน เข้าไม่ได้เลย เข้าไปก็ออกไม่ได้ เพราะรถติดหล่ม

คนงานเก็บลำไยก็ลำบาก เก็บลำไยไม่ได้ ไม่มีรายได้กันเลย

ล๊งก็เดือดร้อน เพราะไม่มีผลผลิตเข้าล๊ง ทำให้เป้าหมายการบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ มีปัญหา

สรุปว่า เรียกว่า เดือดร้อนกันไปหมดทั้งวงการ

ยุ้ยเลยมานั่ง....คิดว่า   ทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหา หรือบรรเทาปัญหาเหล่านี้ได้  จะได้คิดเตรียมการแก้ไข หรือ บรรเทาปัญหาไว้ล่วงหน้ากัน

บางสวนอาจทำได้ทันที แต่บางสวน คงต้องทำกันปีหน้าค่ะ

สิ่งที่ยุ้ยคิดไว้ และจะดำเนินการในปีหน้า หรือจะปีนี้ก็ตามใจ ก็คือ

1. เตรียมถนนถาวร หรือ กึ่งถาวร สำหรับการนำรถเข้าไปเก็บผลผลิต

เรื่องนี้เรื่องใหญ่ และใช้เงินทุนมาก แต่อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรรายใหญ่ๆ ที่มีสวนลำไยในเขตพื้นที่ที่จำเป็นต้องใช้ถนนดังกล่าว ควรร่วมมือกัน และขอความร่วมมือจาก อบต. องค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อดำเนินการของบประมาณสนับสนุนการทำถนนลาดยาง หากทำเพียงถนนดินลูกรัง ไม่สำเร็จหรอกค่ะ เพราะถนนอย่างไร ก็พังอยู่ดี 

แต่หากมันเป็นเรื่องใหญ่เกินไป เห็นควรปรับเส้นทาง พอให้นำรถอีแต๊ก หรือรถแท็กเตอร์ ขนาดเล็กในการนำรถพ่วงเข้าไปเพื่อนำคนงานเข้าไปเก็บให้ได้ อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่า ผลผลิตเริ่มออกแล้ว ไม่เก็บไมได้...ค่ะ ต้องหาทางเข้าไปเก็บ

เรื่องถนนนี้  ที่สวนของยุ้ย ได้เตรียมความพร้อมไว้ส่วนหนึ่งแล้ว เนื่องจากปีที่ผ่านมาน้ำได้เข้าท่วมที่สวนค่ะ แต่โชคยังดี ที่ยังไม่ได้ราดสารทำผลผลิต แต่ว่าปีหน้า 2557 จะราดสารแล้วค่ะ อีก 24 ไร่ 

ดังนั้น ยุ้ยก็เลยขุดบ่อแก้มลิง และบ่อน้ำซับ ขุดลอกลำธารทางน้ำไหลตามธรรมชาติ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม และเตรียมแหล่งน้ำสำหรับใช้ในหน้าแล้ง พร้อมกันนี้ก็นำเอาดินที่ได้มาทำถนน เพื่อแก้ปัญหาการเข้าเก็บผลผลิตในช่วงฤดูฝน...ค่ะ

2. สร้างโรงเรือน เพื่อการตากผลผลิต

หากเกษตรกรแก้ไข หรือบรรเทาปัญหาเส้นทางในการนำรถเข้าไปเก็บผลผลิตได้แล้ว การจะนำผลผลิตออกมาได้ต้องบรรจุใส่ตะกร้าเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น หากเข้าได้ถึงสวน พอจะเก็บลำไยได้แล้ว ต้องหาทางทำให้ลำไยแห้งให้ได้ ไม่อย่างนั้นบรรจุลงตะกร้าไม่ได้ เพราะน้ำหนักตะกร้าจะไม่เสถียร เนื่องด้วยมีน้ำหนักของน้ำฝนปนอยู่ด้วย 

ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาคือ ต้องสร้างโรงเรือนเพื่อทำการผึ่งลม ตากลำไย..ค่ะ  ควรสร้างเป็นโรงเรือนกึ่งถาวร หรือถาวร ไปเลย เพราะอย่างไร เกษตรกรจำนวนมากนิยมราดสาร และเก็บผลผลิตในช่วงฤดูฝนเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว

เทปูนไว้เลย หาผ้าพลาสติก (ซึ่งส่วนมากคนเก็บลำไยเขามักจะมีเตรียมมา แต่คราวนี้ คงต้องพื้นใหญ่ หรือผื่นเท่าเดิม แต่ซื้อเพิ่ม เพราะต้องนำลำไยที่เก็บมา ตากผึ่งลมไว้ก่อน พร้อมกันนี้ยังสามารถใช้โรงเรือน เพื่อการบรรจุผลผลิตลงตะกร้าได้ด้วยค่ะ

ควรสร้างไว้กระจายตามจุดต่างๆ ภายในสวน และมีขนาดใหญ่พอสำหรับปริมาณผลผลิตลำไยที่เก็บได้ด้วยค่ะ เรื่องนี้ลองนำไปวางแผนกันดู

หากพื้นที่ตากน้อย ก็แนะนำให้ทำเป็นตะแกรงเป็นชั้นๆ เลย นะคะ จะช่วยประหยัดพื้นที่การผึ่งตากลำไยได้มาก

3. จัดหาระบบไฟฟ้า เพื่อใช้พัดลมขนาดใหญ่ 

หากสวนใดมีไฟฟ้าของทางการผ่าน ก็โชคดีไป แต่ถ้าไม่มี เห็นทีคราวนี้คงต้องลงทุนกันบ้างแล้ว ซึ้อเครื่องปั่นไฟกันเลยค่ะ  เพราะเราจำเป็นต้องใช้พัดลมขนาดใหญ่ในการสร้างลมเป่าแห้งผลผลิต  เรื่องนี้ทางสวนคงต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย...เอง

4. ปรับราคารับซื้อผลผลิต ค่าแรงงาน (เฉพาะช่วงการเก็บหน้าฝน) ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง

เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ คงต้องพูดคุยกันทุกๆ ฝ่าย  เพราะหากเก็บลำไยลำบากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ ค่าแรงงานก็คงต้องสูงขึ้น ดังนั้นราคารับซื้อลำไยก็คงต้องสูงตาม ทางล๊งก็คงต้องช่วยเรื่องปรับราคารับซื้อให้บ้าง สำหรับช่วงการเก็บในฤดูฝน อย่าปัดให้สวนทั้งหมด เรียกว่า ต้องให้ความร่วมมือกันทุกๆ ฝ่ายค่ะ 

ดังนั้นต่อไปนี้ ใครราดสารเดือนมีนาคม-เมษายน ราคาผลผลิตก็ควรมีการเพิ่มสูงขึ้นด้วย เพราะเสี่ยงต่อการเก็บผลผลิตไม่ได้  ล๊งเองก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน เพราะอาจเก็บผลผลิตได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

เจ้าของล๊ง...ขา   หากเห็นว่าสวนใดได้สร้างโรงเรือนสำหรับการเก็บผลผลิตไว้เตรียมรับสถานะการณ์การณ์ การเก็บผลผลิตในช่วงฝนตก ก็ควรปรับเพิ่มราคาให้กับสวนนั้นด้วย...นะคะ  จะได้เป็นกำลังใจกัน และกัน ให้ความช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน จะอยู่ด้วยกันได้ทั้งสามฝ่ายค่ะ  (เกษตรกรชาวสวนลำไย - แรงงานเก็บลำไย - ล๊งผู้รับซื้อลำไย)

อย่างไรก็ตาม ทางล๊ง...ควรได้มีการทดสอบการปรับชั่งน้ำหนัก สำหรับการเก็บผลผลิตในช่วงฤดูฝนด้วย เนื่องจากมีปริมาณความชื้นสูง ทดลองดูนะคะ แล้วปรับตามความเป็นจริง เช่น อาจจะปรับจากเดิม 12.7 เป็น 13.0 เป็นต้น  เรียกว่าทดสอบให้แน่ใจว่า หากเก็บลำไยที่ผึ่งตากพัดลมแล้ว เมื่อบรรจุเสร็จ ผ่านการขนส่ง ผ่านการอบซัลเฟอร์แล้ว น้ำหนักจะได้เท่าเดิมตามปกติในการขนส่ง จะต้องชั่งน้ำหนัก ณ จุดที่เก็บลำไยที่น้ำหนักเท่าใดกันแน่...ค่ะ

5. ปรับวิธีในการเก็บ และบรรจุลำไย

จากเดิมเราขนแรงงานเข้าไปเก็บจากสวน คนงานจะจับฉลากได้เบอร์ แล้วแต่ดวงว่าใครจะได้เก็บต้นใด แล้วขนลำไยมาที่เต้นท์ตนเอง ให้ทีมงานตัวเองเก็บ

เห็นทีอาจต้องเปลี่ยนไปเป็น ลักษณะดังนี้...ค่ะ

          คนปีนต้นลำไยเพื่อเก็บผลผลิต

          คนบรรจุเข่ง คนแบกเข่งขึ้นรถบรรทุกเบา

          คนนำรถบรรทุกเบาขับออกมานอกสวน

          รถบรรทุก ขนส่งลำไยเข่งเข้าสู่โรงผึง เพื่อตากลมให้ลำไยแห้ง และ

          แรงงานคัดแยกลำไย เพื่อบรรจุลงตะกร้า

ทั้งหมดนี้ก็ใช้แรงงานชุดเดิมแหละ..ค่ะ  แต่ปรับหน้าที่ และปรับการคิดค่าแรงงานกันไป 

ยังไม่เคยทำกัน...ค่ะ  หรือใครเคยทำแบบนี้แล้ว ลองบอกยุ้ยหน่อย ว่าจะคิดค่าแรงงานกันอย่างไร

จากความเห็นข้างต้น น่าจะช่วยแก้ไข หรือบรรเทา สถานะการณ์การเก็บลำไยในช่วงฤดูฝนได้บ้าง  แต่อย่างไรก็ตามวิธีการนี้ไม่ใช่วิธีการถาวร แต่ก็ไม่แน่ลองดูสิคะ อีกหน่อยอาจเป็นวิธีการที่นำมาใช้ตลอด ไม่ว่าจะเก็บในช่วงฤดูฝน หรือเก็บตามปกติก็ได้...ค่ะ

หวังว่า ปัญญาอันน้อยนิด ที่คิดแนวทางแบบนี้ น่าจะช่วยแก้ไข หรือบรรเทาปัญหาได้บ้าง...นะคะ

อย่างไรก็ตาม วิธีการใหม่ๆ ย่อมเกิดปัญหา หรืออุปสรรคใหม่ๆ เช่นกัน ดังนั้น อย่าเพิ่งปฏิเสธ หรือท้อถอย..นะคะ ทดลองกันดูก่อน

มีปัญหาอะไร ก็ค่อยๆ แก้ไขกันไป

หรือใครมีแนวคิดในการแก้ไขปัญหา หรือแก้ปัญหาการเก็บผลผลิตไม่ได้ในช่วงฤดูฝนได้แล้ว

ก็นำมาเล่าสู่กันฟังบ้าง..นะคะ  เผื่อยุ้ยจะนำไปปรับใช้ที่สวนของยุ้ยบ้าง...ค่ะ

ภาพช่วงฝนตกน้ำท่วมสวน และการแก้ไขปัญหาในปีที่ผ่านมา..ค่ะ

 

ในปีที่ผ่านมาน้ำป่าจำนวนมาก ซึ่งไหลมาตามเส้นทางลำธารในธรรมชาติ

ได้ไหลล้นเข้าท่วมสวนลำไยบางส่วน..ค่ะ

ระดับน้ำสูงมาก ท่วมถึงคอเลยค่ะ และไหลแรงมาก ท่วมต้นลำไยถึงครึ่งต้นเลย

 

ภาพตอนน้ำไม่ท่วมค่ะ

 

ฝนเริ่มตก ดินเริ่มอิ่มน้ำ น้ำส่วนทีเกินก็จะเริ่มไหลไปถามถนน จนถนนกลายเป็นลำธารไปแล้ว..ค่ะ

 

น้ำที่ไหลมาตามถนน ก็จะไหลลงไปสู่บ่อน้ำแก้มลิงที่ยุ้ยได้ขุดเตรียมไว้ สำหรับเก็บไว้ใช้ช่วงหน้าแล้ง..ค่ะ

 

เส้นทางที่น้ำไหลผ่าน ก็จะบ่อที่ไว้สำหรับเป็นแก้มลิง ดักเส้นทางน้ำผ่านค่ะ

เพื่อเก็บน้ำบางส่วนในฤดูฝนไว้ใช้ในฤดูแล้ง

 


น้ำฝนในช่วงเดือนสิงหาคม และเดือนกันยายนจะไหลลงบ่อแก้มลิง เป็นน้ำตกเลยค่ะ

 

ทุกๆ ปีหลังเดือนกันยายน น้ำในบ่อแก้มลิงจะอยู่ในสภาพนี้แหละ...ค่ะ

 

เส้นทางน้ำตามธรรมชาติ ที่ขุดลอกไว้ ในช่วงฤดูแล้ง

ซึ่งเตรียมขุดลอกไว้สำหรับให้น้ำในฤดูฝน ไหลผ่านได้สะดวก ไม่ล้นตลิ่งเข้าท่วมในสวนลำไยค่ะ

 ภาพในปัจจุบัน หลังจากมีฝนตก และน้ำไหลผ่านแล้ว...ค่ะ

ภาพนี้เป็นเส้นทางขุดลอกเส้นทางน้ำไหลผ่านไปทางบริเวณที่ต่ำกว่าภายในสวน...ค่ะ

 

ภาพเปรียบเทียบกับปัจจุบัน...ค่ะ

 

บ่อน้ำซับนี้ จะขุดไว้อยู่ข้างๆ เส้นทางน้ำผ่าน

โดยไม่ให้น้ำไหลเข้าโดยตรง แต่จะใช้วิธีให้เกิดน้ำซับจากลำธาร

ค่อยๆ ซึมเข้าบ่อ..ค่ะ   น้ำในบ่อจะถูกกรองโดยธรรมชาติ ซึ่งจะได้น้ำที่ใสมากค่ะ

ปัจจุบันนี้น้ำเต็มบ่อนี้แล้วค่ะ แต่ไม่ล้นเพราะทำคันดินไว้สูงระดับหนึ่ง ถ้าล้นก็คงท่วมสวนทั้งหมดแล้วค่ะ

 

ยืนอยู่ข้างบ่อน้ำซับ..ค่ะ

 

เปรียบเทียบให้เห็น วันนี้น้ำซับเต็มสระแล้ว...ค่ะ

 

วันขุดเตรียมบ่อ จะขุดทั้งที ก็ขุดให้สุดๆ ไปเลย...ค่ะ

 

เนื่องจากน้ำสะอาดมาก  ร้อนจัดๆ ก็เลยโดดลงบ่อไปเลย...ค่ะ

 

อากาศมันร้อน เบื่อๆ ก็หาเรืองสนุกๆ ทำบ้าง...ค่ะ

ดินที่ได้จากการขุดบ่อ ก็จะนำมาปรับทำเส้นทางสำหรับการเข้าสวนลำไยค่ะ

 

ภาพของถนนเข้าสู่พื้นที่เพื่อการเก็บผลผลิตในช่วงฤดูฝน เส้นดังกล่าวในปัจจุบัน

 

ไว้โรงเรือน ถ้ามีกะตังส์ แล้วสร้างเสร็จ จะนำภาพมาให้ชมกัน...ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 550402เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2013 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2014 17:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สาวใจดี และอารมณ์ดีนะคะ...ทำงานมีความสุข...สนุกกับการทำงานนะคะ

เก่งจังคิดได้เมื่อยังสาว

สุดยอดความคิด...
สุดยอดภาพสวยด้วยคุณค่าการจัดการ...
สุดยอดการนำเสนอ...

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท