สัญญาณเตือนเมื่ออัลไซเมอร์ใกล้มาเยือน ...


จากบันทึกที่แล้วที่กล่าวถึงภาวะสมองเสื่อมที่เรียกว่าอัลไซเมอร์นั้นว่าเป็นภาวะเสื่อมถอยที่รักษาไม่หาย และสาเหตุส่วนมากน่าจะมาจากพันธุกรรมแล้ว ในบันทึกนี้จะมาแนะนำให้คุณสังเกตสัญญาณเตือนถึงโรคนี้ ว่าคุณหรือคนรอบข้างมีอาการเหล่านี้หรือไม่ ถ้าพบอาการเหล่านี้และสงสัยให้รีบปรึกษาแพทย์จะดีที่สุดค่ะ

สมาคมโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้กล่าวถึง 10 อาการเตือนภัยที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน

1 อาการหลงลืม (memory loss)

ระยะแรกจะหลงลืมในสิ่งที่ผ่านมาไม่นาน (recent memory) เช่น วางของไว้ที่ไหน เมื่อวานเย็นไปซื้ออะไรมาบ้าง อาทิตย์ก่อนไปเที่ยวที่ไหนมา ส่วนความจำเกี่ยวกับเรื่องเก่า ๆ นั้นมักจะหลงลืมก็ต่อเมื่ออาการเป็นสมองเสื่อมขั้นรุนแรง (severe dementia) แล้วเท่านั้น ผู้ป่วยมักจะถามอะไรซ้ำ ๆ เช่นถามว่า พรุ่งนี้จะไปไหนกัน บางคนถามคำถามเดิมเป็นสิบ ๆ ครั้ง เพราะ จำไม่ได้ว่าถามไปแล้ว

Intelligence and memory loss symbol represented by a multicolored human brain with a missing piece of a jigsaw puzzle  Stock Photo - 14119244

(ภาพจากhttp://www.123rf.com/stock-photo/memory_loss.html)

2 มีความยากลำบากในการประกอบกิจวัตรประจำวันที่คุ้นเคย (Difficulty performing familiar tasks)

โดยอาการจะเริ่มจากมีความยากลำบากในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นสูง (instrumental activities of daily living) ที่มีขั้นตอนซับซ้อนไม่ได้ เช่น แม่บ้านที่ชอบทำอาหาร ที่ระยะหลังลูกๆเริ่มสังเกตว่ารสชาติอาหารที่แม่ทำเปลี่ยนไป ไม่อร่อยเหมือนเคย บางครั้งปรุงอาหารผิด เช่นใส่ใบโหระพา แทนใบกระเพราและอาการเริ่มเป็นมากขึ้นจนกระทั่งทำกิจวัตรประจำวันง่ายๆ(basic activities of daily living)ไม่ได้ เช่น การกินข้าว อาบน้ำ แปรงฟัน การแต่งตัว เป็นต้น

3 มีปัญหาในการใช้พูดหรือใช้ภาษา (Problems with language )

ในชีวิตประจำวันของเราทุกคนอาจจะเคยพูดผิดบ้าง เรียกชื่อเพื่อนผิดบ้าง หรือนึกคำที่ไม่ค่อยได้ใช้ไม่ออกบางครั้ง แต่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมีปัญหาลืมแม้กระทั่งคำง่าย ๆ ที่ใช้บ่อย ๆ นึกคำที่จะใช้ไม่ออก บางครั้งใช้คำผิด (เช่นเรียกหมูแทนไก่ พูดถึงเก้าอี้แต่เรียกเป็นโต๊ะ) หรือมีปัญหาในการพูดหรือเขียน จนทำให้ฟังหรืออ่านไม่ค่อยเข้าใจ มักจะใช้คำว่า ไอ้นั่น ไอ้นี่ อันนั้น ที่นั้นแทนการเรียกชื่อสิ่งของต่างๆ

4 ไม่รู้วัน เวลาและสถานที่ (disorientation to time and place)

ผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์อาจมีปัญหา ไม่รู้วัน เวลาและสถานที่ได้ บางครั้งคนทั่วๆ ไปอาจจะจำไม่ได้บ้างว่าวันนี้วันที่เท่าไหร่แต่มักไม่เป็นบ่อย ๆ แต่หากจำไม่ได้อยู่บ่อย ๆ ว่าตอนนี้กี่โมงแล้ว วันนี้วันอะไร หรือเดือนอะไร นี่เป็นสัญญาณเตือนว่าไม่น่าจะใช่เรื่องปกติ ยิ่งหากจำถนนหนทางที่คุ้นเคย เช่น แถวๆบ้านไม่ได้ ปัญหาการไม่รู้สถานที่มักทำให้เกิดปัญหาสำคัญที่เจอบ่อยๆในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ นั่นคือการหลงทาง หลายคนออกจากบ้านแล้วหายไป เพราะกลับไม่ถูกหรือจำไม่ได้ต้องออกประกาศตามหากันวุ่นวาย

(ภาาพจากhttp://www.toptiertactics.com/7160/gaming-psychology-pt-2-disorientation/)

5 การตัดสินใจแย่ลง (poor or decreased judgment )

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์มักประสบกับปัญหาการตัดสินใจที่แย่ลงและช้าลง เช่น เมื่อเกิดไฟดับ ผู้ป่วยอาจตกใจและลนลานไม่รู้ว่าจะต้องทำยังไง ซึ่งคนทั่วไปก็จะหาเทียนหรือไฟฉายมาใช้ บางคนแค่บุรุษไปรษณีย์มาส่งพัสดุก็งง ไม่รู่ว่าต้องทำอย่างไร บางคนมีการตัดสินใจเลือกเสื้อผ้าแปลกๆ ไม่เหมาะสม เช่น อาจใส่เสื้อแขนยาวหรือใส่ผ้าพันคอในหน้าร้อน หรือใส่สีไม่เข้ากันเลย หรือบางคนมีปัญหาการตัดสินใจในเรื่องการเงินแย่ลง จะเอาเงินไปแจกคนอื่น หรือลงทุนอย่างไม่เหมาะสม

6 มีปัญหาด้านความคิด (problems with abstract thinking)

ความบกพร่องของความคิดอาจจะเห็นตั้งแต่ ผู้ป่วยดูคิดอะไรช้าลงมาก ถามอะไรก็อาจตอบช้ากว่าเมื่อก่อน บางคนเริ่มคิดคำนวณเลขไม่ได้ เวลาไปซื้อของคำนวณราคาไม่ถูก ได้เงินทอนไม่ครบ

7 วางของผิดที่ (misdisplacing)

นอกจากจำที่ๆวางของไม่ได้แล้ว ผู้ป่วยอัลไซเมอร์อาจจะวางของในที่แปลกๆที่ไม่ควรจะวาง เช่น เก็บโทรศัพท์ไว้ในตู้เย็น นำหม้อหุงข้าวมาเก็บไว้ในห้องนอน เป็นต้น

8 บุคลิกภาพเปลี่ยนไป ( Personality Change )

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์บางคนที่จากเดิมเป็นคนง่าย ๆ ไม่ค่อยพูด ก็กลายเป็นคนที่พูดมาก บ่นจู้จี้จุกจิก บางคนที่เดิมเป็นคนร่าเริงสนุกสนานชอบเข้าสังคม ก็กลายเป็นคนเงียบๆไม่พูด ไม่อยากออกจากบ้าน เป็นต้น

9 ขาดการคิดริเริ่มและความสนใจสิ่งแวดล้อม (loss of initiative)

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จำนวนมากกว่าครึ่ง จะมีอาการขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว (ต้องดูเปรียบเทียบกับนิสัยเดิมด้วย) เช่น ผู้ป่วยจะไม่คิดริเริ่มที่จะทำอะไร ถ้าคนอื่นไม่มาคุยด้วยก็จะไม่พูดอะไร มีส่วนร่วมในงานสังคมน้อยลง ไม่ค่อยสนใจสิ่งที่เคยสนใจทำมาก่อน ผู้ป่วยหลายคนวันๆ นั่งเฉยๆ ไม่ทำอะไรได้ทั้งวัน ซึ่งในคนปกติอาจเบื่อๆไม่อยากทำอะไรแต่อาการจะไม่เป็นต่อเนื่องกันหลายวัน

10 อารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ( Mood and behavioral change )

ปัญหาด้านอารมณ์ พบว่าผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จำนวนหนึ่งนั้น มีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย คือ มีอารมณ์เศร้า เบื่อ ไม่อยากทำอะไรที่เคยชอบทำ ร้องไห้บ่อย ๆ รู้สึกว่าตัวเองไม่ดี หรือพูดถึงว่าไม่อยากอยู่แล้ว อยากฆ่าตัวตาย อีกอารมณ์หนึ่งที่พบได้บ่อยคือ การมีอารมณ์หงุดหงิดโมโหได้ง่าย จากเดิมที่ไม่เป็น เอาแต่ใจ บางครั้งเวลาถูกขัดใจอาจมีตะโกนเสียงดัง ขว้างปาข้าวของ มีอารมณ์ขึ้นลงรุนแรงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ผู้ป่วยบางคนอาจมีพฤติกรรมที่แปลกๆผิดปกติ ที่พบได้บ่อยเช่น บางคนเดินกลับไปกลับมาในบ้านซ้ำๆโดยไร้จุดหมาย บางคนมีนิสัยเก็บสะสมของต่างๆ ผู้ป่วยบางคนเก็บขยะจากที่ต่างๆ มาสะสมในบ้านหนักหลายกิโล

หมายเลขบันทึก: 550082เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2013 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2013 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไปเจอครับแปลมาให้อ่าน

การวินิจฉัยโมเลกุลเทคโนโลยีการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

ความสามารถ

วีทีที(VTT) ได้พัฒนาให้ชีวะโมเลกุลให้เป็นที่ยอมรับและวิศวะกรรมแอนติบอดี้สำหรับการวินิจฉัยการรักษาและการวิเคราะห์เช่นเดียวกับการค้นพบตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ(biomarker) ปัจจุบันนี้แอนติบอดี้มีความความผูกพันที่น่าสนใจเนื่องด้วยมันมีความสามารถในการสร้างตัวเองเพื่อต่อต้านโมเลกุลที่มีค่าความสัมพันธ์คงที่ในช่วงนาโนโมลา(nanomolar)

แอนติบอดี้กับสารก่อภูมิแพ้, ตัวรับเซลล์, ยาต่างๆ, สารพิษและโมเลกุลขนาดเล็กอื่นๆที่เหมาะกับการวินิจฉัยและการบำบัดแบบใหม่ที่มีการสร้างขึ้นโดยใช้ฟาจดิสเพลย์(Phage Display)และวิธีการตรวจคัดกรองอย่างสูง

การทำงานของวีทีทีคือการนำแอนติบอดี้ของฟาจดิสเพลย์(Phage Display)ใช้ในการแยกความผูกพันจำเพาะได้อย่างรวดเร็ววิศวะกรรมแอนติบอดี้สามารถใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงคุณสมบัติของแอนติบอดี้ที่ถูกแยกตัวเช่นสำหรับการวินิจฉันโรคติดเชื้อโดยการใช้การตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันของร่างกาย

การวินิจฉัยโมเลกุลมีความสำคัญพิเศษกับต่อต้านแฮปเทนแอนติบอดี้(Anti-hapten antibodies)และการพัฒนาของแอนตี้บอดี้เบสไมโคร(Antibody-based micro)และโปรแกรมนาโนเทคโนโลยี

ในด้านเทคโนโลยีการสร้างระบบภูมิคุ้มกันวีทีทีมุ่งเน้นการวิจัยเรื่องภูมิแพ้และพัฒนาการวินิจฉัยและรักษาแอนติบอดี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ผู้ป่วยเฉพาะเจาะจง

ความท้าทาย

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพระบุโดยจีโนมิกส์(Genomics),โปรทีโอมิกส์(Proteomics)และเมตาโบโลมิกส์(Metabolomics) ให้การวินิจฉัยและการบำบัดขั้นสูงที่ช่วยให้การสันนิษฐานและบำบัดโรคสร้างความท้าทายสำหรับเจนเนอร์เรชั่นที่มีประสิทธิภาพและความรวดเร็วของแอนติบอดี้ที่มีความเฉพาะเจาะจงมาใช้ในการตรวจหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ(biomarker) การแยกความจำเพาะพูกผันที่แตกต่างกันสามารถพร้อมๆกันจากยีนแอนติบอดี้โดยใช้ตัวเลือกจากหลายๆที่และขั้นตอนการคัดกรอง

วิธีแก้ปัญหา

เรามีการสร้างคลังฟาจแอนติบอดี้(Antibody phage libraries)จากแหล่งภูมิคุ้มกัน,ไม่มีภูมิคุ้มกันและผู้ป่วยที่ได้รับการแยกตัวของแอนติบอดี้สามารถดำเนินการได้ในหลอดทดลอง(vitro)และในสัตว์ทดลอง(vivo)หรือใช้เทคนิคการคัดกรองโดยตรง

การผลิตขนาดใหญ่ของชิ้นส่วนแอนติบอดี้ถูกทำขึ้นที่เอสเชอริเชียโคไล(Escherichia coli) วิธีการใช้ชีวะโมเลกุลและระบบภูมิคุ้มกันถูกนำมาใช้สำหรับการจำแนกคุณสมบัติของความจำเพาะพูกผัน

ความสัมพันธ์, ความจำเพาะ, ความเสถียรและการติดฉลากแสดงประสิทธิภาพของแอนติบอดี้นั้นสามารถปรับแต่งสายพันธุ์และการสลับดีเอนเอ

การฟิวชั่นกับเปปไทด์แท็กมีการหยุดการเคลื่อนที่หรือการแสดงคุณสมบัติที่แตกต่างกันสามารถทำได้โดยการเพิ่มการบังคับใช้ของพวกนั้น

การสร้างคลังฟาจแอนติบอดี้

-การแยกแอนติบอดี้จากคลังฟาจดิสเพลย์(Phage display libraries) เช่นการใช้ความเร็วสูงและตัวคัดกรองในหลอดทดลองในที่ทำการโดยหุ่นยนต์

-การผลิตขนาดใหญ่ของชิ้นส่วนแอนติบอดี้ในอีโคไล

-การแสดงลักษณะคุณสมบัติของแอนติบอดี้ที่มีผลผูกพัน

-การปรับปรุงคุณสมบัติของแอนติบอดี้

ประโยชน์ที่ได้รับ

เทคโนโลยีการรีคอมบีเน้นท์แอนติบอดี้(Recombinant anitibody technology) ทำให้

-การแยกของรีคอมบีเน้นท์แอนติบอดี้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม

-การสร้างแอนติบอดี้ต่อต้านการป้องกัน,ความเป็นพิษและแอนติเจนของตัวเอง

-การตัดต่อแอนติบอดี้ให้เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการ

-การผลิตชิ้นส่วนแอนติบอดี้ด้วยราคาที่คุ้มค่า

ที่เมืองไทยเองก็มีการวิจัยและบริการบำบัดรักษาในลักษณะนี้ที่ศูนย์ชีวะโมเลกุลใครรู้จักที่อื่นยังไงบอกกันได้นะครับกำลังหาพวก alternative medicine อยู่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท