การสอนผ่านเว็บ


ความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนผ่านเว็บ

Home


2.1 ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บ

ภาสกร เรืองรอง [3] ได้กล่าวถึงการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web Based Instruction: WBI) เป็นเครื่องมือสำหรับการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ E-Learning ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ E Education และเป็นส่วนย่อยของระบบใหญ่ E Commerce ดังรูปที่ 2.1

รูปที่ 2.1 องค์ประกอบต่างๆภายในระบบ E-Commerce [3]

การเรียนการสอนผ่านเว็บ เป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบ Web Knowledge Based On Line เป็นการจัดสภาวการณ์การเรียนการสอน ในรูปแบบ On Line โดยมีข้อกำหนดว่าการจะเป็นการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะต้องมีสิ่งต่อไปนี้อย่างสมบรูณ์ ได้แก่

1. ความเป็นระบบ

2. ความเป็นเงื่อนไข

3. การสื่อสารหรือกิจกรรม

4. Learning Root

2.1.1 ความเป็นระบบ

รูปที่ 2.2 ความเป็นระบบของการศึกษาบนอินเตอร์เน็ต [3]

ความเป็นระบบสามารถแบ่งเป็น

Input ได้แก่

1. ผู้เรียน
2. ผู้สอน
3. วัตถุประสงค์การเรียน
4. สื่อการสอน
5. ฐานความรู้
6. การสื่อสาร และ กิจกรรม
7. การประเมินผล
8.  อื่น ๆ

Process ได้แก่

การสร้างสถานการณ์หรือการจัดสภาวะการเรียนการสอน โดยใช้วัตถุดิบจาก Input อย่างมี กลยุทธ หรือ ตามที่กำหนดไว้ในแผนการสอน

Output ได้แก่

ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ซึ่งได้จากการประเมินผลการเรียน

2.1.2 ความเป็นเงื่อนไข

รูปที่ 2.3 ความเป็นเงื่อนไขของการเรียนการสอนผ่านเว็บ [3]

เงื่อนไขเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเรียนการสอนผ่านเว็บ เช่นกำหนดเงื่อนไขว่า เมื่อเสร็จสิ้นจากการเรียนแล้วจะต้องทำแบบประเมินการเรียน หากทำแบบประเมินผ่านตามคะแนนที่กำหนดไว้ ก็สามารถไปศึกษาบทเรียนอื่นๆหรือบทเรียนที่ยากขึ้นเป็นลำดับได้ แต่ถ้าไม่ผ่านตามเงื่อนไขที่กำหนด ก็จะต้องเรียนซ้ำจนกว่าจะผ่าน

2.1.3 การสื่อสารหรือกิจกรรม

รูปที่ 2.4 การเรียนการสอนผ่านเว็บกับการสื่อสาร [3]

การสื่อสารและกิจกรรมจะเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการปฏิสัมพันธ์ หรือการสื่อสารขึ้นภายในสถานการณ์การเรียน โดยไม่ต่างจากห้องเรียนปกติอาจเรียกว่าเวอร์ชวลคลาสรูม ( Virtual Classroom )กิจกรรมจะเป็นตัวช่วยให้การเรียนเข้าสู่เป้าหมายได้ง่ายขึ้น เช่น ใช้ Mail Chat Webboard Search ฯลฯ ติดต่ออาจารย์หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนเพื่อถามข้อสงสัย  

การเรียนการสอนผ่านเว็บสามารถทำการสื่อสารภายใต้ระบบ Multiuser ได้อย่างไร้พรมแดน โดยผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนด้วยกัน อาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ ฐานข้อมูลความรู้ และยังสามารถรับส่งข้อมูลการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronics Education Data ) อย่างไม่จำกัดเวลา ไม่จำกัดสถานที่ ไม่มีพรมแดนกีดขวางภายใต้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรืออาจเรียกว่าเป็นเวอร์ชวลคลาสรูม ( Virtual classroom) เลยก็ได้ และนั้นก็คือการกระทำกิจกรรมใด ๆ ภายในโรงเรียน ภายในห้องเรียน สามารถทำได้ทุกอย่างในระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ ที่อยู่บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จนกระทั่งจบการศึกษา

การสื่อสารในการเรียนการสอนผ่านเว็บ สามารถแยกออกได้หลายอย่างเช่น

E-mail

Web board

Chat

Conference

Electronics Home Work

และอื่นๆอีกมากมาย ตามที่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตจะคิดพัฒนาขึ้นมา

Email

ความหมาย

ลักษณะการใช้ในการเรียนการสอน

ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างเฉพาะผู้ที่เป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ผู้อื่นจะไม่สามารถอ่านได้ ( Two Way )

ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างอาจารย์ หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนด้วยกันใช้ส่งการบ้านหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

Webboard

ความหมาย

ลักษณะการใช้ในการเรียนการสอน

ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้เรียน อาจารย์ และผู้เรียน ( Three Way )

ใช้กำหนดประเด็นหรือกระทู้ตามที่อาจารย์กำหนด หรือตามแต่นักเรียนจะกำหนด เพื่อช่วยกันอภิปรายตอบประเด็น หรือกระทู้นั้น

Chat

ความหมาย

ลักษณะการใช้ในการเรียนการสอน

ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้เรียน อาจารย์ และผู้เรียน ( Three Way ) โดยการสนทนาแบบ Real Time มีทั้ง Text Chat และ Voice Chat

ใช้สนทนา ระหว่างผู้เรียนและอาจารย์ในห้องเรียนหรือชั่วโมงเรียน นั้น ๆ เสมือนว่ากำลังคุยกันอยู่ในห้องเรียนจริงๆ

Conference

ความหมาย

ลักษณะการใช้ในการเรียนการสอน

ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้เรียน อาจารย์ และผู้เรียน ( Three Way ) แบบ Real Time โดยที่ผู้เรียนและอาจารย์ สามารถเห็นหน้ากันได้ โดยผ่านทางกล้องโทรทัศน์ที่ติดอยู่กับคอมพิวเตอร์ทั้งสองฝ่าย

ใช้บรรยายให้ผู้เรียนกับที่อยู่หน้าเครื่อง 
เสมือนว่ากำลังนั่งเรียน อยู่ในห้องเรียนจริงๆ

Electronics Home Work

ความหมาย

ลักษณะการใช้ในการเรียนการสอน

ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียนอาจารย์เป็นเสมือนประจำตัวนักเรียน โดยที่นักเรียนไม่ต้องถือสมุดการบ้านจริงๆเป็นสมุดการบ้านที่ติดตัวตลอดเวลา  

ใช้ส่งงานตามที่อาจารย์กำหนดเช่นให้เขียนรายงานโดยที่อาจารย์สามารถเปิดดู Electronics Home Work ของนักเรียนและ เขียนบันทึกเพื่อตรวจงานและให้คะแนนได้ แต่นักเรียนด้วยกันจะเปิดดูไม่ได้

อย่างไรก็ตามการดำเนินจัดการกิจกรรมสื่อสารบนการเรียนการสอนผ่านเว็บจำเป็นต้องทำภายใต้แผนการสอน ที่มีการกำหนดแนวทางการทำกิจกรรมอย่างชัดเจน

การจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพประสบความสำเร็จได้นั้น กิจกรรมนับเป็นปัจจัยที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง หากขาดซึ่งกิจกรรมแล้ว การเรียนการสอนนั้นก็จะแห้งแล้งน่าเบื่อหน่าย จนกระทั้งผู้เรียนหมดความสนใจในการเรียน เมื่อกล่าวถึงการจัดกิจกรรมที่เป็นการเรียนการสอนในห้องเรียนหลายท่านมักจะกล่าวว่าทำได้ไม่อยาก แต่หากเป็นการจัดกิจกรรมในไซเบอร์คลาสรูม

(Cyber Classroom) หรือ อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเวอร์ชวลคลาสรูม ( Virtual Classroom) โดยใช้การเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นเครื่องมือนั้น ไม่สามารถจัดได้เลย   เนื่องจากผู้เรียนและผู้สอนนั้นอยู่กันคนละที่คนละเวลา เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมบนเวอร์ชวลคลาสรูม 
(Virtual Classroom) จึงขอยกตัวอย่างดังนี้

รูปที่ 2.5 โมเดลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเว็บ ( ThaiWBI’s WBI Activity Model) [3]

Situation Classroom Number 1  เป็นการเริ่มต้นจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ณ.จุดเริ่มต้นของห้องเรียนที่เผชิญประสบการณ์การเรียนการสอนก่อนชั้นเรียนอื่นๆ เช่น ชั้น ม. 1 ภาคเรียนต้น ปีการศึกษา 2544 เรียนเรื่องการสืบพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
Preparing Knowledge ( เตรียมการรับความรู้) 
ผู้เรียนในชั้นม. 1 ภาคเรียนต้น ปีการศึกษา 2544 เริ่มรับ วัตถุประสงค์และกรอบประสบการณ์การเรียนรู้ จากครูผู้สอนหรืออาจเรียกอีกอย่างว่า "ผู้ควบคุมการเรียนรู้" เรื่องการสืบพันธ์ของสิ่งมีชีวิต

Seek Knowledge ( แสวงหาความรู้)  เมื่อรับวัตถุประสงค์และกรอบประสบการณ์การเรียนรู้ จากครูผู้สอนแล้ว ผู้เรียนก็เริ่มแสวงหาความรู้จากเส้นทางความรู้ที่ครูวางเป็นไว้ให้เป็นแนวทาง เช่นสื่อและแหล่งความรู้ภายใน Website ตนเอง(Internal Knowledge) หรือสื่อและแหล่งความรู้จากภายนอก Website ของตนโดยแบ่งเป็น Link จาก  Website ต่างๆที่เกี่ยวข้อง (Relational Knowledge) หรือจาก Search Engine ตาม Keyword ที่กำหนด เช่น ศึกษา เรื่องการสืบพันธ์ของสิ่งมีชีวิต  ดังนี้ 

1. ศึกษาเรื่องการสืบพันธ์ของสิ่งมีชีวิตจาก http://www.myknowledge.com
2. สืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตจาก http://www.yahoo.com

Discussion Knowledge ( เสวนาความรู้) หลังจากที่เผชิญประสบการณ์และแสวงหาความรู้จาก internal และ External Knowledge ข้างตนแล้ว ให้ผู้เรียนสนทนาเพื่อถกเถียงและหาข้อสรุปความรู้ที่ได้ดังนี้

1. ให้ผู้เรียนสนทนาตามเวลาที่กำหนดกับ ครูผู้สอน และ ผู้เรียนในชั้นเรียน  เรื่องการสืบพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
2. สนทนาสักถามความรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่ครูผู้สอนกำหนด  หรือ จากผู้ที่ต้องการร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์  เรื่องการสืบพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
3. หาขอสรุปของความรู้ที่ได้จากการสนทนาจากกลุ่มสนทนาทั้งหมด  เรื่องการสืบพันธ์ของสิ่งมีชีวิต

Building Knowledge Based ( หลักฐานความรู้) เมื่อได้ข้อสรุปของความรู้แล้วเราจำเป็นที่จะต้องทำการสร้างหลักฐานของความรู้เพื่อเป็น Knowledge Based  สำหรับผู้เรียนกลุ่มต่อๆมา โดยสามารถจัดได้ดังนี้

1. เมื่อสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้จาก Chatroom จนได้ขอสรุปของความรู้เรื่องการสืบพันธ์ของสิ่งมีชีวิต แล้วให้ผู้เรียนเขียนสรุปลงบน Web board เช่น   เรื่องการสืบพันธ์ของสิ่งมีชีวิต  มีกี่ประเภท
2. ให้ตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับข้อสรุปความรู้ที่ได้มาเพื่อให้เกิดข้อสนับสนุนหรือโต้แย้งความรู้ที่ได้มา เช่น   เรื่องการสืบพันธ์ของสิ่งมีชีวิต เราอาจค้นพบว่ามีวิธีการที่มากกว่ากลุ่มเรียนกลุ่มแรกเช่นผสมพันธ์เทียมเป็นต้น
3. ให้ตอบคำถามของเพื่อนๆในกลุ่มเรียนเดียวกัน
4. ได้ข้อสรุปรวบยอดแล้วให้

      4.1 เขียนลงสมุดการบ้าน Electronic

      4.2 หรือเขียนสรุปแล้วแนบ File ส่งมากับ E-mail ให้อาจารย์ผู้สอน

      4.3 หรือสร้างเป็น Homepage ขึ้นมา

      4.5 หรือจัดเป็นนิทรรศการ

      4.6 หรือเขียนเป็น Report

      4.7 หรือนำมารายงานหน้าชั้นเรียน

      4.8 หรือสร้างเป็นรายการ Video

      4.9 หรือแสดงเป็นละคร ณ วันเวลา หรือเทศกาลที่กำหนด

      4.10 ETC..... ที่ยืนยันได้ว่าได้รับประการณ์ความรู้ที่กำหนดไว้แล้ว

Situation Classroom Number 2  เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ต่อจากปีการศึกษาที่แล้วของ Situation Classroom Number 1 เช่น ชั้น ม. 1 ภาคเรียนต้น ปีการศึกษา 2545 เรียนเรื่องวิชาการสืบพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งได้รับความรู้ที่เหมือนกัน  ขั้นตอนการจัดกิจกรรมจะเหมือนกับ Situation Classroom Number 1 ทุกอย่าง แต่แตกต่างกันตรงที่จะได้รับประสบการณ์ความรู้ที่สูงกว่า เช่น   Classroom Number 1 สรุปประสบการณ์ความรู้ เรื่องการสืบพันธ์ของสิ่งมีชีวิต  มี  2. คือการร่วมเพศ และการผสมเทียม  แต่ใน Classroom Number 2 อาจค้นพบว่า การสืบพันธ์ของสิ่งมีชีวิต  มี  มากกว่า 2. วิธีคือ มีการ โครนนิ่ง  ด้วย  เป็นต้น ดังภาพพีระมิดฐานความรู้ข้างล่างนี้

รูปที่ 2.6 พีระมิดฐานความรู้ [3]

จะเห็นได้ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบนระบบเครือข่าย โดยใช้การเรียนการสอนผ่านเว็บ เป็นเครื่องมือนั้นมีเทคนิคไม่อยากเลย เพียงแต่รู้จักใช้ความสามารถการสื่อสารของเทคโนโลยีเว็บ (Web Technology) ให้ครบวงจรตามโมเดลที่ได้เสนอข้างต้น ก็สามารถจัดกิจกรรมบนระบบเครือข่ายได้ไม่อยาก

2.1.4 Learning Root เป็นการกำหนดแหล่งความรู้ภายนอกที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน โดยมีเงื่อนไข เช่น แหล่งความรู้ภายนอก ที่มีความยากเป็นลำดับ หรือ เกี่ยวข้องกับหัวข้อการเรียนเป็นลำดับ การกำหนด Leaning Root โดยใช้ เทคนิคเฟรมจะช่วยให้ผู้เรียนไม่เกิดภาวะหลงทาง

2.2 การสร้างเนื้อหาบนสื่อการเรียนการสอนผ่านเว็บ

การสร้างเนื้อหาบนการเรียนการสอนผ่านเว็บนั้นมิใช่เรื่องง่ายเท่าไรนัก โดยเฉพาะครูผู้สอนที่ยังมือใหม่ ไม่ค่อยคุ้นเคยกับการเขียนเนื้อหาและผลิตสื่อการสอนด้วยตนเอง หรือแม้กระทั้งครูผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญด้านเขียนเนื้อหาและผลิตสื่อก็ตามที มิได้หมายความว่าท่านจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเขียนเนื้อหาได้ไปหมดทุกเรื่อง   อินเทอร์เน็ตมีข้อมูลเนื้อหาและสื่อการเรียนการสอนมากมายที่สามารถนำมาใช้ร่วมกับวิชาเราได้บ้าง ไม่มากก็น้อย การสร้างความสัมพันธ์การฐานข้อมูลเนื้อหาเหล่านี้ จะอำนวยความสะดวกสบายต่อการสอนของวิชาเรามาก โดยที่ครูผู้สอนไม่จำเป็นต้องมีความรู้เชี่ยวชาญในการเขียนเนื้อหาทุกเรื่องไป 

ก่อนอื่นจะทำการสร้างความสัมพันธ์เนื้อหาหลักสูตร ( Course Relation) จำเป็นที่จะต้องทำการวิเคราะห์เนื้อหาของเราก่อน ( Course Analysis) เพื่อทำการแบ่งเนื้อหา ( Mapping) โดย แนวทางการแบ่งเนื้อหาสามารถทำได้ตามภาพข้างล่างนี้

รูปที่ 2.7 ตัวอย่างการแบ่งเนื้อหารายวิชา [3]

การวิเคราะห์เนื้อหาเรามักจะเริ่มที่พิจารณาในคำอธิบายรายวิชา จากนั้นก็จัดแบ่งเป็นวัตถุประสงค์การเรียนตามทักษะของรายวิชาที่กำหนดไว้ โดยยึดตามหลักการกำหนดวัตถุประสงค์ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในเรื่องของวัตถุประสงค์การเรียน ซึ่งจะขอกล่าวพอสังเขป ดังนี้

1. พุทธพิสัย (Cognitive Domain) หมายถึงความรู้ความเข้าใจการจดจำในเนื้อหา
2. จิตพิสัย (Effective Domain) หมายถึงความซาบซึ้งความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
3. ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) หมายถึงทักษะการฝึกหัด ของร่างกาย 

เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์แล้วเราก็มาทำการแบ่งเนื้อหากัน การแบ่งเนื้อหา เรามักจะยึดวัตถุประสงค์การเรียนเป็นหลัก เช่นวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 อาจครอบคลุมเนื้อหาได้ 2 -3 บทเรียน หรือมากกว่านั้นก็ได้

เมื่อแบ่งเนื้อหาเป็นบทเรียนต่างๆแล้ว ในบทเรียนนั้นเรายังแบ่งเป็นตอนเรียนต่างๆอีก หากเราพบว่าในตอนเรียนยังมีเนื้อหามากจนเกินไปเราก็สามารถ แบ่งเป็นเรื่องย่อยต่างๆได้ ดังภาพข้างบน จากที่เราได้ทำการวิเคราะห์จัดแบ่งเนื้อหาได้เรียบร้อยแล้วเราก็มาทำการสร้างความสัมพันธ์เนื้อหา (Course Relation)  ดังตัวอย่าง แบบวิเคราะห์เพื่อสร้างความสัมพันธ์เนื้อหา (Course Relation) ข้างล่างนี้

ตารางที่ 2.1 ตัวอย่างแบบวิเคราะห์เพื่อสร้างความสัมพันธ์เนื้อหา ( Course Relation)

บทเรียน 
ที่ 1

 

 

บทเรียน 
ที่ 2 

 

 

บทเรียน 
ที่ n

 

 

แหล่งความรู้

ตอนเรียน 
ที่ 1

ตอนเรียน 
ที่ 2

ตอนเรียน 
ที่ n

ตอนเรียน 
ที่ 1

ตอนเรียน 
ที่ 2

ตอนเรียน 
ที่ n

ตอนเรียน 
ที่ 1

ตอนเรียน 
ที่ 2

ตอนเรียน 
ที่ n

URL

x

 

x

 

 

 

x

 

 

www.course1.com

 

 

 

 

 

 

 

 

 

www.course2.com

 

 

 

x

x

 

 

 

 

www.course3.com

 

 

 

 

 

 

 

 

 

www.course4.com

 

 

 

 

 

x

 

 

 

www.course5.com

 

 

 

 

 

 

 

x

x

www.course6.com


แหล่งข้อมูล URL ต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบทเรียนวิชาของเรานั้นมีมากมาย แต่มิได้หมายความว่าจะมีเนื้อหาตรงต่อความต้องการของเราไปหมดทุกเรื่อง เราจำเป็นจะต้องทำการ วิเคราะห์เพื่อสร้างความสัมพันธ์เนื้อหาว่า ข้อมูลที่เราได้มานั้นสามารถนำไปสัมพันธ์กับเนื้อหาใน บทเรียนใด   ตอนเรียนใด หัวเรื่องใดได้บ้าง การวิเคราะห์ทำได้โดยไม่อยาก ดังตัวอย่างข้างบน โดยเราสามารถทำเครื่องหมายถูกลงบน บทเรียน ตอนเรียน ที่เกี่ยวข้องได้เลย

อย่างไรก็ตามคงไม่มีแหล่งข้อมูล URL ที่มีความสัมพันธ์ตรงต่อความต้องการครบทั้งรายวิชาที่เป็นบทเรียนของเรา ฉะนั้นเรายังจำเป็นที่จะต้องสร้างเนื้อหาและสื่อการสอนของเราเอง อีกทั้งยังเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการเรียนการสอนอื่น ๆ ด้วย

ราชบัณฑิตยสถาน [4] ได้บัญญัติความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web based Instruction) คือ การสอนโดยใช้เว็บเป็นฐานเป็นการผนวกคุณสมบัติไฮเปอร์มีเดียเข้ากับคุณสมบัติของเครือข่าย เวิล์ดไวด์เว็บ เพื่อเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนในมิติที่ไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยระยะทางและเวลาที่แตกต่างกันของผู้เรียน


การใช้คุณสมบัติของไฮเปอร์มีเดียในการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายนั้น หมายถึง การสนับสนุนศักยภาพการเรียนด้วยตนเองตามลำพัง ( One Alone ) กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถเลือกสรรเนื้อหาบทเรียนที่เรียนอยู่ในรูปแบบไฮเปอร์มีเดีย ซึ่งเป็นเทคนิคการเชื่อมโยงเนื้อหาหลัก ด้วยเนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้องรูปแบบการเชื่อมโยงนี้เป็นได้ทั้งการเชื่อมโยงข้อความไปสู่เนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้อง หรือสื่อภาพ และเสียง การเชื่อมโยงดังกล่าวจึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนด้วยตนเองได้ โดยเลือกลำดับเนื้อหาบทเรียนตามความต้องการ และเรียนตามกำหนดเวลาที่เหมาะสมและตนเองสะดวก

การเรียนการสอนผ่านเว็บ [4] คือ โปรแกรมเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่มีลักษณะเป็นการเชื่อมโยงหลายมิติ สามารถจะใช้ทรัพยากรและเครื่องมือต่างๆของ World Wide Web ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการสร้างให้เกิดสภาพแวดล้อมและเอื้อสนับสนุนต่อการเรียนการสอน

คลาร์ก [4] ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บ คือ การเรียนการสอนรายบุคคลที่นำเสนอโดยการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะหรือส่วนบุคคลและแสดงผลในรูปแบบของการใช้
เว็บเบราเซอร์ สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ติดตั้งไว้ด้วยการผ่านเครือข่าย

คาน [4] ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่า เป็นการเรียนการสอนที่อาศัยโปรแกรมไฮเปอร์มีเดียที่ช่วยในการสอน โดยการใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะและทรัพยากรจากอินเตอร์เน็ต ( WWW) มาสร้างให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายโดยส่งเสริมและสนับการเรียนรู้ทุกทาง

พาร์สัน [4] ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่า เป็นการสอนที่นำเอาสิ่งที่ต้องการส่งให้บางส่วนหรือทั้งหมดโดยอาศัยเว็บ ซึ่งเว็บสามารถกระทำการได้ในหลากหลายรูปแบบและหลากหลายขอบเขตเชื่อมโยงกัน ทั้งการเชื่อมต่อบทเรียนและวัสดุช่วยการเรียนรู้และการศึกษาทางไกล

จากความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บที่นักการศึกษาได้ให้ความหมายไว้ดังที่อ้างแล้วนั้น สามารถสรุปความหมายการเรียนการสอนผ่านเว็บ หมายถึง การรวมคุณสมบัติของสื่อหลายมิติ ( Hypermedia) กับคุณลักษณะของอินเตอร์เน็ตและเวิล์ดไวด์เว็บ มาออกแบบเป็นเว็บเพื่อการเรียนการสอน สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีมีความหมาย เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา โดยมีลักษณะที่ผู้เรียนและผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงถึงกัน

2.3 ประเภทของการเรียนการสอนผ่านเว็บ

ปรัชญนันท์ นิลสุข [5] ได้ให้ความหมายของนิยามเว็บช่วยสอนไว้ว่า การจะบอกว่าเว็บไซต์ใดเป็นเว็บช่วยสอนหรือไม่ จึงต้องมีทั้งการกำหนดลักษณะสำคัญเบื้องต้น คือ    เป็นเว็บที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา และเป็นเว็บที่ออกแบบอย่างเป็นระบบและมีกระบวนการ เพื่อการเรียนการสอน เราจะยังไม่ตัดสินว่าเว็บช่วยสอนนั้นมีคุณภาพดี หรือมีประสิทธิภาพในการสอนหรือไม่ เพราะการแยกระหว่างการเป็นเว็บช่วยสอน กับการเป็นเพียงเว็บที่เกี่ยวกับการศึกษา หรือฐานข้อมูลเพื่อการศึกษา เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาเป็นอันดับแรก ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์แห่งหนึ่งมีเนื้อหาเป็นข้อความและภาพประกอบเรื่องสิ่งแวดล้อม ให้นักเรียนได้เข้าไปเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต แล้วนั่งดูที่หน้าจอภาพ เว็บไซต์แบบนี้ถือเป็นเว็บช่วยสอนหรือไม่ ก่อนจะตอบคำถามข้อนี้เราต้องมาพิจารณาคุณลักษณะต่างๆ ประกอบ

เนื่องจากระบบอินเทอร์เน็ตมีเว็บไซต์ในแบบต่างๆ หลายประเภท เว็บไซต์ทางการศึกษาก็เป็นอีกประเภทหนึ่ง ที่มีอยู่มากในระบบ เราจะแยกแยะอย่างไรว่าเว็บไซต์แบบใดเป็นเว็บช่วยสอน และแบบใดเป็นเพียงเว็บไซต์ทาง การศึกษา มีแนวคิดอยู่หลายแบบเช่น

พาร์สัน [5] ได้แบ่งประเภทของเว็บช่วยสอน ออกเป็น 3 ลักษณะคือ

1. เว็บช่วยสอนแบบรายวิชาเดียว (Standalone course)

2. เว็บช่วยสอนแบบเว็บสนับสนุนรายวิชา (Web Supported Courses)

3. เว็บช่วยสอนแบบศูนย์การศึกษา (Web Pedagogical Resources)

โดยแบบที่หนึ่งและสอง เป็นแบบที่มีแนวคิดเป็นรายวิชาโดยรวม ขณะที่แบบที่สาม จะเป็นในรูปของกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ซึ่งขยายความแนวคิดได้ดังนี้ คือ

1. เว็บช่วยสอนแบบรายวิชาอย่างเดียว (Stand-alone Courses)

เว็บรายวิชาเป็นเว็บที่มีการบรรจุเนื้อหา ( Content) หรือเอกสารในรายวิชาเพื่อการสอนเพียงอย่างเดียว เป็นเว็บรายวิชาที่มีเครื่อง มือ และแหล่งที่เข้าไปถึง และเข้าหาได้โดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ลักษณะของการเรียนการสอนผ่านเว็บที่มีลักษณะเป็นแบบวิทยาเขต มีนักศึกษาจำนวนมากที่เข้ามาใช้งานจริง แต่มีลักษณะการสื่อสารส่งข้อมูลระยะไกลและมักจะเป็นการสื่อสารทางเดียว

2. เว็บช่วยสอนแบบเว็บสนับสนุนรายวิชา ( Web Supported Courses)

เป็นเว็บรายวิชาที่มีลักษณะเป็นรูปธรรมที่มีลักษณะเป็นการสื่อสารสองทางที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน และมีแหล่งทรัพยากรทางการศึกษาให้มาก มีการกำหนดงานให้ทำบนเว็บ การกำหนดให้อ่านมีการร่วมกันอภิปราย การตอบคำถามมีการสื่อสารอื่นๆ ผ่านคอมพิวเตอร์ มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้ทำในรายวิชา มีการเชื่อมโยงไปยังแหล่งทรัพยากรอื่น ๆ เป็นต้น

3. เว็บช่วยสอนแบบศูนย์การศึกษา (Web Pedagogical Resources)

เป็นเว็บที่มีรายละเอียดทาง การศึกษาการเชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นๆ เครื่องมือ วัตถุดิบ และรวมรายวิชาต่างๆ ที่มีอยู่ในสถาบันการศึกษาไว้ด้วยกัน และยังรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาไว้บริการทั้งหมด และเป็นแหล่งสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ทางการศึกษา ทั้งทางด้านวิชาการ และไม่ใช่วิชาการโดยการใช้สื่อที่หลากหลาย รวมถึงการสื่อสารระหว่างบุคคลด้วย ซึ่งทั้งนี้ในกระบวนการการเรียนการสอนจะถือเป็นลักษณะที่ 1 และ 2 เป็นการเรียนการสอน ผ่านเว็บที่มีแนวคิดที่ช่วยในการเรียนการสอนในรายวิชา แต่ในขณะที่ลักษณะที่ 3 จะเป็นในรูปของการให้บริการการจัดการในการบริหาร และช่วยสนับสนุนในกิจกรรมการเรียนของสถาบัน โดยมองภาพรวมของการจัดการทั้งสถาบัน


เจมส์ [5] แบ่งเว็บไซต์ทางการศึกษาออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆ คือ

1. โครงสร้างแบบค้นหา (Eclectic Structures)

2. โครงสร้างแบบสารานุกรม(Encyclopeadic Structures )

3. โครงสร้างแบบการเรียนการสอน (Pedagogic Structures)

1. โครงสร้างแบบค้นหา ( Eclectic Structures) ลักษณะของโครงสร้างเว็บไซต์แบบนี้   เป็นแหล่งของเว็บไซต์ที่ใช้ในการค้นหา ไม่มีการกำหนดขนาด รูปแบบ ไม่มีโครงสร้าง ที่ผู้เรียนต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเว็บ ลักษณะของเว็บไซต์แบบนี้จะมีแต่การให้ใช้เครื่องมือในการสืบค้น หรือเพื่อบางสิ่งที่ต้องการค้นหาตามที่กำหนด หรือโดยผู้เขียนเว็บไซต์ต้องการ โครงสร้างแบบนี้จะเป็นแบบเปิด ให้ผู้เรียนได้เข้ามาค้นคว้าในเนื้อหาในบริบท โดยไม่มีโครงสร้างข้อมูลเฉพาะให้ได้เลือก แต่โครงสร้างแบบนี้จะมีปัญหากับผู้เรียนเพราะ ผู้เรียนอาจจะไม่สนใจข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง โดยไม่กำหนดแนวทางในการ สืบค้น

2. โครงสร้างแบบสารานุกรม (Encyclopaedic Structures) ถ้าเราควบคุมของสร้างของเว็บที่เราสร้างขึ้นเองได้ เราก็จะใช้โครงสร้างข้อมูลในแบบต้นไม้ในการเข้าสู่ข้อมูล ซึ่งเหมือนกับหนังสือที่มีเนื้อหา และมีการจัดเป็นบทเป็นตอน ซึ่งจะกำหนดให้ผู้เรียนหรือผู้ใช้ ได้ผ่านเข้าไปหาข้อมูล หรือเครื่องมือที่อยู่ในพื้นที่ของเว็บหรืออยู่ภายในนอกเว็บ เว็บไซต์จำนวนมากมีโครงสร้างในลักษณะดังกล่าวนี้ โดยเฉพาะเว็บไซต์ทางการศึกษาที่ไม่ได้กำหนดทางการค้า องค์กร ซึ่งอาจจะต้องมีลักษณะที่ดูมีมากกว่านี้ แต่ในเว็บไซต์ทางการศึกษาต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน กลวิธีด้านโครงสร้างจึงมีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

3. โครงสร้างแบบการเรียนการสอน ( Pedagogic S

คำสำคัญ (Tags): #การสอนผ่านเว็บ
หมายเลขบันทึก: 548091เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2013 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กันยายน 2013 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท