การพัฒนาผู้นําการเปลี่ยนแปลงในงานสร้างเสริมองค์กรสุขภาวะ


การพัฒนาผู้นําการเปลี่ยนแปลงในงานสร้างเสริมองค์กรสุขภาวะ

ดร.จิตรสุดาลมเกร ิ ียงไกร

จากสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลามีการแข่งขันเพื่อชิงความเป็นเลิศดังนั้นวิธีที่จะทํา

ให้ผู้บริหารประสบความสําเร็จสูงสุดคือ ผู้บริหารต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง ไม่เพียงแต่ผู้บริหารเท่านั้นที่ต้อง

เปลี่ยนแปลงแต่หมายรวมถึงบุคลากรในองค์กรที่ต้องมีการเตรียมพร้อมและพัฒนาศักยภาพให้สามารถรับกับ

การเปลี่ยนแปลงและสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้ “องค์กรแห่งความสุข” หรือ Happy Workplace ถือ

เป็นแนวคิดใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นการเปิดความคิดและให้ความรู้กับองค์กรต่างๆเพื่อให้หันมาใส่ใจ

เรื่อง “คุณภาพชีวิต” ของคนทํางาน ที่ครอบคลุมทั้งด้านกายใจจิตวิญญาณ และสังคมได้อย่างสมดุล โดยมี

โครงการ “ความสุข 8 ประการ” หรือ Happy 8 เป็นแนวทางสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ นําไปปฏิบัติเพื่อสร้าง

ความสุขในการทํางานตามวิถีและบริบทของตนเองได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน นอกจากนี้ยังหมายถึง

กระบวนการพัฒนาคนในองค์กรอย่างมีเป้าหมายและยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร เพื่อให้

องค์กรมีความสามารถและพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง นําพาองค์กรไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

ดังนั้นหากองค์กรใดสนใจโครงการองค์กรสุขภาวะแนวคิดเรื่องผู้นําการเปลี่ยนแปลง (Change

Agent) มีความสําคัญที่ช่วยให้เกิดสุขภาวะองค์กรในงานต่างๆได้เพราะผู้นําการเปลี่ยนแปลงถือเป็นตัวแปร

สําคัญที่ทําให้การสร้างองค์กรแห่งความสุขประสบความสําเร็จ ทัศนคติที่ดีต่อคนในองค์กรหรือต้องมองคนใน

องค์กรในแง่บวก ผู้นําจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในองค์กร โดยต้องมีภาวะผู้นําอย่างแท้จริงและที่

สําคัญที่สุดคือ จะต้องทําให้คนในองค์กรเชื่อใจให้ได้หมายถึง ต้องมีทัศนคติระหว่างกันเป็นแบบบวก ซึ่ง

เกิดขึ้นจากการมีองค์ความรู้มีภาวะผู้นํา หากมีทัศนคติลบต่อองค์กรทุกอย่างก็ไม่สามารถบริหารองค์กรให้ดีได้

ผู้นําการเปลี่ยนแปลงในที่นี้ไม่ได้หมายความถึงเฉพาะแต่ผู้บริหารในองค์กรแต่รวมถึงพนักงานทุกคนในองค์กร

เพราะภาวะผู้นําจําเป็นในทุกๆระดับ ไม่ใช่เน้นเฉพาะหัวหน้าเท่านั้น ลูกน้องก็จะต้องถูกสร้างให้มีภาวะผู้นํา

ด้วยผู้นําการเปลี่ยนแปลงไม่จําเป็นต้องเป็นบุคคลที่มีตําแหน่งหัวหน้าหรือผู้ที่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่นเท่านั้น

แต่ที่สําคัญกว่าก็คือผู้นําการเปลี่ยนแปลงคือผู้ที่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลเชิงบวกต่อความ

เป็นอยู่ที่ดีของผู้อื่น ของชุมชนและของสังคมโดยรวมโดยนิยามหลังนี้จึงอาจกล่าวได้ว่ามนุษย์ทุกคนมี

ศักยภาพพอที่จะเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลงได้

กระบวนการของการเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลงนั้น ไม่สามารถอธิบายได้โดยง่ายเพียงแค่ดูจาก

พฤติกรรมของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น แต่ผู้นําการเปลี่ยนแปลงยังเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ในแง่ความ

ร่วมมือของกลุ่มคนหรือระหว่างกลุ่มคนในการปฏิบัติภารกิจร่วมกัน บนฐานของค่านิยมเหมือนกัน คือการ

ทํางานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกขึ้นแก่สังคมจากฐานความเชื่อที่ว่าผู้นําคือผู้ที่ก่อให้เกิดการ

เปลี่ยนแปลง (Change Agent) และภาวะผู้นําคือการทํางานร่วมกันในลักษณะของกลุ่มบุคคลที่ต้องการให้เกิด

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมขึ้น ดังนั้นโครงการพัฒนาผู้นําใดๆที่มีฐานความเชื่อดังกล่าวจึงเน้นเรื่องค่านิยม

(Values) สําคัญที่ใช้เป็นฐานของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมควบคู่ไปกับการเรียนรู้ค่านิยมส่วนบุคคลเพื่อการ

เป็นผู้นําที่ดีต่อไป

ผู้นําการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) เป็นรูปแบบของผู้นํายุคใหม่ซึ่งนับว่าสอดคล้องในยุคปฏิรูปที่

มีการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตและการบริการอย่างต่อเนื่องซึ่งผู้นําจะมีความสามารถในการหยั่งรู้และ

คาดการณ์ในอนาคตได้อย่างแม่นยํา มีความคิดชัดเจนที่นําบุคลากรไปสู่องค์กรในการเปลี่ยนแปลง ด้วย2

ศักยภาพและสมรรถนะเต็มกําลังความสามารถรวมทั้งเน้นการปฏิรูป และพลิกโฉมหรือยกเครื่ององค์กร

สนับสนุนการถ่ายโอนวัฒนธรรมแนวใหม่ มีความสามารถในการจัดการเปลี่ยนแปลงสามารถตีความเข้าใจ

เรื่องต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วมีความคิดสร้างสรรค์สามารถประยุกต์วิธีการต่างๆเพื่อให้องค์กรประสบผลสําเร็จ

ผู้นําจะมีแผนใจในโดยครอบคลุมเรื่องใหม่ๆที่เป็นเรื่องท้าทายดังนั้นองค์กรจะประสบผลสําเร็จได้มากน้อย

เพียงใดต้องเริ่มจากผู้นําที่มีความเข้มแข็ง จริงจังและใช้หลักการทํางานเป็นทีม และที่สําคัญสามารถรักษา

องค์กรให้อยู่รอดปลอดภัยโดยที่ผู้นําต้องทําตนให้เป็นผู้นําเลื่อมใสและไว้วางใจ มีจริยธรรมสร้างวิสัยทัศน์และ

ยุทธศาสตร์ในองค์กร รวมทั้งสร้างเครื่องมือ (Toolbox) เพื่อให้ประสบผลสําเร็จโดยที่ต้องเกี่ยวพันกับ

ยุทธศาสตร์และวัตถุประสงค์ขององค์กรสื่อสารให้บุคลากรเข้าใจและสร้างความแตกต่างระหว่างผู้บริหารกับ

ผู้นํา

ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง หมายถึง ระดับพฤติกรรมของผู้บริหารที่แสดงให้เห็นในการจัดการหรือ

การทํางานที่เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงความพยายามของผู้ร่วมงานให้สูงขึ้นกว่าความพยายามที่คาดหวัง

เป็นผลให้การปฏิบัติงานเกินความคาดหวัง พัฒนาความสามารถและศักยภาพไปสู่ระดับที่สูงขึ้นโดยผู้บริหาร

แสดงบทบาททําให้ผู้ร่วมงานไว้วางใจตระหนักรู้ภารกิจและวิสัยทัศน์มีความจงรักภักดีและเป็นข้อจูงใจให้

ผู้ร่วมงานมองการณ์ไกลกว่าความสนใจของตน ซึ่งจะนําไปสู่ประโยชน์ขององค์กรและผู้นําการเปลี่ยนแปลง

ยังหมายถึงผู้นําคุณภาพที่จะต้องเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไปสู่ความคิด

สร้างสรรค์แบบใหม่ ความคิดที่ออกนอกกรอบหรือกฎเกณฑ์เดิมเพื่อประยุกต์งานให้เกิดความก้าวหน้า

อัลเบิร์ตไอน์สไตน์กล่าวว่า “การแก้ปัญหาในเรื่องเดิมจะต้องใช้วิธีการใหม่เท่านั้นจึงจะประสบผลสําเร็จ” ถ้า

เรายังมัวย่ําอยู่กับปัญหาปัญหาเดิมๆโดยไม่เปลี่ยนแปลงวิธีการมีแต่จะสะสมปัญหาไปเรื่อยๆเหมือนดินพอก

หางหมูและในที่สุดก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง การเปลี่ยนแปลงจึงต้องอาศัยผู้นําที่มีความกล้า

หาญและอาศัยความเสี่ยง

ปัจจุบันองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างก็มีการปรับตัวกันอย่างขนานใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงภายใน

องค์กรไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้างของสายงาน ปรับลดจํานวนพนักงาน ปรับหน้าที่ความรับผิดชอบงาน มี

การตื่นตัวในเรื่องของการใช้เครื่องมือในการบริหารและวัดผลในหลายๆแบบ มีการกําหนดแผนงานและ

เป้าหมายของการทํางานแต่ละฝ่ายงานไปจนถึงแต่ละบุคคลไปจนถึงการใช้ระบบการจ่ายผลตอบแทนแบบ

Pay for performance เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลกระทบต่อพนักงานในองค์กรทุกระดับ

โดยเฉพาะในแง่ของความรู้สึกถึงความมั่นคงในอาชีพงานที่ทําอยู่จนบางครั้งเกิดความไม่แน่ใจ เกิด

ความเครียดมีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทั้งต่อหน้าและลับหลังขาดความร่วมมือฯลฯสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้

ย่อมส่งผลเสียหายต่อองค์กรเป็นอย่างยิ่งความจําเป็นของผู้บริหารหรือหัวหน้างานในทุกระดับ จึงมีบทบาทที่

สําคัญที่จะนําทีมงานของตนเองไปสู่ความสําเร็จภายใต้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และนี่คือความท้าทายใน

อนาคตของผู้นําที่จะต้องเผชิญ

การที่ผู้นําจะสามารถสร้างองค์กรให้แข็งแกร่งได้ตลอดไปนั้น จะยึดแนวคิดทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งเป็น

หลักในการบริหารจัดการตลอดไปคงเป็นไปไม่ได้เนื้อหาของการจัดการบางอย่างก็ไม่สามารถนําไปใช้ให้เกิด

ประโยชน์ได้ทุกสถานการณ์บางทีเนื้อหาที่พูดถึงล้าสมัยไปแล้วแต่แนวคิดของภาวะผู้นําแห่งการปรับเปลี่ยน

(Transformational Leaderships) สามารถนําไปประยุกต์ใช้เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกได้

เพราะเนื้อหาของการจัดการความเปลี่ยนแปลงเฉพาะเรื่องสามารถเก็บไว้ใช้ในวันหน้าได้โดยมีหลักที่ว่าความ

จริงสิ่งเดียวที่ไม่เคยเปลี่ยนคือ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นใดถ้าผู้นํามี

ความสามารถในการพัฒนาความคิดการปลูกฝังค่านิยมการเสริมพลังในทางสร้างสรรค์และการตัดสินใจได้3

เมื่อนั้นผู้นําก็จะสามารถสร้างองค์กรที่แข็งแกร่งขึ้นได้จากการสอนให้ผู้อื่นทําตามเขาสิ่งหนึ่งที่ควรจําไว้คือ

ผู้คนที่ประสบความสําเร็จนั้นต้องผจญกับความเปลี่ยนแปลงซ้ําแล้วซ้ําเล่าและสิ่งที่คนเหล่านี้ทําก็เพื่อ

ก่อให้เกิดองค์กรแห่งชัยชนะ

ผู้นําแห่งการปรับเปลี่ยน หรือผู้นําเชิงปฏิรูปจะพยายามเปลี่ยนแปลงทั้งองค์กรจากสภาวะหรือ

วัฒนธรรมหนึ่ง ไปเป็นสภาวะหรือวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งความเป็นผู้นําเชิงปฏิรูปจะเกี่ยวพันกับความเป็น

ผู้นําเชิงบารมีสูงมากเพราะว่าผู้นําเชิงปฏิรูปจะสร้างความรู้สึกของความไว้วางใจและความศรัทธาที่เข้มแข็ง

ดังนั้นเขาสามารถกระตุ้นการปฏิรูปหลายอย่างภายในวัฒนธรรมขององค์กรได้ผู้นําเชิงปฏิรูปจะปฏิบัติงานที่

สําคัญหลายอย่างผู้นําเชิงปฏิรูปจะเพิ่มความตระหนักของผู้ตามต่อปัญหาและผลที่ตามมาของปัญหาของ

องค์กรสมาชิกองค์กรจะต้องเข้าใจปัญหาที่มีลําดับความสําคัญสูงต่อองค์กรและอะไรจะเกิดขึ้นถ้าปัญหาไม่ได้

ถูกแก้ไขให้สําเร็จผู้นําเชิงปฏิรูปจะสร้างวิสัยทัศน์ของสิ่งที่องค์กรควรจะเป็น สร้างความผูกพันต่อวิสัยทัศน์นั้น

ทั่วทั้งองค์กรและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งองกรที่สนับสนุนวิสัยทัศน์องค์ประกอบที่สําคัญของ

กระบวนการปฏิรูปมีหลายอย่างคือ

 (1) การสร้างวิสัยทัศน์ (Visioning) คือความสามารถของผู้นําที่จะสร้างวิสัยทัศน์หรือมองอนาคตของ

องค์กรอย่างชัดเจน การสร้างวิสัยทัศน์อาจจะมีรูปแบบมากว่าหนึ่งอย่างแทนที่จะเรียกร้องให้บุคลทุกคน

ภายในองค์กรมุ่งไปตามแผนที่เส้นทางวิสัยทัศน์ของผู้นําผู้นําเชิงปฏิรูปอาจจะพยายามให้บุคคลแต่ละคนมี

วิสัยทัศน์ของเขาเองดังที่ผู้บริหารคนหนึ่งได้กล่าวว่าผู้นํารับผิดชอบไม่เพียงแต่การมีวิสัยทัศน์เท่านั้น แต่

จะต้องรับผิดชอบกระบวนการของการสร้างวิสัยทัศน์ทั่วทั้งองค์กรอีกด้วย

 (2) การสร้างค่านิยม (Valuing) คือผู้นําจะกําหนดค่านิยมพื้นฐานของการปฏิรูปองค์กรขึ้นมาค่านิยม

เหล่านี้จะถูกใช้เป็นแบบจําลองโดยผู้นําและได้ถูกยึดถือไว้อย่างสมํ่าเสมอเมื่อผู้นําและผู้ตามมุ่งที่จะบรรลุ

วิสัยทัศน์ค่านิยม พฤติกรรมของผู้นําจะถูกรู้สึกทั่วทั้งองค์กรและมุ่งไปสู่การปฏิบัติทั่วทั้งองค์กรด้วย

 (3) การถ่ายทอดและการบันดาลใจ (Articulating) คือความสามารถของผู้นําในการถ่ายทอด

วิสัยทัศน์ให้เป็นถ้อยคําเชิงปฏิบัติที่เห็นได้ชัดและมีคุณสมบัติที่เร้าใจผู้ตาม หรือทําให้พวกเขาต้องการร่วม

ทีมงาน

 (4) การกระจายอํานาจและการติดต่อสื่อสาร (Empowering and Communication) หัวใจของ

ความเป็นผู้นําเชิงปฏิรูปคือความสามารถของผู้นําที่จะบันดาลความเชื่อของผู้ตามว่าพวกเขาสามารถมีส่วน

ช่วยอย่างสําคัญต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ซึ่งจะเกี่ยวพันกับการกระจายอํานาจให้แก่ผู้ตามด้วยการให้พวกเขามี

ความรู้สึกว่าตัวพวกเขามีคุณค่าและช่วยให้พวกเขาได้ใช้ขีดความสามารถส่วนบุคคลอย่างเต็มที่เพื่อที่จะเผชิญ

กับความท้าทายใหม่ๆผู้นําจะพัฒนาผู้ตามด้วยการแก้ปัญหาร่วมกัน และการมอบหมายงานซึ่งจะช่วยให้ผู้ตาม

มีความเชื่อมั่นตนเองสูงขึ้น การกระจายอํานาจจะถูกสนับสนุนด้วยความเต็มใจของผู้นําที่จะทํางานร่วมกัน

ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าผู้นําเชิงปฏิรูป คือบุคคลที่ได้จินตนาการอนาคตขององค์กรของพวกเขา

ถ่ายทอดวิสัยทัศน์อย่างชัดเจนแก่สมาชิกขององค์กรเพื่อสร้างแรงบันดาลใจสนับสนุนแรงจูงใจที่สูงกว่า

แรงจูงใจที่สามารถคิดว่าเป็นไปได้แม้ว่าบารมีจะมีบทบาทที่สําคัญภายในกระบวนการเชิงปฏิรูป ผู้นําเหล่านั้น

จะเป็นมากกว่าหัวหน้ากองเชียร์แต่จะพัฒนาและกระตุ้นผู้ตามของพวกเขาเป็นรายบุคคลดังนั้นผู้นําเชิง

ปฏิรูปจะเกี่ยวพันกับการเพิ่มระดับของจิตสํานึกต่อความสําคัญและคุณค่าของผลลัพธ์การทําให้ผู้ตามอยู่เหนือ

ผลประโยชน์ของพวกเขาเองเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มหรือองค์กรและการยกระดับหรือการขยายขอบเขต

ความต้องการที่สําคัญของบุคคลให้กว้างขึ้น ผู้นําเชิงปฏิรูปจึงถูกอธิบายว่าเป็นบุคคลที่สามารถทําให้แรงจูงใจ4

และความตระหนักสูงขึ้นและได้รับปฏิกิริยาจากผู้ตามเช่น ความไว้วางใจความประทับใจความจงรักภักดี

และความเชื่อมั่นต่อองค์กร

ในงานองค์กรสุขภาวะนั้น หากนําแนวคิดผู้นําการเปลี่ยนแปลงมาใช้ควรใช้แนวคิดผู้นําการ

เปลี่ยนแปลงที่รวมบุคาลากรในองค์กรว่าต้องมีการพัฒนาภาวะผู้นําด้วยไม่จํากัดว่าผู้นําต้องหมายถึงผู้บริหาร

สูงสุดในองค์กรแต่เพียงอย่างเดียว หลายๆแนวคิดที่หยิบยกมาอ้างถึงในส่วนนี้บางแนวคิดอาจจะกล่าวถึงผู้นํา

ในลักษณะของผู้บริหารสูงสุดแต่ในความเป็นจริงแล้วสามารถนําคุณลักษณะที่ผู้นําควรจะเป็น มาพัฒนากับ

พนักงานคนอื่นๆในองค์กรได้เช่นเดียวกัน

อีกหนึ่งแนวคิดที่น่าสนใจคือแนวคิดผู้ประกอบการสังคมซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้

ผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคมนี้อาจถือได้ว่าเป็นบุคคลที่เป็นผู้นําแห่งการเปลี่ยนแปลงและยังนําแนวคิด

องค์กรสุขภาวะไปประยุกต์ใช้ในกิจการตั้งแต่ขั้นตอนการริเริ่มกิจการและในทุกๆขั้นตอนในการดําเนินการ

กิจการรวมถึงผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นรูปธรรมของกิจการที่ได้ส่งต่อความสุขไปยังผู้บริโภคอีกด้วยอย่างไรก็ตาม

ความสนใจส่วนใหญ่เน้นไปที่วิธีปรับใช้ทักษะด้านธุรกิจและการจัดการเพื่อบรรลุเป้าหมายทางสังคม

ตัวอย่างเช่น ทําอย่างไรองค์กรที่ไม่แสวงหากําไรจึงจะสามารถดําเนินกิจการที่แสวงหากําไรเพื่อสร้างรายได้

ในขณะนี้ประเด็นนี้เป็นแนวโน้มสําคัญ แต่ผู้ประกอบการสังคมสามารถถูกมองในด้านที่แตกต่างออกไป

กล่าวคือในด้านที่เป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นบุคคลที่มีความคิดใหม่ในการจัดการกับปัญหาสังคมที่

สําคัญ ผู้ไม่ยอมนิ่งเฉยในการดําเนินงานตามวิสัยทัศน์ของตน ผู้ที่ไม่ยอมล้มเลิกจนกว่าจะได้เผยแพร่ความคิด

ของตนให้กว้างขวางที่สุดเท่าที่จะทําได้วิธีการที่ผู้ประกอบการสังคมส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ อัน

ได้แก่วิธีการที่พวกเขาปรับเปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมและการรับรู้

โดยการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจะต้องอาศัยคนที่มีความคิดสร้างสรรค์พร้อมด้วยการตัดสินใจแน่วแน่

และเจตจํานงอันมั่นคงในการขับเคลื่อนนวัตกรรมที่สังคมต้องการเพื่อที่จะต่อกรกับปัญหาที่หนักหนาสาหัสมี

บ่อยครั้งที่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งสําคัญเริ่มต้นด้วยผู้เริ่มก่อการเพียงคนเดียวได้แก่ บุคคลหนึ่งผู้เอา

จริงเอาจังซึ่งเห็นปัญหาและมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับแนวทางแก้ไขใหม่ๆเป็นผู้ที่ริเริ่มปฏิบัติตามวิสัยทัศน์นั้น เป็นผู้

รวบรวมทรัพยากรและสร้างองค์กรเพื่อปกป้องและเผยแพร่วิสัยทัศน์ดังกล่าวเป็นผู้อุทิศพลังงานและสมาธิอัน

แน่วแน่มั่นคงเพื่อเอาชนะแรงต่อต้านที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้และเป็นผู้ปรับปรุง เสริมสร้างความเข้มแข็งและ

ขยายวิสัยทัศน์นั้นย่างต่อเนื่องหลายทศวรรษ จรกระทั่งสิ่งที่เคยเป็นเพียงความคิดที่ไม่ได้รับความสนใจ

กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่

ผู้ประกอบการที่ประสบความสําเร็จสูงสุดไม่จําเป็นต้องมีความมั่นใจมากกว่ายืนหยัดมากกว่า หรือมี

ความรู้มากกว่าความแตกต่างที่สําคัญคือคุณภาพของแรงจูงใจผู้ประกอบการที่ประสบความสําเร็จสูงสุดคือผู้

ที่มุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะบรรลุเป้าเหมายระยะยาวดังนั้นพวกเขาจึงมักจะใช้วิธีที่เป็นระบบมากกว่าในการแสวงหา

โอกาสคาดคะเนอุปสรรคติดตามผลและวางแผนล่วงหน้า พวกเขาคํานึงถึงคุณภาพและประสิทธิภาพ

มากกว่าและมีข้อผูกพันต่อคนทํางาน และผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจหรือหุ้นส่วน และท้ายที่สุดพวกเขาให้คุณค่ากับ

สิ่งที่ต้องคํานึงถึงในระยะยาวมากกว่าผลประโยชน์ระยะสั้น

 Social Enterprise หรือกิจการเพื่อสังคมคือธุรกิจหรือกิจการที่มีจุดมุ่งหมายในการแก้ไขปัญหาสงคมั

เหมือนเอ็นจีโอมูลนิธิองค์กรการกุศลฯลฯแต่มีวิธีหารายได้สร้างกําไรวางระบบมาร์เก็ตติ้งได้เหมือนธุรกิจ

ทั่วไป มองอย่างง่ายกิจการเพื่อสังคมคือการหยิบข้อดีของงานภาคธุรกิจและภาคสังคมมาผสมผสานกัน เพราะ

ถ้ามัวแต่กอบโกยกําไรสูงสุดโดยไม่สนสังคมและโลกธุรกิจก็ไม่มีทางมั่นคงอยู่ได้ยืนยาวแต่ถ้าจะมุ่งมาทํามูลนิธิ

เป็นเอ็นจีโอกันหมดความก้าวหน้าสร้างสรรค์ของการแข่งขันพัฒนาสิ่งใหม่แบบทุนนิยมก็คงไม่มีแถมยังไม่มี5

รายได้หรือแหล่งทุนมาใช้จ่ายเพื่อให้สังคมและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น Social Enterprise หรือกิจการเพื่อสังคมต้อง

ตั้งต้นตั้งแต่เริ่มก่อร่างสร้างตัวว่ากิจการนี้จะเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมด้านใดและคํานึงถึงสิ่งแวดล้อมใน

ทุกๆกระบวนการดังนั้นการขับเคลื่อนของกิจการประเภทนี้จะเป็นไปเพื่อแก้ปัญหาและดูแลสิ่งแวดล้อมไป

พร้อมๆกัน

ปัจจัยสําคัญของการสร้างเสริมองค์กรสุขภาวะคือ (1) ผู้บริหารต้องรับรู้เข้าใจและสนับสนุน โดย

ผู้บริหารต้องรับรู้ว่า องค์กรแห่งความสุขคืออะไรความสุขคืออะไรและเข้าใจว่าความสุขสามารถนําไปสู่การ

สร้างประโยชน์อะไรบ้าง ที่สําคัญคือต้องทําให้ผู้บริหารสนับสนุนให้ได้ (2) ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ต้องรับรู้

เข้าใจและปฏิบัติได้จริง โดย HR ต้องรู้ว่าองค์กรคืออะไร ทรัพยากรมนุษย์คืออะไร วัฒนธรรมองค์กรคืออะไร

องค์ประกอบทั้งหมดมีความสําคัญและความสัมพันธ์เชื่อมโยง ส่งผลต่อกันอย่างไรและจะทําอย่างไรให้เกิด

องค์กรแห่งความสุขได้จริง (3) พนักงานต้องรับรู้เข้าใจและมีส่วนร่วมกิจกรรมที่จะทํา เพื่อนําไปสู่องค์กรแห่ง

ความสุขให้ทุกองค์กรมีส่วนร่วมต้องให้ทุกคนรู้สึกเป็นส่วนร่วมเพราะการเพิ่มการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร

คือหลักการสําคัญของแนวคิดองค์กรสุขภาวะ ทั้ง 3 ปัจจัยนี้ ต้องประสานและร่วมมือร่วมใจกันเข้าใจใน

บทบาทและหน้าที่ของตนเองด้วยเหตุนี้เองทําให้การนําแนวคิดผู้นําการเปลี่ยนแปลงมาปรับใช้ในงานสร้าง

เสริมสุขภาวะองค์กรจึงมีความสําคัญมาก

การพัฒนาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้างานถ้าจะให้ได้ผลจริง ๆ จะต้องมีการทํา

Workshop เพื่อละลายพฤติกรรมมี Role Play เพื่อให้พบกับสถานการณ์จําลอง ปรับทัศนคติและแนวทาง

ปฏิบัติเพื่อให้เกิดแนวคิดและปัญญากลับมามองตนเองหรือมองไปรอบๆตัวเพื่อที่จะได้เข้าใจถึงบทบาทที่ควร

จะเป็น และปรับปรุงตนเองให้อยู่ในจุดที่สมดุลไม่ยึดติดกับแนวคิดและวิธีการเก่าๆเพราะความสําเร็จในอดีต

อาจจะไม่ใช่เป็นสิ่งที่ถูกต้องสําหรับอนาคตแม้จะอ่านทฤษฎีมามากแค่ไหน แต่ก็ไม่มีอะไรดีกว่าการได้ลองลง

มือปฏิบัติจริงดังนั้น การสัมมนาเชิงปฏิบัติจึงมีความจําเป็นสําหรับหลักสูตรการพัฒนาผู้นําการเปลี่ยนแปลง

(Change Agent) ที่ได้ผล

แนวคิดองค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace) เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการจัดโครงการหรือกิจกรรม

ภายในองค์กร ที่สร้างเสริมให้พนักงานขององค์กรนั้นมีความสุขจากการได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ

องค์กรสุขภาวะโดยปัจจัยสําคัญประการหนึ่งที่จะทําให้โครงการนี้ขับเคลื่อนไปในองค์กรได้คือการมีผู้นําการ

เปลี่ยนแปลงสนับสนุนโครงการนี้ในองค์กรผู้นําในที่นี่ไม่ได้หมายถึงเฉพาะผู้บริหารในองค์กรเท่านั้น แต่ยัง

หมายรวมถึงบุคลากรคนอื่นๆในองค์กรที่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงและนําพาองค์กรไปสู่องค์กรสุขภาวะได้การนํา

แนวคิดผู้นําการเปลี่ยนแปลงไปใช้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต้องเริ่มที่ทําการศึกษาทําความเข้าใจถึงความหมาย

ของผู้นําการเปลี่ยนแปลงว่าในงานสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรนั้น ผู้นําการเปลี่ยนแปลงนั้นหมายรวมถึงบุคคล

ใดในองค์การบ้างเป็นพื้นฐานสําคัญ การพัฒนาผู้นําการเปลี่ยนแปลงมีวิธีการดําเนินการหลายวิธีไม่ว่าจะเป็น

หลักสูตรอบรมระยะสั้น หลักสูตรอบรมระยะยาว ที่จัดอบรมภายในองค์กรเอง หรือโดยการส่งบุคลากรไป

อบรมกับหน่วยงานภายนอก

ด้วยความที่ว่าองค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace) ยังเป็นคําที่ไม่คุ้นชินนักในสังคมไทย ทําให้

หลายๆองค์กรเกิดความลังเลและไม่กล้าที่จะเริ่มต้นโครงการองค์กรสุขภาวะ หากองค์กรของท่านเป็นองค์กร

หนึ่งที่ยังไม่ได้ลงมือทําโครงการองค์กรสุขภาวะความจริงประการหนึ่งที่ท่านควรทราบคือ หลักการดําเนิน

โครงการองค์กรสุขภาวะไม่ได้แตกต่างจากการดําเนินโครงการประเภทอื่นๆดังนั้นการนําแนวคิดทฤษฎีผู้นํา

การเปลี่ยนแปลงมาใช้ในการดําเนินงานโครงการองค์กรสุขภาวะก็ไม่ได้แตกต่างไปจากการนําแนวคิดทฤษฎีนี้

ไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นๆในองค์กรจะแตกต่างก็ในเรื่องของระยะเวลาของโครงการสุขภาวะ ที่ไม่ได้มีการ6

กําหนดระยะเวลาและผลลัพธ์ที่ได้จากกิจกรรมโครงการนี้ออกมาในรูปของตัวเลขหรือตัวเงิน ผู้นําการ

เปลี่ยนแปลงในโครงการองค์กรสุขภาวะควรมีบทบาทตั้งแต่การทํางานเชิงยุทธศาสตร์เป็นผู้นํานโยบายองค์กร

สุขภาวะมาปรับใช้ให้เหมาะกับวัฒนธรรมขององค์กรของตน

กล่าวโดยสรุป การพัฒนาผู้นําการเปลี่ยนแปลงในงานองค์กรสุขภาวะ สามารถทําได้โดยวิธีการ

เหมือนกันกับการพัฒนาผู้นําการเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไป เช่น การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันในเรื่ององค์กรสุขภาวะ

การสร้างการมีส่วนร่วมในการดําเนินงานโครงการองค์กรสุขภาวะสร้างนโยบายแผนงานโครงการองค์กรสุข

ภาวะและเป็นผู้นําในการยกระดับสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับองค์กรสุขภาวะเป็นต้น การที่จะทําให้ประเทศไทย

เป็นประเทศที่มีความสุขอย่างแท้จริงได้พวกเราจะต้องช่วยกันสร้างผู้นําการเปลี่ยนแปลงที่ดูแลพนักงาน และ

สังคมภายในองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งความสุขเป็นองค์กรที่ดีต่อสังคมไทย ประเทศไทยจึงจะน่าอยู่

เอกสารอ้างอิง

ชัยเสฏฐ์พรหมศรี. (2549). ภาวะผนู้ําองคกรย ์ ุคใหม่.กรงเทพฯ ุ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

ทิชี่.โนเอลเอ็ม. (2542). กลไกสร้างภาวะผนู้ํา (ทรงวิทย์เขมเศรษฐ์แปล). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

พิชาภพ พันธุ์แพ. (2554). ผู้นํากับการจัดการการเปลี่ยนแปลง.กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

Northhouse, P.G. (2007). Leadership: Theory and Practice. USA: Sage Publications.


หมายเลขบันทึก: 544086เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 11:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท