ตามรอย “พ่อหลวง” กับเศรษฐกิจพอเพียง ตอน อยู่อย่างสมดุลเพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง (ตอนที่ ๒) [#6]


การ "กู้เงิน" ที่นำมาใช้ในสิ่งที่ "ไม่ทำรายได้"...นั้นไม่ได้ เพราะว่า...ถ้า "กู้เงิน" และทำให้มี "รายได้" ก็เท่ากับจะใช้หนี้ได้..."ไม่ต้องติดหนี้"...ไม่เดือดร้อน...ไม่ต้องเสียเกียรติ

ตามรอยพ่อหลวง กับ "เศรษฐกิจพอเพียง"

อยู่อย่างสมดุล...เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

(ตอนที่ ๒)

-----------------------------------------------------------------------------------------
สัมภาษณ์พิเศษ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ สัมภาษณ์ : ขวัญชนก
หัวหน้าโครงการวิจัย เศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
สัมภาษณ์โดย : ขวัญชนก
-----------------------------------------------------------------------------------------
 

 

 

        ภาพพระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

 ★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★
★★★ การ "กู้เงิน" ที่นำมาใช้ในสิ่งที่ "ไม่ทำรายได้"...นั้นไม่ได้  ★★★
★★★             เพราะว่า...ถ้า "กู้เงิน" และทำให้มี "รายได้"          ★★★
★★★                  ก็เท่ากับจะใช้หนี้ได้..."ไม่ต้องติดหนี้"...           ★★★
★★★          ไม่เดือดร้อน...ไม่ต้องเสียเกียรติ          ★★★
★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★★
          พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐

▶ แนวทางปฏิบัติตามปรัชญาของ "เศรษฐกิจพอเพียง" สำหรับภาคส่วนต่างๆ ในสังคม
    ทั้งในระดับ...บุคคล...องค์กร...ชุมชน ควรเป็นอย่างไรคะ?

"แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง" เพื่อนำไปสู่...

"การใช้ชีวิตที่สมดุล" และ "พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง" นี้...

สามารถใช้ได้ตั้งแต่ระดับ...บุคคล...ครอบครัว...กลุ่มองค์กร ชุมชน และภาครัฐ
ยกตัวอย่างเช่น... "หน่วยที่เล็กที่สุด คือ...ตัวเราเอง"
การใช้ชีวิตที่ "สมดุล" ทั้งทาง "กายและจิต" เป็นเรื่องสำคัญ...
"ไม่ใช่" เอาแต่เรื่อง..."ทางกายอย่างเดียว" แต่งตัวสวยงาม...
แต่...จิตใจเศร้าหมอง หรือเอาแต่เรื่องทางจิตอย่างเดียว...
อดอาหาร...ไม่ดูแลร่างกายก็ไม่ได้...

พอเริ่มมีครอบครัว...ก็มี "หลายมิติ" ที่ต้องสร้างให้เกิด "ความสมดุล"
ทั้งในการใช้เวลาชีวิตส่วนตัว...ครอบครัว...การงาน..และจิตใจ

"ในการทำงาน...ก็ต้องขยันหมั่นเพียร"...
"อดทนทำงาน...ให้มีรายได้"
อย่างน้อยก็พอเลี้ยงตัวเอง...และครอบครัวได้

เมื่อ "ตัวเองพอมีพอกินระดับหนึ่ง"...

ก็ควรคำนึงถึง "ความพอประมาณ" ในการบริโภค...

ส่วนที่มี..."เกินพอ หรือไม่จำเป็น"

ก็ควร "เอื้อเฟื้อ...แบ่งปันให้กับสังคม"

ผู้ที่ยังขาดแคลนในด้านต่างๆ...หรือด้อยโอกาส

"การแบ่งปัน" ช่วยเหลือกันจะนำไปสู่..."ความสามัคคี"

จะทำให้เรา "อยู่" กันได้อย่าง..."สันติสุข"

ส่วน...ในระดับ องค์กร ชุมชน หรือสังคม นั้น
ก็ต้องพยายาม "รักษาสมดุลทางสังคม"...
สมดุลทาง "ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม"...
เพราะ...มนุษย์เป็น "สัตว์สังคม" ต้อง "สร้างสมดุล" ให้เกิดขึ้นในสังคม

การแบ่งปัน...เอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันนั้น...
สามารถนำไปสู่..."ความสันติสุข" และ "ความสามัคคี" ได้ระดับหนึ่ง
สิ่งที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ..."หลักการไม่เบียดเบียนกัน"

ในระดับชาติ...ยกตัวอย่างเช่น "เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม"

ถ้า "การพัฒนา" เป็นแบบ "รวยกระจุก...จนกระจาย"

สังคม "เกิดปัญหา" ขึ้น... คนจนอาจลุกขึ้นมา "ประท้วง"
ความสันติสุข...รู้รักสามัคคี...ก็ "ยาก" ที่จะรักษาได้...
และไม่ได้หยุดเพียงแค่นั้น...โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

...เป็นไปตาม "กฎอนิจจัง"...
เพราะฉะนั้น...เราต้อง "ไม่ประมาท"

 

ต้อง "ตั้งสติ" ให้ "รู้เท่าทัน" การเปลี่ยนแปลง...

"คิด" พิจารณาอย่างรอบคอบก่อน...ที่จะ "ตัดสินใจทำอะไร"

ทั้งหมดนี้ก็เป็นการสร้าง "ภูมิคุ้มกันที่ดี" ให้กับตัวเอง... 
ถ้าเราใช้ชีวิตอย่าง "พอประมาณ...มีเหตุมีผล" และ "มีภูมิคุ้มกันที่ดี"...
ชีวิตก็จะปรับเปลี่ยนเข้าสู่ "สมดุล"
และ...สามารถพร้อมรับต่อการ "เปลี่ยนแปลง" ได้

 เราจะสร้างสังคมสันติสุข...สร้างความสามัคคี และ...
สร้างความมั่นคง "ยั่งยืน" ได้... ต้องสร้างสมดุลแบบนี้
ให้เกิดขึ้นในทุกระดับ...ทุกขั้นตอน...
เหมือนรถยนต์ที่ต้องมี ๔ ล้อ หาก "ขาด" ล้อใดล้อหนึ่งไป...รถก็ "แล่น" ไม่ได้

จะเห็นว่า “ความสมดุล” ในหลายๆ มิติ
จำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการอยู่ร่วมกันของมนุษย์
แต่...มนุษย์ก็ต้องตระหนักว่า...เราต้อง "อยู่" แบบสมดุลกับ "ธรรมชาติ" ด้วย
การที่ทำอะไร???... "คำนึงถึงความสมดุล" ทางสังคมทั้งหมดนี้...
เป็น "พื้นฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืน" นั่นเอง...

โปรดติดตามต่อใน ตอนที่ ๓...

-----------------------------------------------------------------------------------------

♦ ประวัติ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุ


Credit picture: ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ เป็นนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง ไปศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ระดับชั้นมัธยม
จนจบปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัย Tsukuba จังหวัดอิบรากิ  กลับมาใช้ทุนรัฐบาล
ด้วยการทำงานที่สภาพัฒน์ และไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกสาขาเศรษฐศาสตร์ ที่แคนาดา
มหาวิทยาลัย Simon Fraser เชี่ยวชาญด้าน การวิจัยนโนบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทั่งปี ๒๕๔๗ ได้รับตำแหน่ง ผู้อำนวยการกลุ่มงานเศรษฐกิจพอเพียงสภาพัฒน์

ปัจจุบัน ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการขับเคลื่อน "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"
ในตำแหน่ง หัวหน้าโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
และผู้ช่วยเลขานุการ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และ
ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา


Ref: ขอขอบคุณ (คัดย่อจาก) 
Credit : แหล่งที่มา: จดหมายข่าวประชาคมวิจัย ฉบับที่ 67 (เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ๒๕๔๙) หน้าที่ 30

ดาวโหลดวารสารไฟล์ PDF ได้ที่ http://rescom.trf.or.th/keybook.aspx?yearbook=2549
หรืออ่านวารสารผ่าน Ebook ได้ที่ 
http://issuu.com/jhasinaha/docs/prachakom_67_edit

Credit : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ที่มาวารสารครอบครัวพอเพียงรายเดือน.ปีที่ ๑.ฉบับที่ ๒ เดือนมีนาคม ๒๕๕๑ :  หน้า ๖-๗.
        "ความพอเพียง" สร้างสมดุลให้ชีวิต โดย ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ
Credit : http://www.sufficiencyeconomy.org/technique-detail.php?id=14
ขอขอบพระคุณ : มูลนิธิชัยพัฒนา
 

 

++

ขอขอบคุณ : จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
เพลง: อยู่อย่างพอเพียง
คำร้อง: สุรักษ์ สุขเสวี
ทำนอง: โสฬส ปุณกะบุตร / เมธี ทวีทรัพย์
ขับร้อง: สำราญ ช่วยจำแนก (อี๊ด วงฟลาย)

#เศรษฐกิจพอเพียง #SufficiencyEconomic

IN THAILAND MAG
อินไทยแลนด์แมกกาซีน ประเภทนิตยสารท่องเที่ยว รายเดือนฉบับ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
หน้า ๕ Scoop: Suffciency Economic ตามรอยพ่อหลวง กับเศรษฐกิจพอเพียง
Rewrite Scoop by: สิเนหา สุทธารมณ์
แปลโดย : Earth Angel

หมายเลขบันทึก: 548349เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2013 13:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ตุลาคม 2013 07:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท