เทคนิคการสร้างความคิดสร้างสรรค์ SCAMPER (1)


เทคนิคการสร้างความคิดสร้างสรรค์ SCAMPER (1)

SCAMPER เป็นเทคนิคที่จะช่วยให้คุณจุดประกายความคิดสร้างสรรค์และเอาชนะความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและในหน้าที่การงาน

SCAMPER คือ checklist (รายการตรวจสอบสิ่งที่จะต้องทำ) ที่เป็นการตั้งคำถามเชิงกระตุ้นให้เกิดความคิด เหมาะกับงานที่ต้องการความหลากหลายของความคิดและการทำกิจกรรม ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในเรื่องทั่วๆไป หรือเรื่องที่มีเป้าหมายชัดเจน 

เป็นหลักการที่ใช้งานง่ายและก่อให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างน่าประหลาดใจ คิดค้นโดย Bob Eberle ในช่วงต้นศตวรรษที่ 70 และยังคงเป็นเทคนิคที่นิยมใช้มาจนถึงปัจจุบัน

เนื้อหาโดยรวมจะแบ่งออกเป็นการนำเสนอหลักการเบื้องต้นของ SCAMPER พร้อมทั้งเครื่องมือที่จะช่วยสร้างแนวความคิดคือ mind map และ ตัวอย่างคำถามแบบสุ่ม
หลักการพื้นฐานของ SCAMPER
SCAMPER มีพื้นฐานของความคิดที่ว่า สิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมาจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ซึ่งตัวอักษรย่อของ SCAMPER แต่ละตัวดังต่อไปนี้ แสดงให้เห็นถึงวิธีการที่แตกต่างกันที่จะทำให้คุณเกิดความคิดใหม่ๆ

• S = Substitute สิ่งทดแทน
• C = Combine นำมารวมกัน
• A = Adapt ปรับให้เหมาะสม
• M = Magnify ทำให้เพิ่มมากขึ้น
• P = Put to Other Uses ประยุกต์ใช้, นำไปใช้งานอื่น ๆ 
• E = Eliminate (or Minify) ทำให้น้อยลง
• R = Rearrange (or Reverse) จัดเรียงใหม่ หรือ ทำสิ่งที่ตรงกันข้าม

การใช้เทคนิค SCAMPER ขั้นแรกต้องระบุหัวข้อที่ต้องการจะแก้ปัญหา หรือความคิดที่จะนำมาพัฒนาต่อยอด ซึ่งอาจจะเป็นเรื่อง ๆทั่วไปในชีวิตประจำวัน หรือในเชิงธุรกิจ เกี่ยวกับสินค้าและบริการ หรือ กระบวนการที่ต้องการจะปรับปรุง 
  หลังจากระบุเรื่องที่ท้าทายได้แล้วขั้นตอนต่อไปคือการตั้งคำถามในปัญหาหรือความคิดนั้น ๆ โดยใช้ checklist 7 รายการข้างต้นเป็นแนวทางในการตั้งคำถาม
  ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาคือ “ทำอย่างไรจึงจะเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจได้” คำถามที่เกิดขึ้นโดยใช้หลักการของ SCAMPER คือ

• S = Substitute มีสิ่งที่สามารถใช้ทดแทนในกระบวนการขายเดิมหรือไม่ ? คืออะไร?
• C = Combine สามารถรวมกิจกรรมการขายเข้ากับกิจกรรมอื่นๆ ได้หรือไม่ ? อย่างไร?
• A = Adapt จะปรับปรุงกระบวนการเดิมได้อย่างไร หรือนำวิธีการขายของคนอื่นมาปรับใช้ได้หรือไม่?
• M = Magnify มีสิ่งที่สามารถขยายหรือต้องให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในการขาย?
• P = Put to Other Uses เปลี่ยนไปขายสินค้าอย่างอื่นได้หรือไม่?
• E = Eliminate (or Minify) มีสิ่งที่สามารถขจัดหรือลดความซับซ้อนในกระบวนการขาย?
• R = Rearrange (or Reverse) สามารถเปลี่ยนลำดับหรือจัดเรียงวิธีการขายใหม่?
  การตั้งคำถามลักษณะนี้จะช่วยให้เกิดความคิดที่แตกต่างและหลายหลาย ท้ายที่สุดก็จะพบวิธีแก้ปัญหาที่ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆขึ้น
  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากการนำหลักการของ SCAMPER มาใช้คือการแก้ไขปัญหาของ Ray Kroc ผู้ก่อตั้ง MacDonald เช่น
  ขายร้านอาหารและอสังหาริมทรัพย์แทนการขายแฮมเบอร์เกอร์โดยใช้หลัก P = Put to Other Uses
ให้ลูกค้าชำระเงินก่อนทานอาหาร R = Rearrange
ให้ลูกค้าบริการตนเองและลดการจ้างบริกร E = Eliminate
  (มีต่อ)

http://montritheverge.blogspot.com/2011/08/scamper.html
คำสำคัญ (Tags): #scamper
หมายเลขบันทึก: 543877เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2013 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2013 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท