deawche
เดี่ยวเช คมสัน deawche หน่อคำ

อย่าให้จังหวัดแพร่แค่ทางผ่านความเจริญ


อย่าให้จังหวัดแพร่แค่ทางผ่านความเจริญโดย คมสัน   หน่อคำ

ปี พ.ศ.2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนร่วมกับอีก 10 ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ทำให้เหมือนกับเป็นประเทศเดียวกันมากขึ้น ประชากรของประเทศสมาชิกจะไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวกและง่ายดายขึ้นไม่ต้องมีวีซ่า และไม่ต้องผ่านการตรวจอย่างเข้มงวด คือมีสภาพคล้ายๆ กับเป็นกลุ่มประเทศเดียวกัน โดยไม่ได้สูญเสีย ความเป็นเอกราช และอธิปไตยของตนไป  ดินแดนของใครเป็นอยู่อย่างไรก็ยังคงเป็นอยู่อย่างนั้นประเทศสมาชิกอาเซียนจะทำมาค้าขายกันอย่างสะดวกมากขึ้น ไม่มีการจัดเก็บภาษีข้ามแดน หรือที่เรียกว่าภาษีศุลกากรระหว่างกัน นั่นคือในการส่งสินค้าข้ามแดนจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง จะไม่ต้องเสียภาษีศุลกากรหรือเสียในอัตราศูนย์ แต่อาจมีการตรวจสอบคุณภาพหรือคุณสมบัติบางอย่างของสินค้า จะมีความสะดวกสบายในเรื่อง การพกพาหรือการโอนเงินระหว่างประเทศหนึ่งไปยัง อีกประเทศหนึ่งได้ง่ายดายขึ้นกว่าแต่ก่อน

                สำหรับจังหวัดแพร่นั้นเป็นหนึ่งจังหวัดของประเทศไทยที่ประชาคมอาเซียนจะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก เพราะเป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศติดต่อกับจังหวัดอื่นๆถึง 5 จังหวัด คือ พะเยา,น่าน,อุตรดิตถ์,ลำปางและสุโขทัย ซึ่งก็คือประตูสู่ลานนาตอนบนที่สามารถเชื่อมต่อกับจังหวัดเชียงรายที่เป็นเมืองท่าทางการขนส่งกับประเทศลาว,พม่าและสามารถเชื่อมต่อประเทศจีนและเวียดนาม ทำให้จังหวัดแพร่เป็นเส้นทางผ่านที่สำคัญทางทางถนนและระบบรางโดยรถไฟรางคู่  นับว่าเป็นโอกาสสำคัญชาวแพร่ที่จะต้องเกาะกระแสและดึงงบประมาณมาพัฒนาจังหวัดให้ความเจริญเป็นหัวเมืองทางเศรษฐกิจเพื่อแข่งขันกับหัวเมืองใหญ่ตามภูมิภาคของไทย ซึ่งในระยะเวลา 2-3 ปีนี้มีการโครงการก่อสร้างรองรับความเจริญที่มาพร้อมประชาคมอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นการขยายสนามบินให้สามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่สำหรับการขนส่งและลำเรียงสินค้าในปริมาณมากๆ ,โครงการรถไฟรางคู่,ศูนย์โลจิสติกส์เพื่อการขนส่งให้รองรับการเปลี่ยนถ่ายสินค้า ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนทางด้านเศรษฐกิจของจังหวัดให้ดีขึ้น ทำให้ห้างสรรพสินค้าชื่อดังขนาดใหญ่เข้ามาลงทุนหลายแห่งในจังหวัดเห็นได้จากข่าวการเปิดตัวตามหน้าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น นั้นหมายความว่าจังหวัดแพร่มีศักยภาพเพียงพอคุ้มค่าต่อการลงทุนในระยะยาว  ทำให้ประชาชนต้องตื่นตัวและทำความเข้าใจในระบบการแข่งขันเสรีของประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้นกี่ไม่นาน ดังนั้นแผนพัฒนาจังหวัดจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะเป็นตัวชี้วัดและเป็นแนวทางแก่คนแพร่หรือนักธุรกิจที่จะเข้ามาลงทุน อย่างเช่น ช่วงที่ผ่านมาทางจังหวัดได้เดินหน้าแผนท่องเที่ยวไปบางส่วนแล้วโดยนำเอาวัฒนธรรมความเป็นอยู่ในรูปพื้นบ้านและสถาปัตยกรรมล้านนาโบราณผสมต่างชาติ นำขึ้นมาเน้นเพื่อเป็นจุดขาย ด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่าเมืองเชียงใหม่ โดยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ไม้สักทองของขึ้นชื่อประจำจังหวัดให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น จากการร่วมมือกันของหน่วยงานรัฐฯ,ภาคเอกชนและประชาชน ที่เริ่มปรากฏผลให้ประจักรแก่สายตาผู้คนบางแล้ว สำหรับโครงการด้านศึกษาเด็กแพร่โชคดีมากที่อดีตรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ท่านวรวัจน์   เอื้ออภิญญากุล ได้นำโครงการที่ดีมาสู่จังหวัดแพร่มากมาย เช่นศูนย์การศึกษาทางวิทยาศาสตร์มาก่อสร้างในพื้นที่จังหวัดแพร่ ที่จะทำการสอนตั้งแต่ระดับประถมถึงปริญญาเอกรวมถึงการค้นคว้าวิจัยต่างๆที่ของกระทรวงวิทย์ฯที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้มีการนำเอางบประมาณมาใช้จ่ายกับระบบเศรษฐกิจอีกทาง   

                จากสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน (เดือนสิงหาคม พ.ศ.2556)ทำให้มองเห็นภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงของจังหวัดแพร่และทิศทางในด้านต่างๆจากเคยเป็นเมืองผ่านไปยังจังหวัดอื่น ทำให้ชาวแพร่ต้องตื่นตัวแข่งขันและยกระดับความโดดเด่นจากทรัพยากรที่มีของจังหวัด ภูมิประเทศที่เป็นเมืองศูนย์กลาง สาธารณูปโภคสำคัญจากการลงทุนของภาครัฐ และที่สำคัญการรักษาความวิถีชีวิตเป็นอยู่ที่ควรพัฒนาพร้อมความเจริญทางวัตถุยังคงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง บางสิ่งเราสามารถทำควบคู่กันกับการอนุรักษ์ แต่ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติเข้าหากันเปิดรับและทำความเข้าใจให้มากขึ้น ยอมรับ-รับฟัง  หากเรามัวขัดแย้งหรือมองเพียงผลประโยชน์ส่วนตนเล็กน้อยแล้ว จากเมืองแพร่ศูนย์กลางประตูสู่ล้านนาจะกลายเป็น “เมืองแพร่เมืองทางผ่านความเจริญ”

 

 

หมายเลขบันทึก: 545476เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2013 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 สิงหาคม 2013 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท