การประเมินผลการเรียนรู้


การประเมินผลการเรียนรู้

1. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง ๘ กลุ่ม

    1.วางแผนการสอนและการประเมินผล การประเมินผลประกอบด้วยการประเมินผลก่อนเรียน ระหว่างเรียนและปลายภาค
    2.เลือกวิธีการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับภาระงานหรือกิจกรรม ซึ่งมี วิธีประเมินผลหลายวิธี เช่น

        2.1. ประเมินด้วยการตอบคำถาม การสอบปากเปล่า การทำใบงาน และแบบ ฝึกทักษะ

        2.2. ประเมินจากการปฏิบัติ เช่น มอบหมายชิ้นงาน

        2.3. ประเมินตามสภาพจริง ประเมินจากงานหรือกิจกรรมที่ปฏิบัติจริง
        2.4. ประเมินจากแฟ้มสะสมงาน
        2.5. ประเมินจากการทดสอบ

    3.กำหนดอัตราส่วนคะแนนการประเมินระหว่างเรียนกับปลายภาค จะขึ้นอยู่กับลักษณะ ของเนื้อหาสาระรายวิชา ซึ่งอาจ          จะเป็น คะแนนระหว่างภาค : คะแนนปลายภาค = 8 : 2 , 7 : 3 , 6 : 4

    4.จัดทำเอกสารบันทึกข้อมูลของนักเรียน ผู้สอนต้องจัดทำเอกสารบันทึกข้อมูล ผลการวัดและประเมินผล ระหว่างเรียน            อย่างเป็นระบบชัดเจน เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในการพัฒนานักเรียน และเป็นหลักฐานตรวจสอบ แสดงถึง ความโปร่งใส          และความยุติธรรมในการประเมิน

       มีแนวในการดำเนินการดังนี้

ครูอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้วัดและประเมินผลตามจุดประสงค์ และ/หรือผลการเรียนรู้ที่ คาดหวัง แล้วนำผลการประเมินมาเป็นข้อมูลปรับปรุงหรือพัฒนาการเรียนการสอน ดังนั้นโรงเรียนจึงจัดให้มีการวัด และประเมินผลเป็น 1 ระยะ ดังนี้

1. การวัดและประเมินผลก่อนเรียน มีวิธีดังนี้

1.)การวัดและประเมินความพร้อมของนักเรียน การวัด และประเมินผลแบบนี้ เป็นการวัดและประเมินความรู้พื้นฐานเดิม ที่จะใช้เรียนเรื่องใหม่ เป็นการวัดก่อนเรียนเนื้อหาใหม่

2.)การวัดและประเมินผลความรอบรู้ในเรื่องที่จะเรียนก่อนเรียน เน้นการประเมินผู้เรียนในเรื่องที่จะทำ การสอน เพื่อตรวจสอบความรู้ทักษะของนักเรียน ในเรื่องที่จะเรียน ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลเบื้องต้นนำไปเปรียบเทียบผลการเรียนภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการ สอนแล้ว เพื่อดูการพัฒนาการเรียนรู้เพิ่มของนักเรียน

2. การวัดและประเมินผลระหว่างเรียน เป็นการวัด และประเมินผลที่มุ่งตรวจสอบพัฒนาการของนักเรียน ว่าบรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตามแผนการเรียนรู้หรือไม่ ผลการประเมินช่วยในการปรับปรุง แก้ไข และส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาสูงสุดตามศักยภาพ ทั้งยังช่วยในการปรับปรุงการเรียนการสอนอีกด้วย
3. การวัดและประเมินผลปลายภาค เป็นการประเมินผลเพื่อตรวจสอบความสำเร็จของผู้เรียน และ/หรือเป็นการประเมินผลหลังเรียน นำไปเปรียบเทียบกับการประเมินก่อนเรียน เพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ตรงตามที่คาดหวังหรือไม่ ผู้เรียนมีพัฒนาการมากน้อยเพียงไร
เมื่อวัดผลปลายภาค และนำคะแนนการประเมินทั้งหมดรวมกัน เพื่อสรุปผลการเรียนตลอดภาคเป็นผลสัมฤทธิ์ ของนักเรียนรายวิชา โดยมีเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน ดังนี้

ระดับผลการเรียน

ความหมาย

ช่วงคะแนนเป็นร้อยละ

4
3.5
3

2.5
2
1.5
1
0

ผลการเรียนดีมาก
ผลการเรียนเกือบดีมาก
ผลการเรียนดี
ผลการเรียนเกือบดี
ผลการเรียนปานกลาง
ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำระดับดี
ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ
ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

๘๐ - ๑๐๐
๗๕ - ๗๙
๗๐ - ๗๔
๖๕ - ๖๙
๖๐ - ๖๔
.๕๕ - ๕๙
.๕๐ - ๕๔
๐ - ๔๙

2. การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนสื่อความ

วิธีการประเมิน มีการประเมินผลเป็นรายภาค โดยจัดให้มีการประเมิน 2 ลักษณะ ดังนี้

1. ประเมินผลพร้อมกับการดำเนินการสอนให้นักเรียนโดยอาจารย์ผู้สอนทุกคน
2. ประเมินผลโดยอาจารย์ที่ปรึกษา
เกณฑ์การตัดสิน มีผลการประเมินเป็น 3 ระดับ ดังนี้

ดีเยี่ยม หมายถึง มีผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดมาก
ดี หมายถึง มีผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ผ่านเกณฑ์ หมายถึง มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด

3. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

วิธีการประเมิน มีการประเมินผลเป็นรายภาค โดยจัดให้มีการประเมิน 2 ลักษณะ ดังนี้

1. ประเมินพร้อมกับการดำเนินการสอนในห้องเรียนโดยอาจารย์ผู้สอนทุกคน
2. ประเมินผลโดยอาจารย์ที่ปรึกษา
เกณฑ์การตัดสิน มีผลการประเมินเป็น 3 ระดับดังนี้
ดีเยี่ยม หมายถึง มีพฤติกรรมอันพึงประสงค์สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดมาก
ดี หมายถึง มีพฤติกรรมอันพึงประสงค์สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ผ่านเกณฑ์ หมายถึง มีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด

4. การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

การให้ระดับผลการตัดสินการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้ผู้รับผิดชอบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้องรวมกันกำหนด โดยให้ระดับผลการประเมินเป็น "ผ" และ "มผ"
 หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาทั้งหมดที่จะจัดกิจกรรมของแต่ละภาคเรียน และผ่านจุดประสงค์สำคัญของกิจกรรมตามที่กำหนด
มผ หมายถึง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่ถึงร้อยละ 80 ของเวลาทั้งหมดที่จัดกิจกรรมของแต่ละภาคเรียน และไม่ผ่านจุดประสงค์สำคัญของกิจกรรมตามที่กำหนด

หมายเลขบันทึก: 545899เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2013 19:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2013 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท