ลุงเหมย
ข้าราชการครูบำนาญ นายชุมพล บุญเหมย

การฝึกจิต ตอนที่ ๔


กราบท่านกัลยาณธรรมและรัตนมิตรที่เคารพของอี่ตาลุงหมยทุกท่าน...ขอเดาจิตของทุกท่านว่าเข้าวันนี้อารมณ์ขุ่นมัวกันหรือเปล่า...อย่าตอบนะว่า..สบายดี แจ่มใสดี และอะไรต่ออะไรก็ดีหมด...อีตาลุงไม่เชื่อ พราะอะไรหรือ ? เพราะสายตาไปเห็นสื่อดดยมีอมุษย์ผู้หนึ่งนุ่งผ้าสีเหลืองจับสุนัขฟาดกับบันไดไป ๒ ที และมันก็ไม่หนีไปไหน (จิตใจของมันคงให้อภัยแก่คนที่ทำร้ายมัน) ดูแล้วเกิดความหดหู่ เสียดายข้าวและกับข้าวที่เอาใส่ในบาตรให้มันฉันทุกวัน รู้งี้เอาให้น้องสี่เท้ากินก็ดี เพราะน้องสี่เท้าเวลานอนจะเอาหูแนบกับแม่พระธรณื คอยระวังภัยให้เจ้าของ ส่วนเจ้าของนอนหลับ จิตว่างไม่ได้ยินดียินร้าย ยินสรรพสำเนียงต่าง ๆ พระคุณของน้องสี่เท้ามีมากเหลือล้น ไม่งั้นองค์เหนือหัวจะสร้างอนุสาวรีย์ให้น้องเขาหรือ ( น้องย่าเหลไง นึกออกหรือยัง )...เอาละที่พูดมานี้คือจิตของเราที่ยังมีกิเลสอยู่ เราไม่ปล่อยวาง ทีนี้เราเอาปัญญาที่เรามีอยู่นั้นมารวมกับโลกิยก็เป็น โลกิยปัญญา ซึ่งเป็นปัญญาที่เราได้เรียนรู้และบางครั้งก็ลอกเลียนแบบเขามา เป็นปัญญาเพื่อหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเท่านั้น ความรู้ที่ได้จากการได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน ไม่ใช่นิกคิดเอาเองเรานี้ เรียกว่า สุตมยปัญญา ส่วนปัญญาที่เกิดจากการใคร่ครวญ ตริตรอง  พิจารณาอย่างละะเอียดถี่ถ้วนก็เป็น จินตามยปัญญา..ดังนั้นก็สรุปเอาเป็นว่า โลกียปัญญา เป็นปัญญาที่เอาชีวิตรอด ส่วนโลกุตตรปัญญา เป็นปัญญาที่เอาจิตรอด

ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งสามอย่างนี้เมื่อเกิดขึ้น ณ จุดใดก็มักจะมีบริวารตามติดกันมาอีก  ๘   คือ..มรรคมีองค์ ๘  รายละเอียดก็คือ การฆ่าสัตว์สิ่งที่เราเรียกว่า ศีล  ได้แก่
๑.  เจรจาชอบ คือเว้นจากวจีทุจริต ๔ อันได้แก่
          - มุสาวาทาวิรตี เว้นจากการพูดเท็จ
          - ปิสฺณาวาจาวิรตี เว้นจากการพูดส่อเสียด
          - ผุรุสวาจา เว้นจากการพูดคำหยาบ
          - สัมผัปปลาปวิรตี เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๒.  ทำการงานชอบ คือเว้นจากกายทุจริต ๓ ได้แก่
          -  การฆ่าสัตว์ 
          -  การลักทรัพย์
          -  การประพฤติผิดในกาม
๓.   เลี้ยงชีวิตชอบ ( ซึ่งตรงข้ามกับการเลี้ยงชีวิตมิชอบ ไม่ต้องมีคำอธิบายแล้วนะ )

ต่อไปก็เป็นฝ่ายของ สมาธิ ได้แก่
๑.   ทำความเพียรชอบ คือเพียรใน ๔ สถาน ได้แก่
            -  เพียรละบาปที่มีอยู่แล้วให้หมดไป " ประหารประทาน "
            -  เพียรป้องกันบาปที่ยังไม่เกิดอย่าให้เกิดขึ้น " สังวรประทาน "
            -  เพียรสงวนรักษาบุญกุศลที่มีอยู่ให้มีต่อไป " อนุรักขนาประทาน "
            -  เพีบรประกอบในบุญกุศลที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น " ภาวนาประทาน "
๒.   ระลึกชอบ  คือ  ระลึกในสติปัฏฐาน ๔ อันได้แก่
            -  การพิจารณาในรูปกาย
            -  การพิจารณาในรูปเวทนา
            -  การพิจารณาในรูปจืต
            -  การพิจารณาในรูปธรรม
        พูดกันง่าย ๆ เพื่อให้เข้าใจง่าย สติปัฏฐาน ๔ ก็คือ ทางสายกลาง นั่นเอง ซึ่งบุคคลใดตั้งใจปฏิบัติจริง ๆ แล้วย่อมบรรลุ มรรค - ผล - นิพพาน (เรื่องจริง) แล้วถามว่าลุงเหมยล่ะ ทำได้หรือเปล่า ตอบได้เลยว่า..ยังทำไม่ได้ครับ เพราะอะไรหรือ ก็ยังมีกิลสอยู่ไง ทำไมไม่ขจัดมันออกไปล่ะ ก็ทำแล้วครับ ทำทุกวัน แต่ก็ไม่หมดสักที เพราะเรายังมีกรรมอยู่ ต้องชดใช้กรรม....เอ้าคุยต่อ.....
.  
ตั้งใจไว้ชอบ  คือ  เจริญฌาณทั้ง  ๔  (มีอยู่ ๒ องค์ ได้แก่ อุเบกขา และ เอกัคคตา มีรูปเป็นอารมณ์ หมายถึงสิ่งที่เป็นกรรมฐาน หรือเป็นที่ตั้งแห่งจิต สรุปเอาเป็นว่าให้หมั่นทำสมาธิจิตนั่นเอง ว่างั้นเถอะ พูดเข้าลึกไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็พาลไม่เข้าใจ ลุงเหมยก็จะได้รับคำชม( .....) อีกละ ทีนี้ก็ไม่มีใครเข้ามาอ่านกันแล้ว เพราะมันยุ่ง ศัพท์แสงก็เยอะ.....ว่าไหมล่ะ...เอาละเกือบสหมดแล้ว มรรคมีองค์ ๘....

ต่อไปก็คือฝ่ายของปัญญา ได้แก่

๑.   ปัญญาอันเห็นชอบ คือ อริยสัจ  ๔  นั่นเอง ( มีอะไรบ้างนั้นไม่ต้องเอ่ยถึงเพราะคุณท่านคงทราบกันทุกคนแล้วนะ )
๒.  
ดำริชอบ  คือ  ดำริจะออกจากกาม ๑ , ดำริในอันไม่พยาบาท ๑ , ดำริในอันไม่เบียดเบียน ๑

อะไรนะ...ทำปากขมุบขมิบอะไรกัน....เอ้างั้นอีตาลุงเหมยก็ขอยุติลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อนละกัน  วันต่อไปค่อยมาคุยกันต่อ...ว่าแต่ว่าจิตใจคงไม่ลืมภาพที่ไอ้หัวโล้นจับเจ้า ๔ ขาฟาดกับบันไดได้เลย..แต่ก็จะพยายามลืม  ลืม  ลืม  ละ  ละ  วาง  ปลง...กราบเท้าท่านกัลยาณธรรมทุกท่าน และท่านรัตนมิตรทุกคน...จงเจริญ และตั้งมั่นในธรรมทุกท่านทุกคน  เทอญ....

 


        


          




          


หมายเลขบันทึก: 544424เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2013 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 สิงหาคม 2013 12:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

..ชอบค่ะ..มีอีกไหม..(ยายธี)

เป็นบันทึกที่ดีแล้ว...งามแล้ว...สา..ธุ !

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท