deawche
เดี่ยวเช คมสัน deawche หน่อคำ

วันดีวันเสียล้านนา ตอน วันเสียประจำเดือน


ศิลปวัฒนธรรม “วันดีวันเสียล้านนา ตอน วันเสียประจำเดือน” เรียบเรียงโดย หนานกำไฟ

ต่อเนื่องจากฉบับแล้วนะครับกับความเชื่อของชาวล้านนาเกี่ยวกับฤกษ์ยาม ที่ในฉบับที่แล้ว(ฉ.182 วันที่ 1-15 กันยายน 2556) หนานกำไฟเสนอเรื่อง มื้อจั๋นวันดี ซึ่งใช้กับงานพิธีมงคลไปแล้ว เมื่อทราบวันดีไปแล้วก็ต้องรู้วันเสียด้วย หลักการไล่วันเสียประจำแต่ละเดือนอย่างนี้

วันเสียประจำเดือนของล้านนา

เดือน

เดือน

เดือน

เดือน

วันเสีย

เดือน เกี๋ยง (1)

ห้า (5)

เก้า (9)

ระวิ-จั๋นตัง

เสียอาทิตย์กับจันทร์

เดือน ยี่ (2)

หก (6)

สิบ (10)

อังการัง

เสียอังคารวันเดียว

เดือน สาม (3)

เจ็ด (7)

สิบเอ็ด (11)

โสริกุรุ

เสียเสาร์กับพฤหัสบดี

เดือน สี่ (4)

แปด  (8)

สิบสอง (12)

สุโขพุทธา

เสียศุกร์กับพุธ

         
 

 

           

 

เมื่อทราบวันดีแล้ว ก็ควรจะทราบยามหรือเวลาอันเป็นมงคลของแต่ละวันด้วย ดังนี้

 

วัน

ยามดี / ยามไม่ดี

   

วันอาทิตย์

ยามเช้า ไม่ดี ยามสายและยามใกล้เที่ยง ดีมาก ยามบ่ายและยามเย็น ไม่ดี ยามใกล้ค่ำ ดีมาก

วันจันทร์ 

ยามเช้า ยามสาย และยามใกล้ที่ยง ไม่ดี ยามเที่ยงและยามบ่าย ดีมาก ยามเย็น ยามใกล้ค่ำ และยามค่ำ ไม่ดี

วันอังคาร

ยามเช้าและยามสาย ดีมาก ยามใกล้เที่ยง ยามเที่ยง และยามบ่าย ไม่ดี ยาม เย็นและยามใกล้ค่ำ ดีมาก ยามค่ำ ไม่ดี

วันพุธ

ยามเช้า ยามสาย และยามใกล้เที่ยง ไม่ดี ยามเที่ยงและยามบ่าย ดีมาก ยามบ่าย- เย็น ยามใกล้ค่ำ และยามค่ำ ไม่ดี

วันพฤหัสบดี

ยามเช้าและยามสาย ไม่ดี ยามใกล้เที่ยงและยามเที่ยง ดีมาก ยามบ่าย-เย็นและใกล้ค่ำ ไม่ดี ยามค่ำ ดีมาก

วันศุกร์

ยามเช้าไม่ดี ยามสายดีมาก ยามใกล้เที่ยงและยามเที่ยงไม่ดี ยามบ่ายและยามเย็นไม่ดี ยามใกล้ค่ำและยามค่ำดีมาก

วันเสาร์

ยามเช้าและยามสาย ดีมาก ยามใกล้เที่ยงและยามเที่ยง ไม่ดี ยามบ่าย-เย็น ดีมากยามใกล้ค่ำและยามค่ำ ไม่ดี

เมื่อพูดถึงหลักการให้ฤกษ์สำหรับออกรถ ออกเดินทาง ขึ้นบ้านใหม่ โบราณท่านมักจะใช้ดิถีฤกษ์ไชยหรือดิถีฤกษ์ชัยเป็นหลักใหญ่สำหรับการคำนวณหา ฤกษ์  แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องดูดิถีอื่นๆประกอบอีกมากมายหลายอย่าง เช่น นักษัตร หรือฤกษ์บน-ล่างตามนักษัตรที่ดาวจันทร์ทั้งดวงชาตาเดิมและดวงจร กับฤกษ์ล่างที่คำนวณจากดิถีของวัน เช่นวันทินกาล วันบอด วันภาณฤกษ์ วันฟู วันจม วันพิลา ฯลฯ และดูกาลโยคประจำปีอีก เช่น วันอธิบดี วันโลกาวินาศ ฯลฯ และวาร เช่น วันอังคาร วันเสาร์งดเว้นเด็ดขาดสำหรับการออกเดินทาง ออกรถใหม่ เข้าบ้านใหม่, ฯลฯ อีกทั้งก็ต้องดูดาวจรในวันที่จะทำการนั้นๆว่ามีทรรศนะสัมพันธ์ องศา โยคเกณฑ์ดีร้ายต่อกันอย่างไร แล้วก็ต้องดูว่าเป็นวันจันทร์ดับ อมาวสี ดาวเคราะห์เป็นอัสตะ (ดับ)พักร์ มนฑ์ เสริด เกิดคราส แพ้เคราะห์ยุทธ อาทิตย์-จันทร์ทรงกลด นี่ก็ต้องห้ามในการให้ฤกษ์ออกรถ ขึ้นบ้านทั้งนั้น 

ที่มาข้อมูล http://www.kasetsomboon.org/th/joomla-license/2009-05-24-10-30-14/2009-06-06-21-32-16/287-2009-08-08-08-18-02.html

หมายเลขบันทึก: 548535เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2013 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2013 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท