deawche
เดี่ยวเช คมสัน deawche หน่อคำ

สักศรี เมืองแพร่


“City of Teak” สัก...ศรีเมืองแพร่  โดย มะเดี่ยวศรี

จากคำกล่าวที่ว่า “คนแพร่เดินผ่านต้นสัก
เป็นไม้ล้ม หรือ คนแพร่เห็นต้นสัก เห็นเรือนไม้ใหญ่”
นี่คือคำพูดกันทั่วไปที่คล้ายคำจำกัดความของคนแพร่ เหมือนคำว่า
“เมืองแป้แห่ระเบิด” ด้วยประโยควลีเหล่านี้และอาชีพทำไม้ดั่งเดิมของคนแพร่ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าคนแพร่เวลาเดินผ่านต้นไม้จะต้องตัด...ต้องโค่น
เพื่อเอาไม้เสียให้ได้ และความมีชื่อเสียงด้านงานฝีมือช่างไม้เป็นที่โด่งดังไปทั่ว
ไม้สักของจังหวัดแพร่มีคุณสมบัติดี คงทน เงางาม สีสวย อายุการใช้งานยาวนาน
ปลวกไม่ขึ้น จนได้ชื่อว่า “สักทอง” ทำให้ผลิตภัณฑ์ไม้ของจังหวัดแพร่เป็นที่ยอมรับ
มีความต้องการจำนวนมากชนิดทำออกมาเท่าไรก็ไม่เพียงพอสำหรับผู้นิยมชมชอบผลิตภัณฑ์ไม้สัก


ด้วยคุณภาพ ความสวยสดงดงามที่ธรรมชาติมอบให้
ก่อกำเนิดวัตถุทางสถาปัตยกรรมมากมาย เช่น พระที่นั่งวิมานเมฆ  ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างจากไม้สักทองที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นพระที่นั่งถาวรองค์แรกในพระราชวังดุสิต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5)โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นในพระราชวังดุสิต,คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ที่เคยใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
เมื่อคราวที่เสด็จมาเยี่ยมเยียนราษฎรจังหวัดแพร่ ในระหว่างวันที่ 15 - 17 มีนาคม พ.ศ. 2501
และได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ให้เป็นสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภทอาคารสถาบัน และสาธารณะ ประจำปี 2540 ,บ้านวงศ์บุรีหรือบ้านสีชมพูที่โด่งดังจากละครหลังข่าวเรื่องรอยไหม,คุ้มเจ้าต่างๆในเมืองแพร่และเฮือนเก่าหลายหลังล้วนสร้างด้วยไม้สัก
แฝงคุณค่าประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมประเพณีทุกสิ่งอย่างล้วนศักดิ์ศรีของจังหวัดแพร่

สำหรับจังหวัดแพร่นั้นมีพื้นที่เป็นป่าไม้ 80 %ของจังหวัด
เป็นเมืองไม้อย่างเห็นได้ชัด อดีตมีการเปิดป่าทำสัมปทานป่าไม้
ทำให้เมืองแพร่มีความเจริญเข้ามาและมีชาวต่างชาติเข้ามาอาศัยอยู่มากมาย
โดยได้นำวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ความรู้ กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์จังหวัดแพร่
เช่น บ้านเรือนสไตส์ยุโรปผสมจีนบวกล้านนาเป็นเอกลักษณ์ที่สวยงามเฉพาะตัว
ส่วนหนึ่งเป็นอิทธิพลจากการทำไม้ที่สร้างสมประสมการณ์และเป็นความรู้สืบต่อรุ่นต่อรุ่นในเมืองแห่งไม้สัก
นี่เป็นเพียงเรื่องราวบทหนึ่งของจังหวัดแพร่ที่น่าจะเป็นเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย

ปัจจุบันแม้นมีการปิดป่าห้ามทำสัมปทานไม้แต่ชาวแพร่ก็ยังยึดอาชีพเกี่ยวกับไม้อยู่
เปลี่ยนจากการตัดไม้เป็นการทำเฟอร์นิเจอร์แทน

ภาพการทำไม้เก่าๆ มีช้างลากไม้เดินเป็นขบวน  วิธีขนล่องไม้ตามน้ำยมด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน  บ้านเฮือนที่ทำเสาไม้สักสองสามคนโอบ
เลือนล่างหายไปตามกาลเวลา คนรุ่นใหม่ไม่มีความภาคภูมิใจกับความเป็นคนแป้ พูดภาษากลาง
 ลืมน้ำพริกน้ำปู้-ข้าวนึ่ง
กินข้าวหุงแกงถุง  ลืมวิถีความเป็นอยู่
ขนบธรรมเนียมประเพณีล้านนา 
ถึงเวลาแล้วรึยัง??? ผู้อยู่ควรสร้างเรื่องราวตำนาน บอกกล่าวเล่าขาน
“เมืองแป้” จากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน ชี้เป็นแนว เป็นเส้นทางดำรงสืบประวัติ
เปลี่ยนทัศนคติจาก“คนแพร่เดินผ่านต้นสัก เป็นไม้ล้ม หรือ คนแพร่เห็นต้นสัก
เห็นเรือนไม้ใหญ่” เป็น  Phre
city of Teak  แพร่เมืองแห่งไม้สัก
ประกาศให้รู้ว่า “เรื่องไม้สักต้องถามคนแพร่ เฟอร์เจอร์ไม้ต้องของแพร่  จะปลูกใช้ จะขาย จะสร้างบ้านไม้
จะทำอะไรเกี่ยวกับไม้สักก็ตามต้อง เมืองแป้เท่านั้น” นี่คือเพียงหน้าหนึ่ง สตอรี่ของจังหวัดแพร่

 

 

หมายเลขบันทึก: 546665เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท