สรุปผลการดำเนินการตามกฎกระทรวงฯ ม.80 (หลังประกาศใช้ครบ 1 ปี)


ตามที่ ได้ประกาศกฎกระทรวงฯ ซึ่งออกตามความใน ม.80 แห่ง พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม        แห่งชาติ พ.ศ. 2535 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา ซึ่ง ณ ปัจจุบันก็ครบ 1 ปี โดยประมาณ      (รายละเอียดกฎกระทรวงฯ ได้อธิบายไว้ในตอนที่แล้ว) นั้น

 

ส่วนควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14 (สุราษฎร์ธานี) จึงขอสรุปผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในรอบ 1 ปี ที่ได้ประกาศใช้กฎกระทรวงนี้ ทั้งกิจกรรมที่ดำเนินการ และผลการดำเนินการ ดังนี้

 

          1. สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14 (สสภ.14) ร่วมกับ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.)

ทั้ง 4 จังหวัดที่รับผิดชอบ (ระนอง ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี)  จัดอบรม/สัมมนา เพื่อประชาสัมพันธ์              กฎกระทรวงฯ ให้แก่ แหล่งกำเนิดมลพิษ เจ้าพนักงานท้องถิ่น(อปท.) เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ (สสภ.14,ทสจ.)       และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องที่กำกับดูแลแหล่งกำเนิดมลพิษดังกล่าว รวมทั้งสิ้น 17 ครั้ง (ข้อมูลถึง 9 กันยายน 2556)  มีผู้เข้าร่วมจำนวน  1,492 คน โดยมีแหล่งกำเนิดมลพิษ 616 คน  อปท. 492 คน ที่เหลือ ได้แก่ เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ หน่วยงานกำกับดูแล และหน่วยงานราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 384 คน

2. ประชาสัมพันธ์

2.1 ผ่านวิทยุ อสมท. FM 102 MHz  

-รายการคุยข่าวชาวท้องถิ่น เวลา 18.45-19.00 น. วันจันทร์-อาทิตย์

-รายการ ทันข่าวเล่าสาระ เวลา 07.00-09.00 น. วันจันทร์-ศุกร์

2.2 ประชาสัมพันธ์โดยป้ายประชาสัมพันธ์ ใน 4 จังหวัด

                        2.3 แจ้ง อปท.ทุกแหล่งในพื้นที่ 4 จังหวัดเพื่อประชาสัมพันธ์และเร่งรัดการส่งรายงาน ทส.2

  

3. สสภ.14 ออกตรวจแนะนำกฎกระทรวงฯ ในพื้นที่ อ.กระบุรี จ.ระนอง, อ.หลังสวน จ.ชุมพรอ.ทุ่งสง และ              อ.เฉลิมพระเกียติ์ จ.นครศรีธรรมราช

 

4. ผลการรายงาน ทส.2 ของแหล่งกำเนิดมลพิษโดยเปรียบเทียบกับแหล่งกำเนิดมลพิษทั้งหมด (ข้อมูล ก.ย.56)

จังหวัด

ร้อยละ

ระนอง

20

ชุมพร

17.11

สุราษฎร์ธานี

28.93

นครศรีธรรมราช

22.83

รวมทั้ง 4 จังหวัด

23.40

 5. ผลการรายงาน ทส.2 ของ อปท. โดยเปรียบเทียบกับ อปท. ที่มีแหล่งกำเนิดมลพิษทั้งหมด (ข้อมูล ก.ย.56)

จังหวัด

ร้อยละ

ระนอง

10.26

ชุมพร

12.99

สุราษฎร์ธานี

15.03

นครศรีธรรมราช

3.76

รวมทั้ง 4 จังหวัด

7.23

 

 ปัญหา/อุปสรรค และข้อเสนอแนะ

จากการที่ สสภ.14 จัดอบรม/สัมมนา เข้าตรวจสอบ และตรวจแนะนำการดำเนินการตามกฎกระทรวงฯ พบว่า

 1. แหล่งกำเนิดมลพิษ

     1.1 แหล่งกำเนิดมลพิษบางแห่งยังไม่ทราบว่ามีกฎหมายดังกล่าว หรือทราบแล้วแต่ไม่ทราบวิธีการปฏิบัติ หรือไม่ทราบทั้งกฎหมาย วิธีการปฏิบัติและไม่ทราบว่ากิจการของตนเองเข้าข่ายต้องปฏิบัติ

     1.2 แหล่งกำเนิดมลพิษที่ดำเนินการตามกฎกระทวง ฯ ยังกรอกข้อมูลไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน เช่น ไม่ได้กรอก  ทุกวันไม่สามารถประเมินปริมาณน้ำเสีย น้ำใช้ได้เนื่องจากไม่มีมิเตอร์ (เลยไม่กรอก) ให้ผู้ควบคุมระบบเซ็นชื่อรับรอง      (ตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม ยังไม่มีผู้ควบคุมระบบ ต้องให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษเซ็นเท่านั้น)

     1.3 แหล่งกำเนิดมลพิษแจ้งว่า เป็นการเพิ่มภาระงานที่ต้องกรอกทุกวัน

     1.4 การกำหนดแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จะส่งผลกระทบต่อการค้า การส่งออกระหว่างประเทศ

     1.5 แหล่งกำเนิดมลพิษบางแห่ง ส่งทั้งรายงาน ทส.1 และ ทส.2 ไปยัง อปท. โดยไม่เก็บ ทส.1  ไว้ ณ       แหล่งกำเนิดตามที่กำหนด

 2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.,เทศบาลตำบล,เทศบาลเมือง,เทศบาลนคร)

              2.1 อปท. ส่วนใหญ่ รับทราบแล้วว่ามีกฎหมายดังกล่าว แต่ยังไม่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง เช่น การรวบรวมรายงาน ทส.2 ส่งไปยังเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ (ทสจ.) ยังส่งรายงานไม่ทุกเดือน หรือคอยรวบรวมให้รายงาน ทส.2 จากแหล่งกำเนิดให้มีปริมาณมากจึงค่อยส่ง ซึ่งเกินกำหนด 1 เดือนตามกฎหมาย

              2.2 แหล่งกำเนิดมลพิษ ได้ส่งรายงาน ทส.2 มายัง เจ้าพนักงานท้องถิ่น (อปท.) แล้ว แต่พบว่า อปท. ไม่ได้รวบรวมส่งเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษทุกเดือน ทำให้ยอดการรายงาน ทส.2 ประจำเดือนน้อย

            2.3 อปท. ไม่ได้ออกใบตอบรับให้แหล่งกำเนิดมลพิษที่ส่ง ทส.2 กรณีส่งด้วยตนเอง ตามกำหนด โดยให้เหตุผลว่าไม่มีแบบฟอร์มการตอบรับ

             2.4 อปท. บ้างพื้นที่ ส่งรายงาน ทส.2 มายัง สสภ.14

             2.5 เจ้าหน้าที่มีน้อย หรืองานที่มีปัจจุบันมีปริมาณมากกว่าเจ้าหน้าที่ ทำให้การดำเนินการในแต่ละเดือนล่าช้า หรือไม่ได้ดำเนินการเลย

           3. เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ (ทสจ.)     

             3.1 ยังมีประเด็นว่าแหล่งกำเนิดมลพิษที่ เข้าข่าย ตาม ม.68, ม.69 ที่ถูกควบคุมตาม พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535  นั้น หากไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียจะต้อง ปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้หรือไม่

              3.2 ไม่มีข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษที่เป็นปัจจุบัน หรือรายละเอียดข้อมูล

             3.3 การปรับลดกลุ่มเป้าหมาย หรือปรับลดจำนวนแหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่รับผิดชอบ เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษจะดำเนินการได้หรือไม่ โดยอยากให้กรมควบคุมมลพิษชี้แจงให้ชัดเจน

             3.4 การดำเนินคดีตามกฎหมาย กรณีพบผู้ไม่กระทำตามกฎกระทรวงฯ จะเป็นหน้าที่ของใคร อยากให้กรมควบคุมมลพิษชี้แจงให้ชัดเจน

     3.5 อยากให้มีหน่วยงานกลางในการดำเนินการดำเนินคดี เนื่องจาก ทสจ. หรือแม้ สสภ.14 ก็ยังไม่มีนิติกร หรือประสบการณ์ในการดำเนินการทางกฎหมายมาก่อน

4. แนวทางแก้ไข และข้อเสนอแนะ

          4.1 กรมควบคุมมลพิษ ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงก่อนจะบังคับใช้ เนื่องจากกฎกระทรวงฉบับนี้                  มีการประชาสัมพันธ์หลังประกาศบังคับใช้ไปแล้ว หากพบผู้ไม่กระทำตามก็ต้องดำเนินการทางกฎหมายที่ระบุไว้ ซึ่งส่งผล กระทบด้านลบทั้งแหล่งกำเนิดมลพิษ และเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการได้

                 4.2 กรมควบคุมมลพิษควร อบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง(ผู้ปฏิบัติ) ได้แก่ สสภ. และ ทสจ.        และกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้มีความชัดเจน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้องตามขั้นตอนทางกฎหมาย

                  4.3 ข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษที่ได้รับจากกรมควบคุมมลพิษ เป็นข้อมูลเก่าซึ่งบางแห่งได้ปิดกิจการไปแล้ว และเป็นข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษทุกประเภทที่เข้าข่ายตาม พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ        พ.ศ. 2535  (เพราะ กฎกระทรวงฯ มีผลบังคับเฉพาะแหล่งกำเนิดมลพิษด้านน้ำเสียเท่านั้น)  ดังนั้น ทสจ.แต่ละแห่งจึงได้สำรวจแหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่ตนเอง เพื่อให้ได้ข้อมูลใกล้เคียงความเป็นจริง

                 4.4 อปท.ควรรวบรวม ทส.2 ส่ง ทสจ.ทุกเดือน เพื่อจะทราบได้ว่าแหล่งกำเนิดมลพิษที่ปฏิบัติตามนั้นมีจำนวนเท่าไร

           4.5 อปท. ควรช่วยประชาสัมพันธ์ให้แหล่งกำเนิดมลพิษรับทราบหน้าที่ในการดำเนินการตามกฎกระทรวงฯ เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ทราบจำนวนแหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่ได้ดีที่สุด

 

          -------------*----------------------------------*------------------

 

 

หมายเลขบันทึก: 547765เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2013 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กันยายน 2013 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท