ทฤษฎีเครือข่ายทางสังคม_3


Click 3 : ทฤษฎีความแตกต่าง (Heterophily Theory)

Kilduff และ Tsai (2003) กล่าวว่าคนในสังคมมีแนวโน้มที่จะเกาะกลุ่มกันบนพื้นฐานของการมีคุณลักษณะร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเปรียบเทียบทางสังคม และการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ดังนั้นกล่าวได้ว่า กลุ่มเครือข่ายอย่างไม่เป็นทางการในองค์กรมีความเสี่ยงต่อการแตกแยกกันเป็นกลุ่มย่อยๆ (Cliques) ของบุคลากรในองค์กร ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้เป็นปกติในแต่ละองค์กร เช่น บางครั้งอาจจะพบว่าพนักงานในแผนกหนึ่ง อาจใช้เวลาทั้งหมดในการพูดคุยเฉพาะในแผนกของตนเอง โดยไม่เคยปฎิสัมพันธ์กับบุคคลในแผนกอื่น หรือที่เห็นเป็นปัญหาอยู่บ่อยๆ คือ พนักงานในแผนกหนึ่งจะไปพูดคุยกับคนในแผนกอื่นโดยไม่มีปฎิสัมพันธ์กับคนในแผนกเดียวกัน ไม่ว่าเป็นกรณีใดที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นผลให้เกิดกลุ่มย่อยๆ ที่เกาะเกี่ยวกันอย่างไม่เป็นทางการของพนักงานนี้ จะก่อให้เกิดแก่นแกนของการสื่อสาร และการไว้วางใจซึ่งกันและกัน และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ส่วนบุคคล (Tacit Knowledge) หรือความเชี่ยวชาญที่เล็กน้อยระหว่างบุคคลในกลุ่มย่อย (Hansen, 1999)

" ไม่ใช่ไม่อยากกินข้าวกับเพื่อนร่วมงานในภาควิชาเดียวกัน ไม่ใช่เข้ากับคนในภาควิชาไม่ได้ แต่มันเป็นเรื่องของ ทฤษฎีความแตกต่าง ^_^ "

หมายเลขบันทึก: 546333เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2013 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2013 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท