SOPA
นาง โสภา อิสระณรงค์พันธ์

รายงานผลLABแบบออนไลน์ โรงพยาบาลน่าน


รายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแบบออนไลน์ (Laboratory Reported-online)

โรงพยาบาลน่านได้มีการพัฒนาระบบการรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแบบออนไลน์ (Laboratory Reported-online)

เพื่อ

* โรงพยาบาลชุมชนได้รับบริการที่รวดเร็ว  ลดระยะเวลารอคอยผลระหว่างโรงพยาบาลน่านกับโรงพยาบาลชุมชน

 

*ลดความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ผลแล็บสูญหายระหว่างการส่งกลับไปโรงพยาบาลชุมชน

 

*ลดขยะและต้นทุนการใช้กระดาษ (ใบ Lab)   

 

* ปกป้องสิทธิ และป้องกันการเปิดเผยข้อมูล โดยการกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล

 

        โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดน่านเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก มีขีดจำกัดด้านทรัพยากรและศักยภาพในการตรวจและชันสูตรสิ่งส่งตรวจต่างๆ ซี่งสามารถทำได้เพียงไม่กี่อย่าง เช่น CBC,UA, BS, Stool exam, sputum exam เป็นต้น ส่วน LAB ที่ต้องการการตรวจที่ยุ่งยากซับซ้อนเช่น Culture ,Thyroid function test, Hemoglobin Typing  เป็นต้น จะส่งสิ่งส่งตรวจไปยังโรงพยาบาลน่านที่มีความพร้อมสูงกว่า ซึ่งอาจใช้เวลา 1-2 อาทิตย์  โดยติดตามผลโดยตรงที่กลุ่มงานพยาธิวิทยาโรงพยาบาลน่าน

 

            อีกทั้งผู้ป่วยบางรายเจาะเลือดที่โรงพยาบาลชุมชนแต่ไปพบแพทย์ตามนัดที่โรงพยาบาลน่านทำให้ไม่สะดวกในการติดตามผลแล็บดังกล่าว

 

             ทีมงานที่เกี่ยวข้องได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงร่วมกันวางแผนพัฒนาระบบรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแบบออนไลน์ (Laboratory Reported-online) ขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการทุกฝ่ายขณะนี้พร้อมใช้งานแล้วสำหรับโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดน่าน ท่านสามารถติดตามผลLAB ของผู้รับบริการท่านได้ผ่านทางหน้า Website ของทางโรงพยาบาลน่าน http://www.nanhospital.go.th/  หมวดการรายงานผลตรวจ LAB online 

 

            นอกจากนี้เนื่องด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่ทรงห่วงใยประชาชนจ.น่านในด้านโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคที่มีสถิติการตายสูง และจากการศึกษาของทีมงาน คณะแพทย์ พยาบาล นักวิจัย ตลอดจนเจ้าหน้าที่ จาก  โรงพยาบาลจุฬาภรณ์   พบว่าความชุกของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ระหว่างปี 2550-2553 ตำบลสวด อ.บ้านหลวง มีผู้ป่วยสูงสุด เท่ากับ 370.50 คนต่อประชากรแสนคน จึงได้มีการดำเนิน “โครงการศึกษาและบำบัดโรคมะเร็งเซลล์ตับและท่อน้ำดี” โดยได้ดำเนินการค้นหา คัดกรอง และรักษา ในประชากรกลุ่มเป้าหมายในรอบที่ 1 จำนวน 4,431 คน โดยการเจาะเลือดดูค่าต่างๆ  

             

                ประชาชนกลุ่มหนึ่่งที่คัดกรองพบความผิดปกติระยะแรก และได้ถูกส่งตัวเข้าไปรักษายังโรงพยาบาลจุฬาภรณ์  ทีมงานโรงพยาบาลน่านจึงได้ขยายผลและพัฒนาระบบรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแบบออนไลน์ ให้โรงพยาบาล จุฬาภรณ์ สามารถติดตามผล lab ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการได้ร่วมด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ทีมคณะผู้วิจัย 

 

 

 ทีมงานเรายังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนางานสารสนเทศเพื่อการพัฒนางาน

บนค่านิยม ที่ว่า

 

เราจะ  ทำอย่างเต็มความรู้ความสามารถ และทำด้วยความปรารถนาดี

 

หมายเลขบันทึก: 548207เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2013 23:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 23:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท