กระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ


การศึกษา เป็นกระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ 
การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม  สังคม  การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้ตลอดชีวิต (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒  และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๔๕)
           ดังนั้น กระบวนการสร้างความเจริญงอกงามของคนและสังคมหรือกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ควรมีรูปแบบ หลักการหรือวิธีการที่สำคัญ  ดังนี้

               
ประการแรก การอ่าน ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของกระบวนการเรียนรู้ ดังนั้นวิธีการอ่านที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ผู้อ่านต้องคำนึงถึงจุดประสงค์ของการอ่านในแต่ละครั้ง เช่น การอ่านเพื่อ ความบันเทิง (การหนังสือพิมพ์ อ่านนิยาย) เป็นการอ่านผ่านๆ สบายๆ อ่านเพียงเพื่อให้ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น และจบอย่างไร   ส่วนการเรื่องใหม่ เรื่องสำคัญ หรือเรื่องที่ยาก ผู้อ่านต้องอ่านอย่างตั้งใจ เริ่มด้วยการอ่าน บทนำ สารบัญคราวๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมของหนังสือ จากนั้นอ่านย่อหน้าแรกและย่อหน้าสุดท้ายของแต่ละตอน เพื่อช่วยให้ทราบใจความหลัก ดูช่วงเวลาที่หนังสือตีพิมพ์ จะช่วยให้เข้าใจสถานการณ์และมุมมองของผู้เขียน จดบันทึกจุดที่สำคัญไว้ ตามความเข้าใจของตนเองเพื่อการค้นหาภายหลัง และสุดท้ายในขณะที่อ่าน ผู้อ่านต้องตั้งคำถามไปด้วย ว่าผู้เขียนต้องการสื่ออะไร  เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับข้อมูลที่อ่าน และข้อมูลนี้นำไปใช้ หรือเกี่ยวข้องกับประสบการณ์อย่างไร
             
ประการที่สอง การบันทึกการอ่านการวิจัย เป็นการแสดงเนื้อหาจากเรื่องที่อ่านออกมาในรูปแบบของเอกสาร  โดยสิ่งที่บันทึกเป็นการสะท้อนความคิดจากเรื่องที่อ่าน ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การตั้งคำถามในการอ่านจะช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและบันทึกเรื่องที่อ่านได้ตรงประเด็น และการบันทึกควรใช้คำพูดหรือภาษาตามความเข้าใจจากการอ่านของตนเอง  รูปแบบของการบันทึก ควรจัดทำในกระดาษเอสี่ (แบบบัตรรายการ)  บันทึกบรรณานุกรมอย่างละเอียดและสมบูรณ์ เพื่อนำมาใช้ภายหลังอีก  เว้นขอบหรือที่ว่างเพื่อแสงความคิดเห็นและการเน้นข้อความ  บันทึกชื่อ บทและเลขหน้า เพื่อแสดงความคืบหน้าของการบันทึก การอ้างอิง ต้องถูกต้องและแม่นยำ  จัดระเบียบของการบันทึกตามชื่อและหัวเรื่องอย่างมีระบบตามลำดับตัวอักษรหรือทำเครื่องหมายชัดเจน  และที่สำคัญการบันทึกต้องเป็นไปตามวัตถุจากหนังสือ หรือบทความ มาเป็นข้อสรุปหลักการสำคัญ
            
ประการที่สาม การจดบันทึกคำบรรยาย จะช่วยให้ผู้บันทึก มีกรอบแนวคิด สามารถนำความรู้ มาทบทวนในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนนำแนวคิด มาบูรณาการในการฟังคำบรรยายแต่ละครั้ง  การจดบันทึก เป็นการสะท้อนแนวคิดของผู้
จดบันทึก ที่มีต่อเนื้อหาของการบรรยายหรือเอกสารซึ่งผู้จดบันทึก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้   เทคนิคการจัดบันทึกการบรรยาย อันดับแรก การอ่านเนื้อหาคร่าวๆ ก่อนฟังบรรยาย จะทำให้ผู้บันทึกสามารถเลือกบันทึกส่วนที่เป็นประเด็นที่สำคัญ   จดชื่อหัวข้อ วิชา ผู้บรรยาย วันที่ ทุกหน้าที่บันทึก  เขียนกระดาษหน้าเดียว ไม่เขียนหน้าหลัง  ใช้อักษรย่อในการบันทึก โดยใช้ให้เหมือนกัน เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสน   เขียนเป็นวลี  แทนการเขียนเป็นประโยคและไม่ควรบันทึกทุกคำพูด เพราะจะทำให้พลาดประเด็นถัดไป   และสุดท้ายทบทวนบันทึกและเน้นข้อความหรือขีดเส้นใต้ประเด็นสำคัญ เพราะจะเป็นการเน้นย้ำความสำคัญของข้อมูล
            ประการที่สี่ การเรียนรู้ด้วยตนเอง  จะเห็นได้ว่าข้อเขียนตั้งแต่เริ่มแรกจากการอ่าน  การบันทึก
การอ่านและการจดบันทึกการบรรยาย  เป็นเรื่องที่ผู้เรียนต้องกระทำด้วยตนเอง เรียนรู้ด้วยตนเอง  ดังนั้นจึงขอเสนอวิธีการในการเรียนรู้ด้วยตนเอง  เพื่อเป็นตัวช่วยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล  หลักการของการเรียนรู้ด้วยตนเอง คือ การวางแผนตารางเวลาการเรียนรู้ เพื่อเป็นการเตือนความจำด้วยปฏิทินหรือไดอารี่  ลำดับความสำคัญของการเรียนรู้   การกำหนดการส่งงาน การวางแผนวันที่ต้องไปส่งงาน การเขียนรายละเอียดของงานแต่ละชิ้น    การทำงานกลุ่ม   การจัดกลุ่มเรียนรู้ ทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การแบ่งบันความรู้ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ 
           ประการที่ห้า  การบริหารเวลา  กระบวนการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้น การบริหารจัดการเวลา มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จสูง  ดังนั้นการบริหารเวลาเพียงแค่การสร้างตารางการทำงาน หรือการบันทึกกำหนดการต่างๆ ลงในสมุดบันทึกประจำวันเท่านั้น  เทคนิคการบริหารเวลา อันดับแรกคือ  การกำหนดเป้าหมาย ทำรายการที่คาดหวังว่าต้องทำให้สำเร็จในแต่ละสัปดาห์  การจัดลำดับความสำคัญของงาน และทำเครื่องหมายไว้เมื่อทำสิ่งนั้นสิ้นสุดแล้ว
 ระบุภารกิจหลัก (การเข้าเรียน การทำงาน การเดินทาง)  ภารกิจสำคัญและจำเป็นสำหรับตนเอง (การทำงานบ้าน การเล่นกีฬา) การแบ่งเวลาอย่างสมดุลระหว่างเวลาเรียน และเวลาสำหรับความจำเป็นอื่นๆ รวมทั้ง  เวลานอน  ออกกำลังกายและการเข้าสังคม การจัดระบบการเก็บข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อไม่เสียเวลาในการค้นหา แบ่งเวลาว่างเป็นรางวัลให้กับตนเองใช้เวลาแฝง เช่นในขณะอาบน้ำ
ก็คิดหัวเรื่องหรือประเด็นในการทำงานไปด้วย  เป็นต้น

             
รูปแบบการรู้เรียนที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล  ทั้งห้ารูปแบบสามารถนำไปประยุกต์ใช้และบูรณาการการจัดการในการทำงานและในการดำเนินชีวิตของผู้ที่สนใจ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 548021เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2013 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กันยายน 2013 08:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท