ครบเครื่องเรื่อง จป.


จากคำถามที่บางท่านสงสัยข้างต้นจึงเป็นที่มาของการอธิบายความหมายของ คำว่า  จป.  นั่นคือ

จป. ย่อมาจาก เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ภาษาอังกฤษเรียกว่า   Safety Office   บางท่านอาจจะสับสนคิดว่าเป็น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย  สำหรับ จป. นั้น เป็นตำแหน่งงานในสถานประกอบการ ซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องมีอ้างอิงจากกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.. 2549

ซึ่งสถานประกอบการที่ต้องดำเนินการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน มีดังต่อไปนี้

(1) การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี

(2) การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่งดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิดแปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น

(3) การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ  ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน   ท่อระบาย  ท่อน้ำ  โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง

(4) การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า

(5) สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ

(6) โรงแรม

(7) ห้างสรรพสินค้า

(8) สถานพยาบาล

(9) สถาบันทางการเงิน

(10) สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ

(11) สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา

(12) สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ

(13) สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม (1) ถึง (12)

(14) กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด

จะเห็นได้ว่า สถานประกอบกิจการตามข้อ (1) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่2 คนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามข้อ (2) ถึง (5) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่100 คนขึ้นไป  จะต้องแต่งตั้งลูกจ้างเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ประจำสถานประกอบกิจการอย่างน้อย 1 คน  เพื่อปฏิบัติงานเฉพาะด้านความปลอดภัยการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และให้ดำเนินการภายใน180 วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ หรือภายใน180 วันนับแต่วันที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ทั้งนี้สามารถแบ่งประเภทของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานได้เป็น 5 ระดับ คือ

1.             จป.ระดับบริหาร

2.             จป.ระดับหัวหน้างาน

3.             จป.ระดับวิชาชีพ

4.             จป. ระดับเทคนิคขั้นสูง และ

5.             จป. ระดับเทคนิค

 

ศึกษาดูงาน ณ บริษัท ดับเบิ้ลเอ จำกัด (มหาชน)

 

 

เตรียมพร้อมเข้าชมโรงหนัง 4 มิติกันค่ะ

 

 

มิติที่ 4 โดนน้ำพุ่งใส่ตัว เปียกชื้นกันนิด ๆ ค่ะ  แว่นตาเทห์ไหมคะ

 

 

ถ่ายภาพหมู่กันหน่อยค่ะ   ได้ของที่ระลึกกันถ้วนทั่ว

 

 

ก่อนกลับมอบของที่ระลึกกับพนักงาน PR สาวสวยด้วยค่ะ

 

 

เดินทางต่อไปยัง NPC ระยอง วิทยากรคนเก่ง นานทีจะเจอวิทยากรชายจริง ๆๆๆๆ

 

 

นั่งฟังกันตาแป๋ววววว

 

 

มอบของที่ระลึก ขอบพระคุณมากเลยค่ะ

 

 

ขาดไม่ได้เลยคือภาพหมู่ปิดท้ายค่ะ ..... ^_^

 

หมายเลขบันทึก: 548610เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2013 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กันยายน 2013 11:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แวะมาเรียนรู้ จป ครับ ไม่ใช่ จบ

บ่มเพาะประสบการณ์ อีกไม่นานจะมา up date สาระน่ารู้ของ จป. นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท