ประสบการณ์พัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพของข้าพเจ้า


สิ่งที่เรียนรู้ : การจดจำโดยอาศัยเทคนิคการช่วยจำต่าง ๆ 

   ถึงแม้ในปัจจุบันการเรียนการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง แต่ก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่นักเรียน นักศึกษาจะยังคงต้องอาศัยการจดจำพื้นฐานขององค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อเป็นรากฐานในการวิเคราะห์องค์ความรู้ที่ซับซ้อนขึ้นมา อย่างไรก็ตามผู้คนส่วนใหญ่มักจะประสบปัญหากับการ "ลืม" หรือ ไม่สามารถจำเรื่องราวของสิ่งที่สำคัญ ๆ ได้ทั้งหมด เทคนิคการช่วยจดจำจึงเข้ามามีบทบาทในชีวิตของนักเรียนอย่างเรา ๆ และนอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริง ๆ ที่เรื่องราวต่าง ๆ มักจะวิ่งผ่านเราไปในแบบที่เราไม่ทันได้ตั้งตัวได้อีกด้วย

   มีเทคนิคการจดจำมากมายที่เหมาะสำหรับการจดจำสิ่งต่าง ๆ ที่เฉพาะเจาะจง บางเทคนิคเหมาะสำหรับการจดจำตัวเลข บางเทคนิคเหมาะสำหรับการจดจำที่สามารถไล่สิ่งต่าง ๆ จากหน้าไปหลัง หรือจากหลังไปหน้าได้ ซึ่งการเลือกใช้เทคนิคต่าง ๆ ก็ขึ้นอยู่กับความถนัดและความชอบของแต่ละคน

  สำหรับเทคนิคการจดจำที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากการอ่านหนังสือและจากการแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งข้าพเจ้าได้ลองนำมาประยุกต์ใช้กับตัวเอง (อย่างไม่ค่อยชำนาญเท่าไรนัก) มีอยู่ด้วยกัน 2 เทคนิค ดังนี้

1. การสร้างประโยคที่มีความหมายช่วยจำ ( Acrostic ) 
    เป็นการนำอักษรตัวหน้าของสิ่งที่ต้องการจะจำ มาสร้างเป็นคำใหม่แล้วนำคำเหล่านั้นมาเรียงเป็นประโยค เช่น
    หากต้องการจะจำชื่อจังหวัดทั้ง 9 จังหวัดในภาคเหนือ ก็อาจจะจำว่า "ชาติ-ชาย-ไม่-ลัง-เล-เพื่อ-พบ-อ-นงค์" ซึ่ง
    หมายถึง "เชียงใหม่-เชียงราย-แม่ฮ่องสอน-ลำพูน-ลำปาง-แพร่-พะเยา-อุตรดิษฐ์-น่าน" 

2. การแบ่งเป็นส่วน ๆ และการเชื่อมโยง ( Chunking and association )
    เทคนิคนี้เหมาะสำหรับการจำตัวเลขที่เรียงต่อกันแบบไม่มีรูปแบบที่แน่นอน เช่น เบอร์โทรศัพท์
    เลขที่บัญชีธนาคาร หรือรหัสต่าง ๆ เช่น 74752007365 สามารถแบ่งตัวเลขออกเป็น 747-52-007-365 จะช่วยให้
    เราจำมันได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้หากลองมองตัวเลขให้เป็นภาพ เช่น 747=เครื่องบิน
    52=ไพ่   007=สายลับ   365=ปี  ก็จะยิ่งช่วยให้เราจำตัวเลขได้ง่ายขึ้นไปอีก

  หลังจากที่ข้าพเจ้าเริ่มสนใจและศึกษาเทคนิคการจำต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยประถม แล้วลองนำมาใช้ในชีวิตจริง ถึงแม้ข้าพเจ้าจะไม่ได้เป็นนักจำที่เก่ง แต่ข้าพเจ้าก็พบว่า การที่เราจำอะไรได้มากขึ้น ก็ยิ่งเป็นประโยชน์กับชีวิตเรามากขึ้นไม่ใช่แค่เพียงการเรียนแต่ยังรวมไปถึงการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น การที่เราสามารถจำรายละเอียดต่าง ๆ ได้มากขึ้น แสดงให้เห็นว่าเราสนใจและใส่ใจกับสิ่งนั้นจริง ๆ 

  สุดท้ายนี้ถ้าหากผู้อ่านท่านใดสนใจจะลองนำไปลองใช้ดูบ้างก็ไม่ผิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด หรือต้องการทราบข้อมูล
เพิ่มเติมก็สามารถศึกษาได้จากลิงค์ด้านล่างเลยนะครับ 

เอกสารอ้างอิง
Dan Ariely. The upside of Irrationality(เหตุผลที่ไม่ควรมีเหตุผล). กรุงเทพ: สำนักพิมพ์วีเลิร์น. 2555.
http://listverse.com/2007/08/27/top-10-tips-to-improve-your-memory/
http://listverse.com/2013/06/24/10-easy-tricks-to-greatly-enhance-your-memory/

ณัฐภัทร  ขุมทอง
563070022-0
วันที่ 21/7/2556

หมายเลขบันทึก: 543068เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2013 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กรกฎาคม 2013 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

เป็นเทคนิดที่ดีค่ะ จะลองนำไปใช้ดูค่ะ

เป็นเทคนิคที่ช่วยได้เยอะเลยค่ะ ดีมากๆ

ขอบคุณสำหรับเทคนิคช่วยจำค่ะ 

ดูดีมีหลักกการร กิ๊วๆ

พอดีเลยครับ จะสอบมิดเทอมพอดี ขอบคุณครับ

ดีจังเลยครับ น่าจะใช้ได้ดีในการสอบต่างๆ ครับ :D

ดีมากเลยครับ นำไปปรับใช้ในการเรียนได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท