“บริหารแบบมวยรอง” สร้างแบรนด์ Knowledge school


บทความวิชาการจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ

“บริหารแบบมวยรอง” สร้างแบรนด์ Knowledge school

โดย   เมธีธนัช ปะเสระกัง
ผู้อำนวยการโรงเรียนจินดาบำรุง

                การปฏิรูปการศึกษารอบที่ 2 ได้ลั่นฆ้องขึ้นแล้วในรัฐบาลชุดนี้ ทั้งนี้เพราะระบบการศึกษาของไทยเราล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ที่ผ่านมาการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ของครูไทยสอนเพียงขั้นศรัทธาเท่านั้น จะเห็นได้จากกรอบความคิดของคนเสื้อสีต่างๆ ในระดับรากหญ้า การเข้าร่วมการชุมนุมของเขาเกิดแต่ศรัทธาเท่านั้นเหตุที่แท้จริง ครูไม่ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน ผู้เรียนไม่รู้จักตนเอง “ครูเพียงสอนหนังสือให้เด็กหาได้สอนเด็กให้รู้หนังสือไม่”นั้นหมายความว่าครูนำองค์ความรู้ที่มีผู้สร้างไว้แล้วมาสอนเด็กแต่ไม่สอนให้เด็กสร้างองค์ความรู้ใหม่ ( Body of Knowledge ) ผู้เรียนจึงไม่รู้จัก เรียนรู้ -วิธีคิด (Learn How To Think)และเรียนรู้ - วิธีเรียนรู้ (Learn How To Learn) ความเสียหาทางการศึกษาและการพัฒนาประเทศเป็นผลพวงจากความล้มเหลวของระบบการศึกทั้งสิ้นที่ผู้นำจะปฏิเสธไม่ได้เลย มีข้อมูลยืนยันถึงความล้มของการศึกษาไทยเป็นข้อมูลจากการสำรวจขององค์การสหประชาชาติ ( UN )โดยองค์กรสหประชาชาติที่ดูแลเรื่องการศึกษา (UNDP) ได้จัดประเทศไทยเป็น 1 ใน 3 กลุ่ม แรกของประเทศที่ได้มีการลงทุนทางด้านการศึกษามากที่สุด แต่ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาประเทศไทยเป็น 1 ใน 3 กลุ่มท้าย ที่การลงทุนทางการศึกษากับผลการประเมิน อยู่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง ซึ่งมีเพียงไม่กี่ประเทศ จึงเป็นที่มาของการเรียกร้องให้มีการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา โดยทำอย่างไร จึงจะให้งบประมาณเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาลงสู่สถานศึกษามากที่สุด 

                 ยุทธการผีเสื้อขยับปีกเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ณ โรงเรียนจินดาบำรุงเป็นสิ่งที่เราคาดหวังจะเกิดแรงกระเพื่อมต่อการปฏิรูปการศึกษาตามกระแสหลัก จาก Globalization ก้าวข้ามสู่ยุคความรู้เป็นใหญ่ (Global knowledge) การบริหารการศึกษาเพื่อนำโรงเรียนสู่ความเป็นโรงเรียนความรู้ (Knowledge School) เป็นพันกิจของนักบริหารรุ่นใหม่ที่จะมองข้ามเสียมิได้ หาไม่แล้วเราจะกลับกลายนักบริหารการศึกษารุ่นใหม่ตกรุ่น ณ จุดเริ่มต้น ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนจินดาบำรุงเป็นนักบริหารชายขอบ (No Name) หาใช่ผู้บริหารแถวหน้า (First Director) แต่อย่างใดไม่ แต่เราพยายามแสวงหาแนวทางการพัฒนาที่เป็นอัตลักษณ์ ( Indemnity) ของนักบริหารรุ่นใหม่ เพื่อนำโรงเรียนสู่ความเป็นศูนย์กลางความรู้ของชุมชน ( Knowledge School Center) ตอบสนองได้ทุกความต้องการของครูและผู้เรียน เพื่อการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียน เรียนรู้ – วิธีคิด (Learn How To Think) รู้จักตนเองและรู้จักเรียนรู้ - วิธีเรียนรู้ (Learn How To Learn) ซึ่งระบบการศึกษาของไทยยังค้นหาไม่เจอ แม้ไม่มีใครรู้จักโรงเรียนจินดาบำรุง แต่เราจะพัฒนาสถานศึกษาตามรอยพ่อ แทนคุณแผ่นดิน เพื่อพัฒนาประชากรของชาติให้มีคุณภาพเทียบชั้นอารยะประเทศ

                 “ดึงดูดทุกใจให้ไปกับเรา The Ultimate Attraction” เป็นสโลแกนปฐมบทของการพัฒนา นวัตกรรมการบริหารเพื่อการสร้าง แบรนด์โรงเรียน ความรู้ ( knowledge school) และ ผลสัมฤทธิ์สูงสุดของโรงเรียน ( High Performance School :HPS) เป็นเป้าหมายที่เราใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นการบริหารจัดการโรงเรียนแนวใหม่ ( New School Management :NSM ) ที่เราร่วมคิดร่วมทำและร่วมสร้าง การแสวงหาพันธมิตรเป็นภาคีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยใช้จุดแข็งของพันธมิตร(School corporate Partnership ) มาพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญในลำดับต้น ๆ บุคลากรร่วมกันกำหนดเป็นแผนที่กลยุทธ์ (Strategy Map) ภายใต้ค่านิยมร่วม KUSAsI ครู(สม)ศรี
          K = Knowledge บุคลากรโรงเรียนกลางคลองสองเป็นครูสมศรีที่มีความรู้
          U = Understand ในเป็นครูสมศรีที่มีความเข้าใจในตัวผู้เรียน
          S = Skill เป็นครูสมศรีที่มีทักษะในการออกแบบการจัดการเรียนรู้
          As = Attitude , Apply, Application เป็นครูสมศรีที่มีความเป็นผู้เสียสระต่อภาระหน้าในการพัฒนาคนของชาติ รู้จักปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้เหมาะสมประยุตความรู้ให้ทันต่อโลกและการเปลี่ยนแปลงและนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ในการพัฒนาการศึกษา
          I = Integrate เป็นครูสมศรีที่สามารถบูรณการความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ได้ดี
การบริหารจัดการความรู้ ( Knowledge Management : KM ) ภายในองค์กรเพื่อการพัฒนาและนำความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge ) สู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน สร้างทีมวิศวกรการศึกษา( Education Engineer ) พัฒนาเป็นองค์ความรู้ใหม่ (Body of Knowledge) เป็นนวัตกรรมที่โรงเรียนจินดาบำรุงใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารเพื่อให้เกิดผลและบรรลุเป้าหมาย เราร่วมกันสร้างเครื่องมือการบริหารจัดการของเราให้พัฒนาไปข้างหน้าแทนการมองย้อนหลังเป็นดังนี้

            1. สร้างผู้นำให้เต็มองค์กร ( Leader Full Organization ) เป็นการสร้างบุคลากรให้มีภาวะ
ผู้นำ ( Leadership )ในทุกระดับชั้น John Maxwell กล่าวว่า การสร้างผู้นำในองค์กร ผู้นำ HR ที่มีกลยุทธ์ (Strategy ) จะต้องสร้างผู้นำในองค์กร ณ ตำแหน่งที่บุคลากรดำรงอยู่ การสร้างผู้นำเมื่อขึ้นเป็นผู้บริหารแล้ว จึงไม่เกิดประโยชน์ต่อองค์กรมากหนัก งานจะบรรลุเป้าหมายได้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้บริหารเพียงอย่างเดียว ผู้บริหารเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก ( Facilitator) ดั้งนั้นบุคลากรทุกภาคส่วนในองค์กรต้องกล้าคิด กล้าทำและกล้าเปลี่ยนแปลง มีภาวะผู้นำ

             2. หลักความเป็นเจ้าภาพ ( Leader of Manager ) เมื่อโรงเรียนได้สร้างผู้นำจนเต็มองค์กร
แล้ว ต้องมอบความไว้วางใจ ให้อิสระในการตัดสินใจต่อการบริหารจัดการกิจกรรม บนความรับผิดชอบ นวัตกรรมทางความคิดของบุคลากรเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เป็นการดึงความรู้ภายใต้ก้อนน้ำแข็งมาพัฒนาคุณภาพการศึกษาบนพื้นฐานของการยอมรับและเรียนรู้ร่วมกัน

             3. สร้างวิศวกรทางการศึกษา( Education Engineering ) ด้วยกระบวนการ KM. ( Knowledge
Management )บุคลากรในโรงเรียนเราถือว่าเป็นต้นทุนและแหล่งข้อมูลไร้ขีดจำกัด ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียน นวัตกรรมและเครื่องมือในการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ ต้องเกิดจากการจัดการความรู้ผ่านกิจกรรมหรือมุมมองขององค์กรในทุกมิติ

             4. การพัฒนาบุคลากรโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School based training ) การพัฒนาบุคลากร
ให้มีขีดความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นสมรรถนะหลัก ( Core competency ) และสมรรถนะตามสายงาน ( Factional competency ) ด้วยกิจรรมบริหารจัดการความรู้ ( KM.)บุคลากรมีส่วนร่วมในการออกแบบนวัตกรรมด้วยการโชว์ความรู้ (Show) แชร์ความรู้( Share )และเรียนรู้ร่วมกัน (Learn ) ซึ่งเป็นการสร้างทีมงานที่เป็นวิศวกรการศึกษา( Education Engineer) ทำหน้าที่ออกแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน บุคลากรเป็นได้ทั้งผู้นำที่ดี ( Leadership ) และผู้ตามที่ดี(Followship)

              5. การพิจารณาความชอบ ( Pay Performance ) เรายึดผลการปฏิบัติหรือผลงานเป็นหลัก ( Resale Based Management ) ขวัญกำลังใจ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นบุคลากรทุกคนในโรงเรียนต้องได้รับการปูนบำเหน็จความชอบตามผลงานของบุคลากรเอง ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นต่อมทำงานบุคลากรและส่งเสริมสนับสนุนการให้ทำงานแข่งกับตัวเอง
ทั้งหลายทั้งมวลที่กล่าวมา เป็นเวทีแห่งการล่าฝันของเรา เป็น Catwalk ที่เราจะเดินร่วมกัน เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมการบริหาร ที่เกิดจากบริหารจัดการความรู้ ( Knowledge Management ) ภายในสถานศึกษานำองค์ความรู้ที่ได้ (Body of Knowledge ) มาบูรณาการและปฏิบัติที่จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของกรุงเทพมหานคร และของชาติในอนาคตและ นำไปสู่การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ( Facility) ต่อการจัดการเรียนรู้ของครูและการเรียนรู้ของผู้เรียนจึงเป็นที่มาของห้องสมุด 4 G


              Good Librarian = คุณครูน่ารักเป็นบรรณารักษ์ทุกคน .
              Good Book = หนังสือดีน่าอ่าน และถูกเปิดอ่านทุกหน้า
              Good Environment = บอกลาบรรยากาศแบบเก่าเรียนรู้ได้ทุกอิริยบถ
              Good Tool, Technology = เทคโนโลยีและเครื่องมือสืบค้นทันสมัยก้าวข้ามกาลเวลา


                    เป็นการก้าวข้ามห้องสมุด 3 ดีของกระทรวงศึกษาธิการที่กำลังเป็นที่สนในตามนโยบาย 5 ฟรี 3 ดี 4 ใหม่ ของท่านรัฐมนตรีว่าการฯ ห้องสมุด 4 G เป็นห้องสมุดรูปแบบใหม่ของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการจัดการเรียนรู้ทั้งหนังสือแห้งหนังสือพูดได้และสื่อ IT ต่างๆ ( Instructional media center )เทียบเท่าห้องสมุดสถานศึกษาสากลทั่วโลก

 

 

โดย...

 

ผอ.เมธีธนัช ปะเสระกัง

ผู้อำนวยการโรงเรียนจินดาบำรุง

 

หมายเลขบันทึก: 546367เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2013 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท