การแก้ปัญหานักเรียนขาดทักษะการคิด


     จากการประชุมคณะครู ที่โรงเรียนบ้านโสกคลองเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้แต่ละคนนำเสนอเกี่ยวกับปัญหาที่ตนเองพบในชั้นเรียน ผลปรากฎว่า ปัญหาที่พบตรงกันคือ นักเรียนยังขาดทักษะกระบวนการคิด เมื่อครูใช้คำถามกระตุ้นให้คิด โดยส่วนมากแล้วจะให้คนที่เก่งคิดและเป็นคนตอบ ส่วนคนที่คิดว่าตัวเองเรียนไม่เก่งก็จะไม่คิดตาม และขาดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียนไป

     จากปัญหาที่พบจากข้างต้น ทุกคนช่วยกันระดมความคิดและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาหลายวิธี และสรุปได้ว่าจะลองนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้มาใช้กับนักเรียนเพื่อช่วยพัฒนาทักษะในด้านการคิดให้กับนักเรียน คือ การใช้โมเดลซิปปา

      โมเดลซิปปา (CIPPA Model) อ้างอิงจาก รศ.ดร.ทิศนา แขมณี เป็นรูปแบบการจัดการเีรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นการทำกิจกรรมกลุ่มฝึกทักษะให้ผู้เรียนได้คิด มีขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

        1. ขั้นการทบทวนความรู้เดิม   ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้ของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้มีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน

        2. ขั้นการแสวงหาความรู้ใหม่  ขั้นนี้เป็นขั้นการแสวงหาข้อมูล ความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนยังไม่มีจากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ใดๆ ซึ่งครูอาจเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่างๆเพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้ ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องเผชิญปัญหาและทำความเข้าใจกับปัญหาและทำความเข้าใจกับข้อมูล ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายประสบการณ์ใหม่ๆต่างๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆด้วยตนเอง เช่น การใช้กระบวนการคิด และกระบวนการอภิปรายในกลุ่มและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้นั้น

      3. ขั้นการศึกษาทำความเข้าใจข้อความรู้ใหม่เชื่อมโยงกับความรู้เดิม   ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อความรู้ใหม่ที่หามาได้ ผู้เรียนจะต้องสร้างควมหมายของข้อมูล ประสบการณ์ใหม่ๆโดยใช้กระบวนการด้วยตนเอง เช่น กระบวนการคิดและกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจ

      4. ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม   ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตน รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนเองแก่ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อมๆกัน

      5. ขั้นการสรุปและการจัดระเบียบความรู้   ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่และจัดสิ่งที่เรียนรู้ให้มีระบบระเบียบเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้จดจำสิ่งที่เรียนรู้ไดุ้

      6. ขั้นการแสดงผลงาน   ขั้นนี้เป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรุ้ด้วยตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนตอกย้ำหรือตรวจสอบ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น

        7. ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้   ขั้นนี้เป็นขั้นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำเอาความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชำนาญ ความเข้าใจ

         จากขั้นตอนที่กล่าวมาทั้งหมด ขณะนี้ทางโรงเรียนได้กำลังรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบนี้มาใช้ซึ่งได้ผลเป็นอย่างไร จะนำมานำเสนอต่อไป

 

 

หมายเลขบันทึก: 545847เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2013 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2013 11:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท