วิชาการอ่านแผนที่และการใช้เข็มทิศ ระบบพิกัดนำทาง ตอนที่ 1


ระบบพิกัดตาราง
1. กล่าวทั่วไป
เนื่องจากทหารมีความจำเป็นต้องปฏิบัติการไม่ว่าพื้นที่ใด ๆ ’ ในโลก ด้วยเหตุนี้เอง
ทำอย่างไรเราจึงจะมีวิธุการกำหนดที่ตั้งตำบลหนึ่งตำบลใดหรือบอกให้ทราบถึงว่าตำบลนั้น
ตั้งอยู่ที่ใดฺ ทั้งบนแผนที่และในภูมิประเทศให้เป็นแบบเดียวกันและถูกต้องแม่นยำ ไม่ว่าการ
กำหนดที่ตั้งตำบลหนึ่งตำบลใดด้วยวิธีการอันหนึ่งอันใดก็ตาม โดยความมุ่งหมายของทาง
การทหารแล้วย่อมต้องการความถูกต้องแน่นอนอย่างยิ่งวิธีการด้งกล่าวควรจะมีส์กษณะดังนี้
1.1 ใช้ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความ!เกี่ยวกับบริเวณนั้นๆมาก่อน
' 1.2 ใช้ได้ในบริเวณอันกว้างใหญ่
1.3 ใช้ได้โดยไม่ต้องอาดัยที่หมายในภูมิประเทศ
1.4 ใช้ได้กับแผนที่ทุกมาตราส่วน
2. ระบบกริดทางทหาร
2.1 ระบบก?ดยูท ีเอ็ม (THE UNIVERSAL TRANSVERSE MERCATOR .GRID
SYSTEM)
2.1.1 แผนที่ทหารมาตราส่วนใหญ่และมาตราส่วนกลาง ส่วนมากมีระบบกริด
เพิ่มเติมจากระบบพิกัดภูมิศาสตร์'ะบบกริดที่จะกล่าวถึงนี้ใช้ในการบอกหรือกำหนดที่ตั้งตำบล
ต่าง ๆในทางการทหารมากกว่าที่จะใช้ระบบพิกัดภูมิศาสตร์เพราะว่าเป็นวิธีการที่ง่ายกว่า
2.1.2 ระบบกริดนี้ประกอบด้วยเล้นตรงขนานกันสองชุดตัดกันเป็นมุมฉาก
และทำให้เกิดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขึ้นตามลำดับบนหน้าของแผนที่
2.1.3 ระบบกริดของจัตุรัสอันนี้ นับว่ามีความก้าวหน้ากว่าระบบพิกัด
ภูมิศาสตร์เป็นอันมากดังนี้

(ก) ทุก ๆ จัตุรัสกริดมีรูปร่างและขนาดอย่างเดียวกัน
(ข) ใซการวัดไปตามแนวเส์นตรงไม่ต้องวัดเป็นมุมองศาฟิลิบดา
, . 4. ตามรูปข้างล่างนี้แสดงให้ทราบถึงการแบ่งแผนที่ด้วยเสันกริดโดยใช้ระบบ
จัตุรัสกริดกำหนดตำบลที่ตั้งต่าง ๆ แต่ละเส้นของระบบกรดมีหมายเลขกำกับไว้ หมายเลข
เหล่านี้ใช้สำหรับกำหนดที่ตั้งของจัตุรัสกริดนั้นโดยเฉพาะ

5. การวัดที่ใช้ระบบกริดอันนี้คือ การวัดเป็นแนวตรงหรอการวัดความยาวนั่นเอง
หน่วยในการวัดใช้เป็นเมตร ช่องว่างระหว่างเส้นกริดเรียกว่า ระยะกรด จะปรากf)อยู่'ใน
รายการของรายละเอียดขอบระวาง ซึ่งอยู่ตอนล่างขฺองแผนที่ทุกฉบับเรื่องข้อความเกยวกับ
เส้นกริด เช่น พิมพ์ไว้ว่า “ เส้นที่กำกับไว้ด้วยเลขดำทุก ๆ า,000 เมตร เป็นเส้นกริดของ
ยูนิเวอร์ซัลทรานสเวิร์สเมอร์เคเตอร์โซนที่ 47 รูปโลกของเอเวอร์เรสท์ เลขตำแหน่งท้ายของ
กริดมิได้แสดงไว้

สำหรับแผนที่มาตราล่วนใหญ่โดยทั่วไประยะของกริดจะเท่ากับ 1,000 เมตร
6. ระบบกริดยูทีแม ใช้ทำแผนที่โลกระหว่างละติดูด 80° ใต้ถึง 84° เหนือ และ
เริ่มตั้งแต่เส้นลองจิรูด 180° ตะวันตก'ไปถึง 180° ตะวันออกจากเส้นลองจิลูดที่ 180° ตะวันตก
นี่เอง แบ่งเป็นโซน ๆ กว้าง 6° ไปจนถึง 180° ตะวันออก เป็นจำนวน 60 โซน มีหมายเลขกำกับ
ตั้งแต่โซนที่ 1 ถึงโชนที่ 60 ตามลำดับ

 

หมายเลขบันทึก: 546257เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2013 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 สิงหาคม 2013 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท