จริงหรือไม่...ปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญหรือว่าปัญหาอยู่ที่ผู้ใช้รัฐธรรมนูญ



คนอง วังฝายแก้ว
อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ วข.พะเยา
จริงหรือไม่...ปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญหรือว่าปัญหาอยู่ที่ผู้ใช้รัฐธรรมนูญ
ประเทศไทยตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2475 เป็นต้นมา มีการร่างรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้ไปแล้วจำนวน 18 ฉบับ ฉบับที่ 1 พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 และฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในระหว่าง พ.ศ. 2549–2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน กรุงเทพมหานคร มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก หน้า 1 ในวันเดียวกันนั้น และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
ปัญหาความขัดแย้งของนักการเมืองเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่สมาชิกสภาผู้แทนราษรฎรกำลังพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของที่มาวุฒิสภาในวาระที่ 2 ในการพิจารณามาตรา 3 เกี่ยวกับการบัญญัติให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้ง 200 คน การเลือกตั้ง ส.ว.ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ว.มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นได้ 1 คน ในกรณีที่จังหวัดมี ส.ว.ได้มากกว่า 1 คน ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้คะแนนสูงสุดเรียงตามลำดับจนครบจำนวน ส.ว.ที่จะพึงมีได้ในจังหวัดนั้น
ในแนวความคิดเห็นของผู้เขียนเห็นว่า การได้มาของวุฒิสภาจากการเลือกตั้งหรือได้มาจากการสรรหาส่วนหนึ่งนั้น มิใช่เป็นสูตรสำเร็จว่า จะได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมและจริยธรรมทั้งหมดทั้งสิ้นมาทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติที่มีประสิทธิภาพ แต่อยู่ที่บุคคลเหล่านั้นที่เข้ามาเป็นฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว มีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองหรือของประเทศชาติมากน้อยแค่ไหน มิใช่เข้ามาแล้วเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเองหรือพวกฟ้องน้องพี่ หรือเพื่อเป็นเกียรติต่อวงศ์ตระกูลเท่านั้น
เพราะฉะนั้นบุคคลที่จะเข้ามาอาสารับใช้ประชาชนไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือสรรหาก็ตาม บุคคลผู้นั้นจะต้องมีพฤติกรรมทางการเมืองที่ดีจะต้องประกอบไปด้วยคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งจะต้องประพฤติตน 2 ลักษณะควบคู่กัน กล่าวคือ
1) ประพฤติเป็นธรรม คือ มีความเที่ยงธรรม และยุติธรรม เช่น ประพฤติตามหลักของทศพิธราชธรรม อคติ พละ เป็นต้น
2) ประพฤติตามธรรม คือ การประพฤติตามธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน เช่น การปฏิบัติตามหลักกุศลกรรมบถ 10 พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 สังคหะวัตถุ 4 เป็นต้น
นอกจากดำรงตำแหน่งหรือเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองแล้ว ก็ต้องเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ เสียสละ อุทิศตนบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เหล่านี้ถือว่าเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง และปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งพระธรรมปิฏก (2541) ได้กล่าวไว้ในธรรมนูญชีวิตเกี่ยวกับ คนกับสังคม คนมีคุณแก่ส่วนรวม คนมีส่วนร่วมที่ดีของชุมชน และคนผู้นำรัฐ ดังนี้คือ
คนกับสังคม คนมีศีลธรรม หรือมีมนุษยธรรม ที่เรียกได้ว่าเป็นอารยชน มีธรรม
คือ คุณสมบัติดังนี้
ก. มีสุจริตทั้งสาม คือ มีความประพฤติดีประพฤติชอบ 3 ประการ
1) กายสุจริต ความสุจริตทางกาย ทำสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยกาย
2) วจีสุจริต ความสุจริตทางวาจา พูดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยวาจา
3) มโนสุจริต ความสุจริตทางใจ คิดสิ่งที่ดีงาม ประพฤติชอบด้วยใจ
ข. ประพฤติตามอารยธรรม โดยปฎิบัติถูกต้องตามทางแห่งกุศลกรรม 10 ประการ คือ
- ทางกาย 3
1) ละเว้นการฆ่า การสังหาร การบีบคั้นเบียดเบียน; มีเมตตากรุณา ช่วย
เหลือเกื้อกูลสงเคราะห์กัน
2) ละเว้นการแย่งชิงลักขโมย และการเอารัดเอาเปรียบ; เคารพสิทธิ์ใน
ทรัพย์สินของกันและกัน
3) ละเว้นการประพฤติผิดล่วงละเมิดในของรักของหวงแหนของผู้อื่น ไม่ข่ม
เหงจิตใจ ทำลายลบหลู่เกียรติและวงศ์ตระกูลของกัน
- ทางวาจา 4
4) ละเว้นการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง ; กล่าวแต่คำสัตย์ ไม่จงใจพูดให้
ผิดจากความจริงเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใดๆ
5) ละเว้นการพูดส่อเสียด ยุยง สร้างความแตกแยก; พูดแต่คำที่เหมาะ
สมส่งเสริมสามัคคี
6) ละเว้นการพูดคำหยาบคาย สกปรกเสียหาย; พูดแต่คำสุภาพนุ่มนวล ควรฟัง
7) ละเว้นการพูดเหลวไหลเพ้อเจ้อ ; พูดแต่คำจริง มีเหตุผล มีสาระ
ประโยชน์ ถูกกาลเทศะ
ดังนั้นกล่าวโดยสรุป รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศชาติตลอดมา แต่ละฉบับที่ผ่านมาก็มีการปรับปรุงแก้ไขไปตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและสังคม แต่การแก้ไขนั้นจะต้องยึดผลประโยชน์ของส่วนรวมหรือของประชาชนส่วนใหญ่มิใช่แก้ไขเพื่อบุคคลบางกลุ่มหรือกลุ่มบุคคลส่วนน้อยและแก้ไขเพื่อให้ได้นักการเมืองการปกครองที่ดีที่มีหลักของธรรมาภิบาล คือยึดถือความถูกต้อง ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสันติสุขให้กับสังคมโดยรวม

 

 

หมายเลขบันทึก: 546251เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2013 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 สิงหาคม 2013 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

โดยส่วนตัวผม ผมว่ารัฐธรรมนูญ มีปัญหาทั้ง ตัวกฎหมาย และผู้นำไปใช้

ตัวกฎหมายรัฐธรรมนูญบังมีช่องทางที่ให้คนอื่นทำผิดโดยไม่มีโทษได้ก็มี

หรือมีโทษแต่เป็นโทษสถานเบาสำหรับข้อหาหนักๆ เช่น การฆ่าคนตาย

การฆ่าข่มขืน พวกนี้จะจะประหารชีวิต สถานเดียวครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท