'Killer' The Psychological Card Game


สิ่งที่เรียน (what)วิธีการเล่น 'คิลเลอร์' เกมไพ่แนวจิตวิทยา


วิธีเรียน (how)คุณเคยรู้จักเกมนี้หรือไม่ เกมไพ่ชนิดนี้ไม่ได้เป็นเกมการพนัน หากแต่เป็นเกมที่ช่วยฝึกทักษะการโน้มน้าวจิตใจ ฝึกการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และฝึกความช่างสังเกตของคุณ ซึ่งคุณสามารถเพลิดเพลินไปกับเกม พร้อมทั้งยังสามารถนำทักษะที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

  • กติการการเล่น (แบบมีพิธีกร)

  1. มีผู้เล่นจำนวน 6 คนขึ้นไป
  2. เลือกไพ่มาจำนวนเท่ากับผู้เล่น โดยมีไพ่ A K Q J อย่างละ 1 ใบ 
  3. ให้ผู้เล่นตรวจดูไพ่ของตัวเอง โดยห้ามไม่ให้ผู้เล่นคนอื่นเห็น
    - คุณได้ไพ่ A คุณเป็น พิธีกร
    - คุณได้ไพ่ K คุณเป็น คิลเลอร์
    - คุณได้ไพ่ Q คุณเป็น พยาบาล
    - คุณได้ไพ่ J คุณเป็น ตำรวจ
    - คุณได้ไพ่ตัวเลข คุณเป็น ประชาชน
  4. พิธีกรแสดงตัว
  5. พิธีกรสั่งให้ทุกคนหลับตา และให้คิลเลอร์ลืมตา
  6. คิลเลอร์ชี้บอกว่าต้องการให้ใึครตาย
  7. พิธีกรสั่งให้คิลเลอร์หลับตา และให้พยาบาลลืมตา
  8. พยาบาลชี้บอกว่าต้องการรักษาใคร
  9. พิธีกรสั่งให้พยาบาลหลับตา และให้ตำรวจลืมตา
  10. ตำรวจชี้บอกว่าสงสัยใคร
  11. พิธีกรสั่งให้ตำรวจหลับตา และหลังจากนั้นให้ทุกคนลืมตา
  12. พิธีกรเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น เช่น คิลเลอร์ได้ทำการฆ่าผู้หญิงคนหนึ่ง พยาบาลได้ทำการรักษาผู้หญิง แต่ไม่ถูกคน ตำรวจสงสัยผิดคน
  13. ให้ทุกคนโหวตว่าสงสัยใคร  โดยที่เมื่อตำรวจหรือพยาบาลรู้ว่าใครเป็นคิลเลอร์ หรือใครไม่ใช่คิลเลอร์ต้องพยายามโน้มน้าวให้ผู้เล่นโหวต หรือไม่โหวตใคร เนื่องจากตำรวจและพยาบาล เป็นผู้เล่นที่มีสิทธิชี้ และรู้ผลการชี้เมื่อพิธีกรเล่าเรื่องราว ทำให้สามารถคาดเดาความเป็นไปได้ในเกมมากกว่าผู้เล่นคนอื่นๆ ส่วนคิลเลอร์ต้องพยายามควบคุมอารมณ์ พยายามสร้างข้อสงสัยให้กับผู้เล่นคนอื่น เพื่อไม่ให้ผู้เล่นคนอื่นสงสัยตัวเอง พิธีกรต้องพยายามควบคุมอารมณ์ และเลือกใช้คำพูดให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดคำใบ้ในคำพูดของตน ผู้เล่นที่เป็นประชาชนต้องพยายามวิเคราะห์ความน่าจะเป็นจากคำพูดของผู้เล่นคนอื่นๆ เพื่อทำการโหวต
  14. พิธีกรประกาศว่าใครตาย และคนที่ทุกคนโหวตถูกหรือผิด คนที่ถูกฆ่า และคนที่ถูกโหวตจะไม่ได้เล่นในรอบต่อไป และต้องทำการหงายไพ่ของตัวเอง
  15. ทำการเล่นซ้ำตั้งแต่กติกาข้อที่ 5-14 อีกครั้ง จนกว่าจะพบตัวคิลเลอร์ (คิลเลอร์แพ้) หรือยังไม่สามารถระบุตัวคิลเลอร์ได้ แต่เหลือผู้เล่นที่ยังไม่ตายหรือถูกโหวตออกเพียง 3 คน (คิลเลอร์ชนะ)

ผลการเรียนรู้ (outcome) :  สามารถนำเกมนี้ไปเล่นเพื่อฆ่าเวลา และเพิ่มความสนุกในโอกาสต่างๆ เช่น เวลาเดินทางเป็นหมู่คณะ และสามารถนำทักษะที่ได้จากเกมมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การคิดวิเคราะห์เพื่อหาเหตุและผล การพูดเพื่อโน้มน้าวใจผู้ฟัง เป็นต้น

ข้อคิดที่ได้จากประสบการณ์ (reflection) :  ได้เรียนรู้การมองในมุมต่าง และการพลิกแพลงการใช้งาน เพราะโดยปกติแล้วคนทั่วไปจะมองว่าการเล่นไพ่เป็นสิ่งที่ไม่ดี เนื่องจากภาพลักษณ์การใช้ไพ่ในการพนัน แต่ในความเป็นจริงแล้วเราสามารถนำไพ่มาพลิกแพลงเล่นเป็นเกมที่มีสาระ สร้างความสนุกสนาน โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพนันได้อีกด้วย

เอกสารหรือสื่ออ้างอิง (references)

บันทึกเมื่อ 22 กรกฎาคม 2556

โดย น.ศพ.กัญฐณา วิทยาภัทร์ 

รหัสนักศีกษา 563070147-0

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


หมายเลขบันทึก: 543280เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2013 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กรกฎาคม 2013 16:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

Killer ชื่อน่ากลัวมากครับ น่าสนใจๆ อยากลองเล่นดูครับ

อ่านแล้วอยากลองเล่นจังเลย มาสอนเล่นบ้างนะคะ 

ฉัตรดนัย ศรีสุนาครัว

น่าสนุกจุงงงงง^^

น่าเล่นมากอ่ะๆ ถ้าเล่นกับเพื่อนหลายๆคนคงสนุกไม่ใช่น้อยเลยนะเนี่ย

เคยเล่น Killer เหมือนกันครับ สนุกดี ได้ฝึกการส่งสัญญาณ ทั้งสนุกทั้งตลก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท