พระธรรมโกศาจารย์ (ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ อุปสัมปทา)


พระธรรมโกศาจารย์ (ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ อุปสัมปทา)

๑. กำเนิดแห่งชีวิต

ท่าน อาจารย์พุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้า ที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้องสองคน เป็นชายชื่อยี่เก้ย และเป็นหญิงชื่อกิมซ้อย บิดาของท่านมีเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพหลักคือ การค้าขายของชำ เฉกเช่น ที่ชาวจีนนิยมทำกันทั่วไป แต่อิทธิพลที่ท่านได้รับจากบิดา กลับเป็นเรื่องของความสามารถทางด้านกวี และทางด้านช่างไม้

                                                                    


ส่วนอิทธิพลที่ได้รับจากมารดา คือ ความสนใจ ในการศึกษาธรรมะ อย่างลึกซึ้ง อุปนิสัยที่เน้น เรื่องความประหยัดเรื่อง ละเอียดละออในการ ใช้จ่ายและการทำทุกสิ่งให้ดีที่สุด และต้องทำ ให้ดีกว่าครูเสมอ ท่านได้เรียนหนังสือเพียงแค่ ชั้น ม.๓ แล้วต้องออกมาค้าขาย แทนบิดาซึ่ง เสียชีวิต

    ครั้น อายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้บวชเป็นพระ ตามคตินิยมของ ชายไทยที่วัดโพธาราม ไชยา ได้รับฉายาว่า"อินทปัญโญ"  แปลว่า ผู้มีปัญญา อันยิ่งใหญ่ เดิมท่านตั้งใจจะบวชเรียน  ตามประเพณี เพียง ๓ เดือน แต่ ความสนใจ ความซาบซึ้ง  ความรู้สึกเป็นสุข และสนุกในการศึกษาและเทศน์แสดง ธรรม ทำให้ท่านไม่อยากสึก เล่ากันว่า เจ้าคณะอำเภอ เคย ถามท่าน ขณะที่ เป็นพระเงื่อม ว่ามีความคิดเห็นอย่างไร ในการใช้ชีวิตท่านตอบว่า "ผมคิดว่าจะใช้ชีวิตให้เป็น ประโยชน์ แก่เพื่อนมนุษย์ ให้มากที่สุด"  "..แต่ถ้ายี่เก้ย จะบวช ผมก็ต้องสึกออกไป อยู่บ้านค้าขาย"  ท่านเจ้าคณะอำเภอ ก็เลยไปคุยกับโยมแม่ของท่านว่า ท่าน ควรจะอยู่เป็นพระต่อไป ส่วนยี่เก้ย น้องชายของท่านนั้นไม่ต้องบวชก็ได้เพราะมี ชีวิตเหมือนพระอยู่แล้ว คือเป็นคนมักน้อย สันโดษ การกินอยู่ก็เรียบง่าย ตัดผมสั้น เกรียน ตลอดเวลา นายยี่เก้ย ก็เลยไม่ได้บวช ให้พี่ชาย บวช แทน มาตลอด

                                                                   

นาย ยี่เก้ย ต่อมาก็คือ "ท่านธรรมทาส" ฆราวาสผู้เป็นกำลังหลักของคณะ ธรรมทาน ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของสวนโมกขพลาราม

๒ อุดมคติแห่งชีวิต

พระเงื่อมได้เดินทางมาศึกษาธรรมะต่อ ที่กรุงเทพฯ สอบได้  นักธรรมเอกแล้วเรียนภาษาบาลีจนสอบได้เปรียญ๓ ประโยค  ระหว่างที่เรียน เปรียญธรรม๔ อยู่นั้น ด้วยความที่ท่านเป็นคน รักการศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และศึกษาค้นคว้าออก ไปจากตำรา ถึงเรื่องการปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศ ศรีลังกา อินเดีย และการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในโลก ตะวันตก ทำให้ท่านรู้สึกขัดแย้งกับวิธีการสอนธรรมะที่ยึดถือ รูปแบบตามระเบียบแบบแผนมากเกินไป ความย่อหย่อนใน พระวินัยของสงฆ์ ตลอดจนความเชื่อที่ผิดๆ ของ พุทธศาสนิกชน ในเวลานั้น ทำให้ท่านมีความเชื่อมั่นว่า พระพุทธศาสนาที่สอน  ที่ปฏิบัติกัน ในเวลานั้นคลาดเคลื่อน ไปมาก จากที่ พระพุทธองค์ ทรงชี้แนะ

                                                            

ท่านจึงตัดสินใจ หันหลังให้กับการศึกษาของ สงฆ์ เวลานั้น กลับไชยา เพื่อศึกษา และทดลอง ปฏิบัติ ตามแนวทาง ที่ท่านเชื่อมั่น โดยร่วมกับ นายธรรมทาส และ คณะธรรมทาน จัดตั้ง สถานปฏิบัติธรรม "สวนโมกขพลาราม" ขึ้น  เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ จากนั้น ท่านได้ศึกษา  และปฏิบัติธรรมะ อย่างเข้มข้น จนเชื่อมั่นว่า ท่านมาไม่ผิดทางแน่ และได้ประกาศ ใช้ชื่อนาม "พุทธทาส" เพื่อแสดงว่า ให้เห็นถึง  อุดมคติสูงสุด ในชีวิตของท่าน


๓. ปณิธานแห่งชีวิต

อุดมคติ ที่หยั่งรากลึกลงแล้วนี้ ทำให้ท่านสนใจใฝ่หา  ความรู้ทางธรรมะตลอดเวลา ไม่เฉพาะแต่พระ พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท หรือหินยาน แต่ครอบคลุม ไปถึงพระพุทธศาสนา แบบมหายาน และศาสนาอื่น  เช่น คริสต์ อิสลาม ฮินดู สิกข์ เป็นต้น จากความรอบรู้  ที่กว้างขวาง และลึกซึ้ง นี้เอง ทำให้ท่านสามารถ  ประยุกต์ วิธีการสอน และปฏิบัติธรรมะได้อย่าง หลากหลาย ให้คนได้เลือกปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับ พื้นความรู้และอุปนิสัยของตนได้ โดยไม่จำกัดชนชั้น  เชื้อชาติ และศาสนา เพราะท่านเชื่อว่า มนุษย์ทุกคน  ก็คือ เพื่อน ร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้น  และหัวใจของทุกศาสนาก็เหมือนกันหมด คือ ต้องการ ให้คน พ้นจากความทุกข์

                                                

ท่านจึง ได้ตั้ง ปณิธานในชีวิตไว้ ๓ ข้อ

๑. ให้พุทธศาสนิกชน หรือ ศาสนิกแห่งศาสนาใดก็ตาม  เข้าถึง ความหมายอันลึกซึ้ง ที่สุดแห่งศาสนาของตน

๒. ทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา

๓. ดึงเพื่อนมนุษย์ให้ออกมาเสียจากวัตถุนิยม

แม้ในความพยายามที่จะทำตามปณิธานนี้ จะทำให้ บางคนไม่เข้าใจท่าน ไม่ชอบท่าน ด่าว่าท่าน หาว่า  ท่านจ้วงจาบ พระพุทธศาสนา เป็นเดียรถีย์  เป็นคอมมิวนิสต์ หรือ รับจ้างคนคริสต์ มาทำลายล้าง  พระพุทธศาสนา ก็ตาม แต่ท่านกลับรับฟัง คำวิจารณ์  เหล่านี้ด้วยใจเป็นกลาง ถือเป็นการแลกเปลี่ยนทาง ความคิด ในเรื่อง เนื้อหา และหลักการ มากกว่า ที่จะ ก่อความขัดแย้งส่วนตัว เพราะท่านมีหลัก ในการทำงาน ว่า " พุทธบุตร ทุกคน ไม่มีกังวล ในการรักษาชื่อเสียง มี กังวล แต่การทำความบริสุทธิ์เท่านั้น เมื่อได้ทำความ  บริสุทธิ์ มองเห็นชัดเจนใจ อยู่แล้วว่า นี่มันบริสุทธิ์  เป็นธรรมแท้ ใครจะชอบ หรือ ไม่ชอบก็ตาม เราต้องทำ ด้วยความพยายาม อย่างสุดชีวิต จะมีชื่อเสียง หรือไม่นั้น อย่านึกถึงเลย เป็นอันขาด จะกลายเป็น  เศร้าหมอง และ หลอกลวง ไปไม่มาก ก็น้อย" ในที่สุด ท่านก็ได้รับการยอมรับ จากวงการ คณะสงฆ์ไทย วงการศึกษาของไทย

 และวงการศึกษาธรรมะของโลก ได้รับการยอมรับให้เป็นเสนาบดีแห่งกองทัพธรรมในยุคหลัง กึ่งพุทธกาล เยี่ยงพระมหากัสสป ในครั้งพุทธกาล

                                                           

สมณศักดิ์ที่ท่านได้รับ
๑. เป็นพระครูอินทปัญญาจารย์ พ.ศ. ๒๔๘๙
๒. เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระอริยนันทมุนี พ.ศ. ๒๔๙๓
๓. เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชชัยกวี พ.ศ. ๒๕๐๐
๔. เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพวิสุทธิเมธี พ.ศ. ๒๕๑๔
๕. เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมโกศาจารย์ พ.ศ. ๒๕๒๐

แม้ท่านจะมีชื่อ สมณศักดิ์ ตามลำดับ หลายชื่อ แต่ท่านจะใช้ ก็ต่อเมื่อมี ความจำเป็นต้องติดต่อ ทางราชการ เท่านั้น ถ้าเป็นเรื่องอื่นแล้ว ท่านจะใช้  ชื่อว่า "พุทธทาส อินทปัญโญ" เสมอ แสดงให้เห็นถึงความอ่อนน้อม ถ่อมตัว ของท่าน ประกาหนึ่ง ชื่อ พุทธทาสนี้ เป็นที่มาแห่งอุดมคติ ของท่านนั่นเอง

ปริญญาทางโลก ที่ท่านได้รับ
๑. พุทธศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
  จาก มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๒
๒. อักษรศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา
  จาก มหาวิทยาลัย ศิลปากร พ.ศ. ๒๕๒๘
๓. ปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขา วิชาศึกษาศาสตร์
  จาก มหาวิทยาลัย รามคำแหง พ.ศ. ๒๕๒๘
๔. ศิลปศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา
  จาก มหาวิทยาลัย สงขลา นครินทร์ พ.ศ. ๒๕๒๙
๕. อักษรศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา
  จาก จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๐
๖. การศึกษา ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์
  จาก มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๓๒
๗. ศิลปศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
  จาก มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๓๖

ในระดับนานาชาติ ปัจจุบัน ทุกมหาวิทยาลัย ที่มีแผนก สอนวิชาศาสนาสากล  ทั้งในยุโรป และ อเมริกาเหนือ ล้วน ศึกษางานของท่าน หนังสือของท่าน กว่า  ๑๔๐ เล่ม ได้รับการแปลเป็น ภาษาอังกฤษ, กว่า ๑๕ เล่ม เป็นภาษาฝรั่งเศส,  และ อีก ๘ เล่ม เป็น ภาษาเยอรมัน นอกจากนั้น ยังแปลเป็นภาษา จีน อินโดนีเซีย  ลาว และ ตากาล็อค อีกด้วย กล่าวได้ว่า ในประวัติศาสตร์ไทย ท่านอาจารย์ พุทธทาส มีผลงานที่เป็น หนังสือแปลสู่ต่างประเทศ มากที่สุด

                                                             

๔. ผลงานแห่งชีวิต

ตลอดชีวิต ของ ท่านอาจารย์พุทธทาส ท่านย้ำอยู่เสมอว่า "ธรรมะ คือ หน้าที่" เป็นการทำหน้าที่ เพื่อความอยู่รอด ทั้งทางฝ่ายกาย และฝ่ายวิญญาณ ของมนุษย์ และ ท่าน ได้ทำหน้าที่ ในฐานะ ทาสผู้ซื่อสัตย์ ของพระพุทธเจ้า ทุกอณูแห่งลม หายใจ เข้าออก จนแม้วาระสุดท้าย แห่งชีวิต จึงไม่น่าสงสัยเลยว่า ผลงาน ที่ท่าน สร้างสรรค์ ไว้ เพื่อ เป็น มรดก ทางธรรมนั้น จะมีมากมาย สักปานใด ซึ่งจะขอ นำมากล่าวเฉพาะ ผลงานหลักๆ ดังนี้ คือ

๑. การจัดตั้ง สถานปฏิบัติธรรม สวนโมกขพลาราม และ สวนโมกข์นานาชาติ

                                                


๒. การร่วมกับ คณะธรรมทาน ในการออกหนังสือพิมพ์ "พุทธสาสนา" ราย ๓ เดือน นับเป็นหนังสือพิมพ์ ทาง              พระพุทธศาสนา เล่มแรก ของไทย เริ่มตีพิมพ์ เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๖ และ ต่อเนื่องมา จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลารวม ๖๑ ปี นับเป็นหนังสือพิมพ์ ทาง พระพุทธศาสนา ที่มีอายุยืนยาว ที่สุดของไทย

                                  

๓. การพิมพ์หนังสือ ชุด "ธรรมโฆษณ์" ซึ่งเป็นหนังสือที่ รวบรวม พิมพ์จาก ปาฐกถาธรรม ที่ท่านแสดงไว้ในวาระต่างๆ และ งานหนังสือเล่ม เล่มอื่นๆ ของท่าน โดยแบ่งออก เป็น ๕ หมวด คือ
๑. หมวด"จากพระโอษฐ์" เป็นเรื่องที่ท่านค้นคว้าจากพระไตรปิฎก ฉบับ ภาษา บาลี โดยตรง
๒. หมวด"ปกรณ์พิเศษ" เป็นคำอธิบายข้อธรรมะ ที่เป็นหลักวิชา  และหลักปฏิบัติ
๓. หมวด"ธรรมเทศนา"เป็นคำบรรยายแบบเทศนาในเทศกาลต่างๆ
๔. หมวด"ชุมนุมธรรมบรรยาย" เป็นคำขยายความ ข้อธรรมะ เพื่อให้เข้าใจได้อย่างถูกต้อง
๕. หมวด"ปกิณกะ" เป็นการอธิบายข้อธรรมะ เบ็ดเตล็ด ต่างๆ ประกอบ ความเข้าใจ
  ปัจจุบัน หนังสือชุดนี้ ได้ตีพิมพ์ เป็นหนังสือ ขนาด ๘ หน้ายก หนาเล่มละ ประมาณ ๕๐๐ หน้า จำนวน ๖๑ เล่ม แล้ว ที่ยังรอการจัดพิมพ์ อีกประมาณ ร้อยเล่ม

                                                      

๔. การปาฐกถาธรรมของท่าน ที่ก่อให้เกิดกระแสการวิพากษ์ วิจารณ์ ทั้งในแง่ วิธีการ และ การตีความพระพุทธศาสนา ของท่าน กระตุ้นให้ผู้คนกลับมาสนใจ ธรรมะกันอย่างลึกซึ้งแพร่หลายมากขึ้น ครั้งสำคัญๆ ได้แก่ ปาฐกถาธรรม เรื่อง "ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม" "อภิธรรมคืออะไร" "ปฏิจจสมุปบาท คืออะไร" "จิตว่าง หรือ สุญญตา" "นิพพาน" "การทำงาน คือ การปฏิบัติธรรม" "การศึกษาสุนัขหางด้วน" เป็นต้น

๕. งานประพันธ์ ของท่านเอง เช่น "ตามรอยพระอรหันต์" "ชุมนุมเรื่องสั้น" "ชุมนุมเรื่องยาว" "ชุมนุมข้อคิดอิสระ" "บทประพันธ์ของ สิริวยาส" (เป็นนามปากกา ที่ท่านใช้ ในการเขียน กวีนิพนธ์) เป็นต้น

                                                          

๖. งานแปลจากภาษาอังกฤษของท่าน เล่มสำคัญ คือ "สูตรของเว่ยหล่าง" "คำสอนของฮวงโป" ทั้งสองเล่ม เป็นพระสูตรที่สำคัญของพุทธศาสนา นิกายเซ็น เป็นต้น 

                                                  

๕.สิ่งที่ประทับใจ
๑.เป็นบุคคลที่เป็นแบบอย่างที่ดีงามของพุทธศาสนิกชน
๒.เป็นบุคคลตัวอย่างในการทำนุบำรุงและถ่ายทอดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
๓.เป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่เป็นผู้บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่ในการเผยแพร่ธรรมะเพื่อให้เข้าถึงประชาชนสมัยโลกาภิวัตน์

๔ เป็นบุคคลที่ไม่หวั่นเกรงต่ออุปสรรคในชีวิต

๕ เป็นบุคคลที่ทำประโยชน์ให้แก่สังคม   

๖ เป็นบุคคลผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความเสียสละต่อเพื่อนมนุษย์ ยึดมั่นต่อการทำความดีโดยไม่หวั่นอุปสรรคหรือคำนินทาใดๆ เป็นบุคคลที่ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา

๗ เป็นบุคคลที่มีใจเป็นกลาง ไม่มีอคติต่อศาสนาอื่น แต่มุ่งเน้นให้ทุกคนเข้าถึงศาสนาของตน 



ที่มา
- http://www.buddhadasa.com/history/budprofile1.html
- http://th.wikipedia.org/wiki/พุทธทาสภิกขุ
- http://www.dhammathai.org/sounds/buddhadasa.php

สมาชิก

563070016-5 นายชัยพร ประฏิภาณวัตร

563070042-4 นายปรเมศวร์ บำรุงสวัสดิ์

563070070-9 นางสาวรัชตา ติยสถาพร

563070097-9 นางสาวณัฐมน จิรกุลสมโชค

563070121-8 นายทินภัทร นิลวรรณ

563070145-4 นายศิวนาท คำอ้อ

563070170-5 นายชวลิต ประครองญาติ

563070194-1 นางสาวสุดาสมร สอนหอม

563070218-3 นางสาววัชรี ราษีทัศน์

563070248-4 นางสาวกานต์สินี ทวิสกุลรัตน์


หมายเลขบันทึก: 544206เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2013 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 กรกฎาคม 2013 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

เป็นบทความที่มีประโยชน์ เผยแพร่ประวัติของท่านอาจารย์พุททาสภิกขุ ได้ละเอียดมากครับ

คำสอนของท่านใช้ได้เสมอทุกยุคจริงๆ น่าสนใจค่ะ

เป็นบุคคลที่น่ายกย่องจริงๆค่ะ

เปนบทความที่น่าสนใจมากๆค่ะ เหมาะกับการนำไปใช้ในชีวิต ขอบคุนมากน่ะค่ะที่เอามาแชร์กัน

เป็นบุคคลที่น่าเลื่อมใสมากค่ะ 

เป็นบุคคลที่น่ายกย่อง และนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตมากๆ เลยค่ะ

ท่านเป็นบุคคลตัวอย่างจริงๆครับ น่เลื่อมใสมากครับ

ผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม

ดีมากเลยค่ะ

ท่านเป็นแบบอย่างที่ดีมากค่ะ

ท่านเป็นคนที่น่าเอาเป็นแบบอย่างมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท