สรุปการให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัด


การให้เหตุผลทางคลินิก เป็นสิ่งสำคัญที่นักศึกษากิจกรรมบำบัดควรมีในการฝึกปฏิบัติงาน

บันทึกนี้ขอการนำเสนอเกี่ยวกับเนื่อหาการให้เหตุผลทางคลินิกทั้งหมด ได้แก่

       1. Scientific reasoning       การคิดและใหเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์

       2. Narrative reasoning       การคิดและการให้เหตุผลทางการบรรยาย

       3. Ethical   reasoning         การคิดและให้เหตุผลเชิงจริยธรรม

       4. Pragmatic reasoning      การให้เหตุผลทางการปฏิบัติการ

       5. Condiitioning reasoning  การให้เหตุผลแบบมีเงื่อนไข

     โดยนำข้อมูลจจากการนำเสนอ Power point มาประกอบคำอธิบาย

1. ประวัติส่วนตัว ของผู้รับบริการ

                

 

2.การให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์

                 Alcohol dependent เป็นความผิดปกติของการดื่มสุรา มีการดื่มเป็นอาจิณ จนทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย  จิตใจ เศรษฐกิจ และการทำหน้าที่ในสังคม ถือว่าเป็นความเจ็บป่วยชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นความสัมพันธ์โดยตรงกับการดื่มสุราในปริมาณมากและเป็นเวลานาน รวมทั้งการมีการเสพสุราซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นจำนวนมาก  แม้จะรู้ถึงผลกระทบที่เกิดจากการดื่มสุราก็ไม่สามารถควบคุมตนเองได้[WHO](2005)  

         ผลกระทบของการติดสุราที่มีภาวะ delirium คือ 

               -     Fluctuating course คือมีบางช่วงที่อาการสงบ มักมีอาการช่วงกลางคืนหรือคอนโพล้เพล้ แต่ตอนกลางวันอาการจะสงบพูดคุยโต้ตอบดี

               -     Sleep wake disturbance  คือมีอาการนอนกลางวันมาก  และมีอาการสับสนวุ่นวายในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ เพราะการอดนอนจะยิ่งทำให้อาการ Delirium มากขึ้น

               -     Disorientation  มักเสียการรับรู้เวลาและสถานที่ก่อน เมื่ออาการรุนแรงมากจึงจะเสียการรับรู้ทางบุคคล

               -     Psychomotor  disturbance  อาจมีการเคลื่อนไหวเพิ่มเติม ทำให้มีอาการกระสับกระส่าย ก้าวร้าว เอะอะ โวยวาย หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หรืออาจมีการเคลื่อนไหวลดลง ทำให้ซึม สับสน นอนมากเกินไป  ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม

               -     Disorganized thinking  ไม่สามารถจัดการเกี่ยวกับความคิดของตนเองได้

               -     Cognitive impairment ความบกพร่องด้านความรู้ความเข้าใจ ได้แก่ การรับรู้วัน เวลา สถานที่ (disorientation) ,ระดับความตื่นตัวไม่เหมาะสม(level of arousal),ไม่มีสมาธิในการเลือกสนใจสิ่งเร้า(inattention; selective attention) ซึ่งความบกพร่องด้านความรู้ความเข้าใจจากภาวะสับสน (derilium) เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่นำไปสู่ความบกพร่องด้านความรู้ความเข้าใจประเภทเล็กน้อย (mild cognitive impairment)

                          

 

                  

 

 

3.หลังจากนักศึกษาได้ประเมินผู้รับบริการผ่านการสัมภาษณ์และการสังเกตความสามารถ พฤติกรรมขณะผู้รับบริการเข้าร่วมกิจกรรมสามารถสรุปปัญหาของผู้รับบริการได้ดังนี้ (Narrarive and pragmatic reasoning)

             1)   ผู้รับบริการมีความสับสน ด้าน วัน เวลา สถานที่ บุคคล

             2)   ผู้รับบริการมีอาการหลงลืม เกี่ยวกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้นไม่นาน

             3)   ผู้รับบริการไม่สามารถเลือกสนใจสิ่งเร้าที่สนใจได้

             4)   ผู้รับบริการไม่ตระหนักว่าการดื่มเหล้าส่งผลกระทบต่อสุขภาพ  ไม่มีทัศนคติในการเลิกดื่มเหล้า

             5)   สิ่งแวดล้อมด้านวัฒนธรรม เรื่องการดื่มเหล้าตามเทศกาล ส่งผลต่อระยะเวลาและปริมาณการดื่มของผู้รับบริการ

                                  

                        

 4. หลังจากที่เราประเมินได้ปัญหาของผู้รับบริการ ผู้บำบัดจึงได้นำปัญหานั้นมรลำดับความสำคัญ และตั้งเป้าประสงค์ในการรักษา ได้ดังนี้ (Pragmatic reasoning and ethical reasoning )

           1.)การบำบัดฟื้นฟูและคงไว้ในความสามารถด้านความรู้ความเข้าใจ(Improve and maintain cognitive function)                    เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม

           2.) การส่งเสริมให้ผู้รับบริการเกิดการตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเองด้านการรับรู้ผลกระทบของการดื่มสุรา ตระหนักว่าสุราทำให้                    สุขภาพของตนเองไม่ดี (increase self-awareness) เพื่อป้องกันการดื่มสุราและกลับมาเข้าโรงพยาบาลซ้ำ เพื่อส่ง                  เสริมความสนใจ ความสามารถด้านกิจกรรมยามว่างและการทำงาน

                         

 

5.การวางแผนการรักษา

       ซึ่งการฝึกปฏิบัติงานกับผู้ป่วยตามกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด ไม่ว่าจะเป็น การสร้างปฏิสัมพันธ์ การประเมิน การบำบัดรักษา นักศึกษาได้คำนึงถึงจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขากิจกรรมบำบัด พ.ศ.2548 ดังนี้

หมวดที่ 3 ข้อที่ 13 กล่าวว่า ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขากิจกรรมบำบัดต้องปฏิบัติต่อผู้ป่วย โดยสุภาพ มีน้ำใจ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

             ข้อที่ 16 กล่าวว่า ผู้ประกบโรคศิลปะสาขากิจกรรมบำบัดมีหน้าที่อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงสาระสำคัฐของการให้บริการ                               ทางวิชาชีพกิจกรรมบำบัดเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเข้ารับ การตรวจประเมิน การส่งเสริม การป้องกัน                                   การบำบัด และ การฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วย

  การบำบัด ฟื้นฟู และกิจกรรมที่ใช้บำบัดฟื้นฟู โดยอยู่บนพื้นฐานของกรอบอ้างอิง และเทคนิคทางกิจกรรมบำบัด แสดงให้เห็นดังภาพ

 

                 

                    

                    

 

                   

 

                                          

 

5. ความคืบหน้าในการบำบัดรักษา มีการใช้เหตุผลแบบการบรรยาย คือเป็นสิ่งที่ผู้รับบริการพูด หรือแสดงให้เห็นว่า ผุ้รับบริการมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีความก้าวหน้าในการรักษาอย่างไรบ้าง 

                 

                 

 

       การให้เหตุผลทางคลินิกเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการฝึกฝน และฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดประสบการณ์ จนสามารถนำไปช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ นักศึกษากิจกรรมบำบัด จึงมีหน้าที่ในการเรียนรู้ ฝึกฝน และฝึกปฏืบัติให้เกิดประสบการณ์ เพื่อให้เตรียมความพร้อมในการเป็นนักกิจกรรมบำบัด ในระยะเวลาอันใกล้   

 

                                                    สวัสดี การให้เหตุผลทางกิจกรรมบำบัด ^^

 

หมายเลขบันทึก: 547156เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2013 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2013 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท