บทความ เรื่อง การสอนแบบ Active Learning ในโรงเรียนขนาดเล็ก


บทความ

เรื่อง การสอนแบบ Active Learning ในโรงเรียนขนาดเล็ก

โดย...เผชิญ  อุปนันท์

               การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการร่วมมือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ทั้งนี้ ครูต้องลดบทบาทในการสอนและการให้ข้อความรู้แก่ผู้เรียน แต่ไปเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการจะทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น และหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยการพูด การเขียน การอภิปรายกับเพื่อนๆ" จึงเหมาะสมกับการใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีครูไม่ครบชั้น หรือขาดแคลนครู หรือแม้กระทั่งโรงเรียนทั่วไป ก็จำเป็นต้องใช้รูปแบบการสอนแบบบนี้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างหลากหลายและมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นั้น ๆ ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

               ในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคปฏิรูปการเรียนการสอน ดังนั้นการจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning  ซึ่งเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการปรับเปลี่ยนรูปแบบ    การเรียนการสอน เพราะถ้าเราให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการอ่านอย่างเดียวก็จะเรียนรู้ได้เพียง 20% ถ้าจากการฟังก็จะเพิ่มเป็น 30% แต่ถ้าได้มีโอกาสได้พบเห็นก็จะเพิ่มเป็น 40% ถ้าจากการพูดก็จะเป็น 50% และได้ลงมือปฏิบัติเองก็จะถึง 60% และถ้าได้เรียนรู้จากกิจกรรมหลายๆ อย่างที่หลากหลายก็จะเพิ่มโอกาสที่จะเรียนรู้ได้  ถึง 90% แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดเมื่อนักเรียน Active Learning  แล้วครูจะต้อง Active Teaching  ด้วย การที่ผู้เรียนและผู้สอน"เตรียมตัว" ทั้งสองฝ่ายจึงจะเกิดสภาพที่ Active ขึ้นมาได้ ดังนั้น การเตรียมตัวด้านผู้เรียน จะต้องอ่านบทเรียนและหรือทำการบ้านที่ได้รับมอบหมายมาล่วงหน้า ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนไปแล้ว เตรียมใจที่จะเรียนอย่างสนใจ เตรียมกายให้พร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ  ขณะเรียนตื่นตัวตลอดเวลาว่าใครพูดอะไร ไม่ว่าจะเป็นครูหรือเพื่อนร่วมชั้น และต้องมีส่วนร่วมในการสนองตอบต่อการพูดคุย และสุดท้ายต้องจดบันทึกสม่ำเสมอ ส่วนบทบาทของครู จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมที่จะสอน หรือ ศึกษาขอบเขตและกรอบในการทำงาน/สอน ศึกษาฝ่ายผู้เรียน วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง จัดระบบการเรียนการสอน ซึ่งจะเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด รวบรวมทรัพยากรและผลิตขึ้นเพิ่มเติม โดยเฉพาะสื่อต่างๆ ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนและพัฒนางาน ประเมินผล-สรุปผลและนำมาปรับปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่อง

 

               โรงเรียนขนาดเล็กซึ่งมีอยู่จำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกปี โรงเรียนเหล่านี้ขาดแคลนครู สื่อและ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสูงขึ้น แต่ยังมีแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่จะช่วยแก้ปัญหาด้านคุณภาพผู้เรียนให้เท่าเทียมหรือใกล้เคียงได้  

หมายเลขบันทึก: 548960เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2013 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2013 12:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท