การสร้างนวัตกร


การสร้าง Innovative  Thinking (สร้างนวัตกร)

INNOVATION  ความหมายของมันก็คือ การคิดสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ ๆ นำไปสู่การปฏิบัติ ที่สัมฤทธิ์ผล เพื่อแก้ปัญหา เพื่อพัฒนา เพื่อสร้างโอกาส เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน คำว่า "นวัตกรรม" จึงหมายถึง "ใหม่" "มีคุณค่า" และ มีมูลค่าเพิ่มจะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้  

องค์ประกอบของการจัดการนวัตกรรม

 

 บทบาทการจัดนวัตกรรมภายในองค์กร

 

องค์ประกอบของการคิดสร้างสรรค์และผลกระทบสภาพแวดล้อมขององค์กรต่อความคิดสร้างสรรค์

 

อ้างอิงจาก

http://www.gotoknow.org/posts/115866

 

 การจะเกิดInnovationได้สิ่งต้องอาศัยวัฒนธรรมของผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ด้วยคือต้องสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงต้องไม่ขัดขวางการเปลี่ยนแปลงและสนับสนุนให้กล้าคิดกล้าทำ INNOVATION ต้องเกิดจากข้างล่างและมีคนข้างบนคอยสนับสนุนทำเป็นตัวอย่างและต้องอาศัยวัฒนธรรมของผู้ตามหรือผู้ปฏิบัติงานตามทฤษฎี 6 ก กล่าวคือ ต้อง กล้าคิด , กล้าพูด , กล้าเปิดใจ , กล้าเสี่ยง,กล้าเรียนรู้และกล้าทำ ส่วนผู้นำที่จะสามารถบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้นั้นต้องมี ทฤษฎี 4L’sนั่นคือ Learning Methodology ,Learning Environment , Learning Opportunities และ Learning Communities ทฤษฎี 6 ก กล่าวคือ
    1. กล้าคิด (คิดนอกกรอบ ข้ามศาสตร์)
    2. กล้าพูด (กล้าเสนอความคิดมากขึ้นในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าถูกต้อง)
    3. กล้าเปิดใจ (รับฟัง)
    4. กล้าเสี่ยง (กล้าริเริ่ม การทำผิดเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ "ถ้าคุณไม่ได้สร้างความล้มเหลวแปดครั้งจากสิบครั้งที่ คุณได้ทําการทดลองนั้นแสดงว่ามันต้องมีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว” MaryMurphy หัวหน้าทีม R&D ที่ Intel กล่าวไว้)
    5. กล้าเรียนรู้ (ที่ต้องมีคนกล้าเพราะมีคนกลัวอยู่ กลัวล้มเหลว กลัวนายว่า ฯลฯ)
    6. กล้าทำ (ทำอย่างจริงจัง พัฒนาอย่างต่อเนื่อง)
                  ทฤษฎี 4 L’s นั่นคือ ·
                 L ที่1 คือ Learning Methodology วิธีการเรียนรู้แบบใหม่เน้นการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นworkshopการทำassignmentโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและMultimedia ·
                 L ที่ 2 คือ Learning Environment การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ คือการสร้างให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการแสวงหาความรู้ร่วมกันโดยจะจัดห้องเรียนแบบU-Shape เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา สนุก สนใจ และมีส่วนร่วม บรรยากาศในการเรียนต้องทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้สัมผัสกับธรรมชาติ ผ่อนคลายจากความเครียด มีมุมกาแฟและหนังสือดี ๆ มีมุมอินเตอร์เน็ตในการรับ – ส่ง e-mail และการ Search หาข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจโดยที่จะเน้นปรัชญาการศึกษาแบบCoaching, Facilitator, และMentoring บรรยากาศของการหาความรู้ที่ดีนั้นจะทำไปสู่Creativityทั้งนี้บรรยากาศการเรียนรู้จะต้องเน้นมาตรฐานในระดับสากล (International Benchmark) ·
                Lที่ 3 คือ Learning Opportunity การสร้างโอกาสในการเรียนรู้เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันรวมทั้งโอกาสในการได้เรียนรู้และร่วมหารือกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และมีชื่อเสียงในระดับประเทศ ซึ่งจะสามารถสร้างให้เกิดโอกาสในการร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กันและกัน ·
                Lที่ 4 คือ Learning Communities การสร้างชุมชนในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นโดยใช้ห้องเรียนเป็นจุดเริ่มต้นและขยายผลต่อไปในวงกว้างชุมชนโดยทั่วไปเป็นชุมชนแบบ Physical Community เมื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นจะเกิดชุมชนแบบDigital สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลาทางอินเทอร์เน็ต อีเมล์ การโทรศัพท์สื่อสารกัน วิธีการเรียน เน้นการเรียนเป็นทีม การทำWorkshopการทำการบ้าน (Assignment) และการร่วมวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง เชื่อว่าหากองค์กรใดนำหลักการเหล่านี้ไปใช้ในองค์กรคงไม่ยากที่จะทำให้องค์กรนั้นเกิดการสร้างนวัตกรรมอย่างแน่นอน

อ้างอิง

สุทธิไกร ดอกเกี๋ยง

สถาบันเกษตราธิการ

 

สรุป

 ในภาวะที่สังคมและเศรษฐกิจมีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่า การสร้างนวัตกรรมเป็นสิ่งที่องค์กรทุกองค์กรต้องการ องค์กรใดสามารถสร้างนวัตกรรมได้จะนำพาให้มีความได้เปรียบในการแข่งขันสูงมาก แต่การจะสร้างนวัตกรรมได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ใช่เรื่องอยากจนเกินไปนัก การที่จะสร้างนวัตกรรมได้นั้นต้องอาศัยการคิด ค้นคว้าและลงมือทำจากคนในองค์กรแล้วเราจะทำอย่างไรให้คนในองค์กรของเรานั้นมี Innovative Thinking ได้

กระบวนการจัดการนวัตกรรม

ก่อนที่จะมีการเริ่มจัดทำ Innovation  culture  จะต้องมีการวิเคราะห์จุดแข็ง  จุดอ่อน  โอกาส  และอุปสรรคในหลายๆส่วน  

1. เริ่มจากการที่เรามีพันธกิจ  เป้าหมาย  และวิสัยทัศน์ขององค์กร  ยึดไว้เป็นหลักในการที่จะวิเคราะห์สภาพการณ์และหาแนวทางในการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง

2.  วิเคราะห์คู่แข่งทางธุรกิจ   เพื่อที่จะสามารถตามได้ทันและสร้างความแตกต่างได้

3.  วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก  ดูความต้องการของตลาด  สภาพเศรษฐกิจ  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี  วัตถุดิบ  หรือผลิตภัณฑ์ที่จะสามารถเข้ามาทดแทนได้ในอนาคต

4.  วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน  ดูรูปแบบโครงสร้างขององค์กร  การบริหารจัดการที่เป็นอยู่  สถานะทางการเงิน  การพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์   ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและแผนการดำเนินงาน

5.  จากนั้นนำผลการวิเคราะห์มาเป็นปัจจัยในการกำหนดกลยุทธ์และยุทธวิธีที่จะนำไปสู่นวัตกรรมที่ตรงตามพันธกิจและวิสัยทัศน์

6.  นำแผนงานและกลยุทธ์ที่วางไว้มาดำเนินการปฏิบัติจริง

 

7.  ประเมินผลการทำนวัตกรรม  โดยเน้นพฤติกรรมของคนในองค์กรที่เปลี่ยนไปว่าเป็นตามที่ต้องการหรือไม่ก่อน  อย่าไปคาดหวังที่ผลเลยมากเกินไป   ต้องค่อยๆปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป

นวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้  ต้องมากจากความรู้ความสามารถของบุคลากรในองค์กรนั้นๆ  เราจะต้องทำให้ทุกคนมีโอกาสในการสร้างนวัตกรรม   ซึ่งนวัตกรรมสามารถแบ่งได้เป็น 3  ระดับ  คือ

1.  Improvement  Innovation  ที่ทุกคนสามารถคิดได้  ทำได้ที่หน้างานของตนเอง  ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสร้างฐานความคิดเชิงพัฒนาให้กับทีมงานเริ่มต่อยอด  เชื่อมโยง  ทำสิ่งที่ใหญ่ขึ้น  ยกระดับสิ่งที่พัฒนาขึ้นมากจนเห็นความแตกต่าง

2.  Incremental  Innovation  ส่วนมากจะเกิดจากการต่อยอดความคิด  เชื่อมโยงกระบวนการและเทคโนโลยีมาสร้างเป็นสิ่งใหม่ที่ดีและมีคุณค่ามากกว่าเดิม

3.  Break  through  Innovation  เป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมี  ผู้อื่นต้องใช้เวลาตามเรา  เป็นการสร้างโอกาสที่เป็นผู้นำในตัวสินค้าหรือบริการ  ก่อให้เกิดคุณค่าแก่ลูกค้าและประสบความสำเร็จในตลาดอย่างชัดเจน

การจะเกิด Innovation ได้ สิ่งต้องอาศัยวัฒนธรรมของผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ด้วยคือ ต้องสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง ต้องไม่ขัดขวางการเปลี่ยนแปลง และสนับสนุนให้กล้าคิดกล้าทำ INNOVATION ต้องเกิดจากข้างล่างและมีคนข้างบนคอยสนับสนุนทำเป็นตัวอย่าง และต้องอาศัยวัฒนธรรมของผู้ตามหรือผู้ปฏิบัติงานตามทฤษฎี  กล่าวคือ   ต้อง กล้าคิด , กล้าพูด , กล้าเปิดใจ , กล้าเสี่ยง , กล้าเรียนรู้ และ กล้าทำ   ส่วนผู้นำที่จะสามารถบริหารทรัพยากรมนุษย์   ให้สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้นั้นต้องมี ทฤษฎี 4 L’s  นั่นคือ  Learning Methodology , Learning Environment , Learning Opportunities และ Learning Communities  

  ในการที่จะเปลี่ยนแปลงคนนั้น สิ่งแวดล้อมและคนรอบข้างมีผลอย่างมากเพราะถ้าคนอื่นทำ มีตัวอย่างดีๆที่ประสบความสำเร็จให้เห็นก็อาจเป็นการสร้างแรงกดดันเล็กๆให้คนอื่นอยากทำได้บ้าง  แต่ต้องระวังอย่าให้กดดันจนเกิดเป็นความเครียด  ในการที่จะสร้างเสริมให้มีการรักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลานั้น   ต้องมีการสร้างบรรยากาศที่จะกระตุ้นให้คนอยากที่จะเรียนรู้   องค์กรควรสนับสนุนในการสร้าง Change  Agent ขึ้นมามากๆ   อาจมาทำหน้าที่เป็น  Facilitator   ซึ่งควรจะต้องเป็นผู้ที่สามารถสร้างแรงจูงใจ  กระตุ้นให้เกิดการคิด และต้องอยู่ในประเด็นที่ต้องการ  จะคอยเป็นผู้สังเกต  คอยแทรกแซงเมื่อจำเป็นเท่านั้น  สามารถแนะนำและช่วยแก้ไข  หรือชี้แนวทางในการแก้ไขปัญหาได้    ทั้งนี้ทุกกระบวนการก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนในองค์กร   เพราะการที่นวัตกรรมจะกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กรนั้นๆได้   ทุกคนจะต้องเข้าใจมันอย่างถ่องแท้และยอมรับปฏิบัติกันด้วยความเต็มใจ

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกร
หมายเลขบันทึก: 548170เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2013 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท