เตรียมตัวเกษียณอย่างไรให้เป็นสุข


การเตรียมตัวเกษียณ
เมื่อปลายเดือนกันยายน ที่ผ่านมาเราได้จัดงานเตรียมตัวเกษียณอย่างไรให้เป็นสุข โดยช่วงเช้าเชิญคนที่เคยเกษียณไปแล้ว ให้มาเล่าประสบการณ์ให้ฟังว่าเขามีการเตรียมตัวกันอย่างไรบ้าง โดยให้จิตแพทย์ที่โรงพยาบาลเป็นผู้ดำเนินการ ก็คือคุณหมอเจนศักดิ์ พนิตอังกูร ส่วนผู้ที่เกษียณไปแล้วที่เราเชิญมาพูด ก็มีตั้งแต่ระดับ อดีตนายแพทย์ สสจ. จังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ  นายแพทย์ประยูร  คงวิเชียรวัฒนะ อายุ 77 ปี หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล คือ นางพงษ์ศิริ ประมูลวิชาเพิ่ม อายุ 76 ปี และหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม คือ นายกิติ ฉายศิริกุล อายุ 63 ปี รายนี้พึ่งเกษียณไปเมื่อปีที่แล้วนี่เอง วันนั้นก็ได้ความรู้ และสาระมากมาย เลย พอจะสรุปเล่าให้ฟังได้ ดังนี้  สิ่งที่ผู้เกษียณ ต้องประสบคือ 3 จ. คือ
  1. จ จิตใจ
  2. จ เจ็บ
  3. จ จน
จ จิตใจนั้น            อาจารย์หมอประยูร บอกว่า การเกษียณไม่ใช่การจบ แต่เป็นการเริ่มต้น แต่ละคนอาจตั้งเป้าไม่เหมือนกัน เช่น บางคนอาจตั้งเป้าว่าจะเขียนหนังสือ มีการใช้ธรรมะ เรื่องการไม่ยึดติดทั้งทรัพย์ อำนาจ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และกิเลสต่าง ๆ ท่านเตือนให้เราอย่ายึดติด ให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลง      คุณป้าพงษ์ศิริ บอก เคล็ดลับในการดูแลจิตใจ ดังนี้1.      การดูแลตนเองตามศักยภาพ2.      ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ว่าเป็นสัจธรรม3.      คิดเชิงบวก ว่าการเกษียณ เหมือนการได้พัก4.      การใช้ธรรมะ มาช่วยในจิตใจ5.      การเข้าสังคม เช่นชมรมต่าง ๆ หลังเกษียณ6.      ยึดวินัยที่ดีของข้าราชการ 7.   อย่ากังวล เรื่องข้างหน้า ถ้ากังวลมากให้ทำความดีมาก ๆ                   ส่วนน้ากิติ บอกว่า  -          ต้องเตรียมตัวแต่เนิ่น ๆ -          การเตรียมตัวของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน เช่นการเตรียมการทำธุรกรรมต่าง ๆ -          การดูแลตนเอง active ตัวเอง -          มุมมองเชิงบวก ให้เราคิดว่าเป็นวันที่เราจะโล่ง สิ่งที่หายไปเป็นภาระ ไม่ใช่เป็นการสูญเสีย ชีวิตจะสงบขึ้นเยอะ-          การเข้าสังคม -          การออกกำลังกายจ ตัวที่สองคือ จ เจ็บอาจารย์หมอประยูร บอกว่า สุขภาพกาย ไม่สามารถแยกจากจิตได้ -          ให้เริ่มต้นที่ใจ คือให้ยอมรับว่าเป็นความเสื่อมของร่างกาย -          เราต้องปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาวะของการเปลี่ยนแปลงมองเป็นบวก ปรับตัวให้เหมาะกับสภาวะของตัวเอง ดูโทรทัศน์ ไม่ได้ก็เปลี่ยนไปอ่านหนังสือพิมพ์ -          แน่วแน่ในทางธรรม ชื่นฉ่ำกับชีวิต สถิตเหนือความตายคุณป้าพงษ์ศิริ  บอกว่า 1.      ต้องรู้ข้อจำกัดของตนเอง2.      ออกกำลังกาย3.      ฝึกสมาธิ4.      พยายามตรวจสุขภาพ เช่น ความดันโลหิต5.      ถ้าเป็นแล้ว ต้องยอมรับว่าป่วย ไปหาหมอ มองเชิงบวก เหมือนที่ป้าพงษ์ศิริ บอกว่า ดีนะที่รู้ว่าเป็นเก๊าท์ เร็ว ดีนะที่เป็นนิ้วเดียวส่วนน้ากิติ แนะนำว่า1.      การตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะมะเร็ง2.      เริ่มที่ใจ ให้ยอมรับความเสื่อมเป็นเรื่องธรรมดา3.      ทำตัวให้ active ตามข้อจำกัดของอายุ ต้องเจียม4.      อาหาร / อากาศ / น้ำ / การขับถ่าย / ออกกำลังกาย โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญเคยให้คำแนะนำเรื่องการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ควรเดินเร็ว ๆ ประมาณ 30 45 นาทีจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด กรณีที่ไม่มีปัญหาอะไรจ. ตัวสุดท้าย ก็คือ จ จน อาจารย์นายแพทย์ประยูร บอกว่า    กำไร ขาดทุน เราอย่าตัดข้างใด ข้างหนึ่ง อย่าชอบรวย เกลียดจน เพราะกำไร และขาดทุน มีศักดิ์ศรีด้วยกันทั้งคู่ เหมือนเศรษฐกิจพอเพียง ทางธรรม มีคาถาเศรษฐี คือ-          รู้จักหา คือหาให้ถูกต้อง โดยสุจริต-          รู้จักใช้ -          เก็บรักษาให้เป็น ใช้ให้คุ้มค่า-          อย่าคบความชั่วของคน ป้าพงษ์ศิริ บอกว่า  อย่าให้คนอื่นยืมเงิน อย่ามอบหมายของให้ลูกหลาน ให้ทำพินัยกรรมเอาไว้ ให้เป็นเหมือนขอนไม้ที่ยังมีเห็ด คนก็อยากมาเกาะ เปรียบเหมือนเรายังมีเงินทอง คนก็จะมาหา แต่ถ้าเราไม่มีอะไรเลย ก็ไม่มีใครสนใจ ส่วนน้ากิติ แนะนำว่า คนที่เป็นข้าราชการบำนาญ เงินได้เท่านั้นตลอดไม่มีเพิ่มแล้ว เพราะฉะนั้นต้องใช้ให้คุ้มค่า รู้จักกินอาหารที่มีประโยชน์ ถ้ามีคนเชิญไปพูดที่ไหน ก็ต้องรับไว้ก่อน ตอนนี้ตนเองก็ทำธุรกิจร้านอาหาร และจะขายที่     และจบท้ายการพูดคุยวันนั้น ด้วยข้อความของหมอเจนศักดิ์ ที่ได้จากหลาย ๆ คนเขียนกันมาว่าการเกษียณอายุเหมือนการเปลี่ยนแปลงบทบาทใหม่ เมื่อมองให้ดีเราจะพบว่า เราจะฉลาดขึ้น อายุมากขึ้นไม่ได้หมายความว่าความรู้จะถดถอย นักวิชาการหลายท่านเขียนเรื่องที่เป็นประโยชน์ ในช่วงหลังของชีวิต Sigmund Freud เขียน เรื่องการแปลฝัน เมื่อท่านอายุ 50 ปี หากเราค้นคว้าต่อไป ให้เวลากับตัวเองให้พอเพียง ท่านจะแปลกใจว่า ท่านยังจำได้ดี เราจะเข้มแข็งขึ้น ต่อสู้กับปัญหาได้ดีกว่าเดิม เพราะเราเคยผ่านปัญหามาแล้วทุกอย่าง เคยถูกเอาเปรียบ ถูกแกล้ง เคยสูญเสียของรักหรือคนที่เรารักมาแล้ว เรายังอยู่ได้อย่างดี เราสามารถสู้ได้ เพราะเราอดทนได้ เราจะมั่นใจมากขึ้น เราจะมีความรักมั่นคงลึกซึ้ง เพราะเราได้ผ่านความสัมพันธ์กับผู้คนมาอย่างหลากหลาย เรามีความรู้สึกเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ความคิดจะแจ่มแจ้งว่าเราคิดอะไร อะไรที่เราชอบ และเราไม่ชอบ เรารู้ตัวว่าเราคือใคร หากคนอื่นจะดูแคลนก็คงเป็นปัญหาของเขา ไม่ใช่ของเรา เราจะเข้าใจและเห็นใจคนอื่นมากขึ้น เรามองโลกกว้างขึ้น มีอิสระมากขึ้น และเรามีเวลาส่วนตัวที่จะทำอะไรที่เราชอบมากขึ้น และท้ายที่สุด การได้เห็นโลกมามาก เข้าใจตนเองมากขึ้น ความผิดพลาดในอดีต จะสอนให้มีปัญญาสูงขึ้น คุณธรรมจะสูงขึ้น และเราจะมีจิตใจที่เป็นสุขมากขึ้น และเป็นเรื่องปกติที่คนเราจะมีอายุมากขึ้น แต่มันก็เป็นศิลปะของการใช้ชีวิตที่เราสามารถเลือกที่จะทำให้ชีวิตมีความสุขได้ ขอให้ผู้ที่จะเกษียณ ได้ก้าวเข้าสู่วัยนี้ด้วยจิตใจที่เป็นสุข ทุกท่านครับ       วันนั้นเราในฐานะของคนจัดก็รู้สึกประทับใจในบรรยากาศของการเรียนรู้ เพราะได้เรียนรู้อะไรมากมาย และก็มีหลายคนบอกว่าอยากให้จัดแบบนี้อีกทุก ๆ ปี ฟังแบบนี้ก็หายเหนื่อยเลยล่ะ
หมายเลขบันทึก: 54431เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2006 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท