หมวดที่ 7 บทบาทหน้าที่ขององค์กรแพทย์ในการดำเนินงานคณะกรรมการชุดต่างๆ


หมวดที่ 7 บทบาทหน้าที่ขององค์กรแพทย์ในการดำเนินงานคณะกรรมการชุดต่างๆ

แพทย์ที่เป็นสมาชิกขององค์กรแพทย์จะต้องมีบทบาทหน้าที่ในฐานะตัวแทนขององค์กรแพทย์ในการบริหารงานของโรงพยาบาล โดยมีส่วนร่วมในการบริหารงานของคณะกรรมการ/ทีมนำด้านต่างๆดังนี้

1.คณะกรรมบริหารโรงพยาบาล ซึ่งทำหน้าที่เป็นทีมนำโรงพยาบาล (Steering Team) และเป็นคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาล โดยที่องค์กรแพทย์ต้องเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการบริหารงานของโรงพยาบาล โดยมีหน้าที่ดังนี้

1)กำหนดทิศทางนโยบายการพัฒนาคุณภาพทบทวนและประเมินทิศทางการพัฒนาสนับสนุนทรัพยากร และติดตามผลการพัฒนาของโรงพยาบาลเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยและผู้มารับบริการด้านสุขภาพ

2)กำหนดนโยบายและวางแผนการบริหารความเสี่ยงระดับโรงพยาบาลซึ่งประกอบด้วย การค้นหาความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยง และการประเมินผลของความเสี่ยงในภาพรวมเพื่อบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3)บริหารจัดการงานด้านต่างๆของโรงพยาบาลให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการและให้เกิดความเรียบร้อย เหมาะสมเป็นผลดีต่อโรงพยาบาล

2.คณะกรรมการเภสัชกรรม องค์กรแพทย์จะต้องเข้าไปมีบทบาทที่สำคัญในการบริหารเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาล โดยมีบทบาทดังนี้

1)กำหนดรายการเวชภัณฑ์และคุณภาพของเวชภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการให้บริการกับผู้ป่วยของโรงพยาบาล

2)ประเมิน ควบคุมและตรวจสอบการบริหารเวชภัณฑ์ให้มีปริมาณที่เหมาะสมในการให้บริการกับผู้ป่วย

3.คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ องค์กรแพทย์จะต้องให้ความเอาใจใส่ในเรื่องการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อเป็นอย่างมาก ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วย โดยต้องเข้าไปมีบทบาทดังนี้

1)กำหนดนโยบาย กลวิธี มาตรการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล

2)กำหนดแนวทางการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลครอบคลุมการเฝ้าระวังโรค งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ และงานสอบสวนการระบาดทางการติดเชื้อ

3)วางแผนการพัฒนาและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกัน และควบคุมการติดเชื้อ

4)ประเมินผลการดำเนินงานและการปฏิบัติตามนโยบาย

4.คณะกรรมการเวชระเบียน องค์กรแพทย์จะต้องให้ความสำคัญในเรื่องเวชระเบียนเพราะเป็นหลักฐานสำคัญในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโดยมีบทบาทดังนี้

1)ออกแบบระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม

2)กำหนดมาตรฐาน และนโยบายสำหรับเวชระเบียนผู้ป่วย

3)เชื่อมโยงข้อมูลและสารสนเทศเพื่อใช้การบริหารการดูแลผู้ป่วยและการพัฒนาคุณภาพ

4)จัดระบบบริการเวชระเบียน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและผู้ให้บริการ

5)นำแบบฟอร์มใหม่เข้ามาใช้หรือเปลี่ยนแปลงแบบฟอร์มเดิม

6)วิเคราะห์ความครบถ้วนสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียนและคุณภาพของการบันทึกรหัส

5.ทีมนำสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพ ซึ่งองค์กรแพทย์จะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดบทบาทการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรดังนี้

1)กระตุ้น ติดตาม สนับสนุน ให้คำปรึกษา แนะนำ และประเมินการพัฒนาคุณภาพของหน่วยงานต่างๆ ในโรงพยาบาล

2)รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในการพัฒนาของโรงพยาบาลบ้านเขว้าเสนอต่อคณะกรรมการบริหารของโรงพยาบาล

3)ประสานกิจกรรมคุณภาพต่างๆ ของโรงพยาบาลบ้านเขว้า

6.ทีมนำด้านคลินิก ซึ่งองค์กรแพทย์จะต้องมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการดูแลรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพดังนี้

1)วางแผนในการกำหนดแนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วย (Clinical Practical Guideline) ของทีมสหวิชาชีพ

2)ประสานความร่วมมือของทีมสุขภาพในการดูแลรักษาพยาบาล (Coolaborative Practice) เพื่อให้เกิดการดูแลรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพซึ่งประกอบด้วย การวิเคราะห์สถานการณ์ในการดูแลรักษาพยาบาล การเตรียมการ ในการรักษาพยาบาล การดำเนินการรักษาพยาบาล

3)ดูแลติดตามควบคุมกำกับการรักษาพยาบาลของทีมสุขภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพที่กำหนดไว้

4)ประเมินผลด้านการรักษาพยาบาลของทีมสุขภาพให้ได้มาตรฐานวิชาชีพ

5)ดำเนินการค้นหา วิเคราะห์ บริหารจัดการ และประเมินผลความเสี่ยงทางการแพทย์

7.ทีมนำด้านระบบ โดยที่องค์กรแพทย์ต้องมีบทบาทที่สำคัญในการจัดวางระบบบริการผู้ป่วยดังนี้

1)กำหนดนโยบายแนวทางการดำเนินงานด้านระบบบริการต่างๆของโรงพยาบาลบ้านเขว้า

2)สำรวจและค้นหาความต้องการของลูกค้าเพื่อมาจัดทำแผนในการพัฒนาคุณภาพ

3)ค้นหาโอกาสพัฒนาในด้านบริการและนำมาวิเคราะห์ประเมินเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

4)นำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขระบบเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5)ควบคุม ติดตามกำกับและดูแลระบบให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ตั้งเอาไว้

6)ประเมินผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริหารของโรงพยาบาลรับทราบและดำเนินการแก้ไขต่อไป

8.ทีมนำด้านชุมชนเชิงรุก องค์กรแพทย์จะต้องมีบทบาทในเชิงรุกโดยการส่งเสริมสุขภาพแข็งแรง และป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในชุมชน โดยจะต้องมีส่วนร่วมดังนี้

1)กำหนดนโยบายแนวทางในการดำเนินงานด้านชุมชนต่างๆของโรงพยาบาลบ้านเขว้า

2)สำรวจและค้นหาความต้องการของลูกค้าของชุมชนเพื่อมาจัดทำแผนในการพัฒนาคุณภาพ

3)ค้นหาโอกาสพัฒนาในด้านชุมชนและนำมาวิเคราะห์ประเมินเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

4)นำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขระบบเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5)ควบคุม ติดตามกำกับและดูแลระบบให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ตั้งเอาไว้

6)ประเมินผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริหารของโรงพยาบาลรับทราบและดำเนินการแก้ไขต่อไป

9.ทีมบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล องค์กรแพทย์จะต้องเข้าไปมีบทบาทที่สำคัญในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรต่างๆ ของโรงพยาบาลเพื่อทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1)วางแผนทรัพยากรบุคคลระดับโรงพยาบาลให้สอดคล้องกับพันธกิจ แผนยุทธศาสตร์ โครงสร้างและทรัพยากรของโรงพยาบาล

2)กำหนดให้มีกระบวนการสรรหาและคัดเลือกเจ้าหน้าที่ให้มีคุณสมบัติเป็นไปตาที่กำหนด

3)จัดให้มีกิจกรรมการพัฒนาบุคลากร เจ้าหน้าที่ทุกระดับของของโรงพยาบาลให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน การเพิ่มพูนความรู้และทักษะ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้ย่างมีคุณภาพระหว่างประจำการอย่างสม่ำเสมอ

4)กำหนดกลไกส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่มีการประกอบวิชาชีพที่ได้มาตรฐานและธำรงไว้ซึ่งจริยธรรมแหงวิชาชีพ

10.ที่ปรึกษาของหน่วยงานต่างๆ องค์กรแพทย์จะต้องมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาหรือมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของหน่วยงานย่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วยดังนี้

1)วางแผนทรัพยากรบุคคลระดับหน่วยงานให้สอดคล้องกับพันธกิจ แผนยุทธศาสตร์ โครงสร้างและทรัพยากรของโรงพยาบาล

2) จัดให้มีกิจกรรมการพัฒนาบุคคลกร เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานการเพิ่มพูนความรู้และทักษะ

หมายเลขบันทึก: 545811เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2013 01:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2013 01:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท