สาระที่16 การประเมินผลการเรียนรู้


การประเมิน เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัด คือ นำตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่ได้จากการวัดมาตีค่าอย่างมีเหตุผล โดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้

การประเมินผล มีความหมายเช่นเดียวกับการประเมิน แต่เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัดผล

สำหรับภาษาอังกฤษมีหลายคำที่ใช้มากมี 2 คำ คือ evaluation และ assessment 2 คำนี้มีความหมายต่างกัน คือ

evaluationเป็นการประเมินตัดสิน มีการกำหนดเกณฑ์ชัดเจน

ลักษณะการประเมินทางการเรียนรู้

การประเมินทางการเรียนรู้มีลักษณะ ดังนี้

1. เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอนหรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งควรทำการประเมินอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2. เป็นการประเมินคุณลักษณะหรือพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่

3. เป็นการประเมินในภาพรวมทั้งหมดของผู้เรียน โดยการรวบรวมข้อมูลและประมวลจากตัวเลขจากการวัดหลายวิธีและหลายแหล่ง

4. เป็นกระบวนการเกี่ยวข้องกับบุคลหลายกลุ่ม ทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ผู้บริหารโรงเรียน และอาจรวมถึงคณะกรรมการต่างๆ ของโรงเรียน

ในการประเมินผลนั้นได้กำหนดเกณฑ์ไว้4เกณฑ์คือ

1.ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง8กลุ่มสาระ ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ

2.ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน

3.ให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง8คุณลักษณะ ได้แก่ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะ

4.ให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ กิจกรรมชมรม กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี กิจกรรมนักศึกษาวิชาทหาร

เกณฑ์ที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ได้แก่ การตัดสินผลการเรียน (เวลาเรียนขั้นต่ำ ได้รับการประเมินและผ่านทุกตัวชี้วัด) การให้ระดับผลการเรียน (เป็นเกรดตัวเลขคือ0-4เกรดตัวอักษรคือA-Fเป็นระบบร้อยละ การผ่าน-ไม่ผ่านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน) การเลื่อนชั้น การเรียนซ้ำชั้น การสอนซ่อมเสริม (เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องและปรับความรู้) การเปลี่ยนผลการเรียน (จาก ร,0 เป็นเกรด) เกณฑ์การจบในระดับต่างๆ (ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย)

หมายเลขบันทึก: 549509เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2013 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กันยายน 2013 23:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท