การให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัดแบบผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางในผู้รับบริการน้ำร้อนลวก (ABCD & FEAST)


 

          วันนี้ดิฉันขอยกตัวอย่างกระบวนการให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัดแบบ Client-centered 2 แบบ คือ ABCD และ FEAST เดียวเราไปทำความรู้จักกับการให้เหตุผลทั้ง 2 แบบกันเลยคะ

ABCD

Audience (สิ่งที่ผู้รับบริการได้ฟังหรือรับข้อมูลจากนักกิจกรรมบำบัด)
          วันที่ 3 พฤษภาคม 2556 ผู้รับบริการรับฟังข้อมูลเรื่องการประเมินทางกิจกรรมบำบัด และรับรู้ผลจากการประเมิน ยกตัวอย่างเช่น มีการรับความรู้สึกไวกว่าปกติ (Hypersensitivity) บริเวณมือ, มีช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อบริเวณมือและข้อมือไม่สุดช่วงการเคลื่อนไหว, มีกำลังกล้ามเนื้อมือและนิ้วมือต่ำกว่าค่าปกติ, มีความทนทานในการใช้มือทำกิจกรรมน้อย และขาดความคล่องแคล่วในการใช้มือทำกิจกรรม นอกจากนี้ก่อนสิ้นสุดการฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดในแต่ละครั้ง ผู้รับบริการได้รับฟังข้อมูลโปรแกรมการฝึกที่บ้าน เช่นกิจกรรมร้อยลูกปัด กิจกรรมถักหมวกไหมพรม กิจกรรมเคลื่อนไหวมือท่าปลาว่ายน้ำ เป็นต้น

Behavior (พฤติกรรมที่เป็นปัญหา)
          พฤติกรรมที่เป็นปัญหาคือ การเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดที่ไม่สม่ำเสมอของผู้รับบริการ โดยปกติผู้รับบริการต้องเข้ารับการฟื้นฟู 2วัน/สัปดาห์ แต่ผู้รับบริการมักติดธุระทางบ้านทำให้ไม่สามารถเข้ารับการฟื้นฟูได้อย่างสม่ำเสมอ ส่งผลกระทบต่อความก้าวหน้าในการรักษา

Conditions(การวินิจฉัยโรคหรือมีภาวะอะไร)
          การวินิจฉัยโรคคือ น้ำร้อนลวกบริเวณแขนและมือข้างซ้าย ทำให้ไม่สามารถกำมือได้สุดช่วงการเคลื่อนไหว และขาดความคล่องแคล่วในการทำกิจกรรม ต้องใช้เวลาในการทำกิจกรรมต่างๆมากกว่าปกติ

Degree/measurable goal(ความรุนแรงของโรคและการวางแผนการรักษาที่สามารถวัดผลได้)
          ความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับ Secondary degree burn คือ โดนน้ำร้อนลวกเป็นบางส่วน ทำลายผิวถึงชั้นหนังแท้ โดยอยู่ในขั้นของการฟื้นฟู (Rehabilitation phase) สำหรับการวางแผนการรักษาคือ
1. ให้ความรู้เรื่องการป้องกันและการจัดการแผลน้ำร้อนลวก
2. ลดภาวะการรับความรู้สึกที่ไวกว่าปกติ
3. เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวขอข้อต่อบริเวณมือและข้อมือ
4. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อนิ้วมือและมือ
5. เพิ่มความทนทานของมือในการทำกิจรรม
6. เพิ่มความคล่องแคล่วของมือในการทำกิจกรรม

FEAST

Function/occupational performance areas (กิจกรรมการดำเนินชีวิตที่ผู้รับบริการต้องการทำ)
          มีความต้องการในการใช้มือทำงานได้อย่างคล่องแคล่วและรวดเร็วในการทำกิจวัตรประจำวัน การทำงานขายน้ำเต้าหู้ และงานอดิเรก ถักหมวกไหมพรม

Expectation (ความคาดหวังของผู้รับบริการ)
          ผู้รับบริการคาดหวังว่าอยากใช้มือประกอบอาชีพขายน้ำเต้าหู้ และถักหมวกไหมพรมได้คล่องแคล่วเหมือนปกติ

Action (ผู้รับบริการทำกิจกรรมได้แค่ไหน)
          ผู้รับบริการสามารถใช้มือทำงานได้ แต่ต้องใช้เวลาในการทำกิจกรรมมากกว่าปกติ และเวลายกหม้อน้ำเต้าหู้ต้องใช้เวลาในการเดินไปกลับหลายรอบ เนื่องจากกำลังกล้ามเนื้อมือต่ำ

Specific condition (มีภาวะเจาะจงอะไร)
          ภาวะเจาะจง คือการจำกัดช่วงการเคลื่อนไหวของนิ้วมือและข้อมือที่ไม่สุดช่วงการเคลื่อนไหว, มีกำลังกล้ามเนื้อมือและนิ้วมือต่ำกว่าค่าปกติ, มีความทนทานในการใช้มือทำกิจกรรมน้อย และขาดความคล่องแคล่วในการใช้มือทำกิจกรรม

Timeline (ระยะเวลาในการรักษา)
          สำหรับเป้าประสงค์การรักษาระยะยาวของผู้รับบริการ คือ
1. ผู้รับบริการสามารถกำมือซ้ายได้สุดช่วงการเคลื่อนไหว หลังเข้ารับบริการทางกิจกรรมบำบัด 6 เดือน
2. ผู้รับบริการสามารถทำกิจวัตรประจำวัน และและประกอบอาชีพได้ด้วยตนเองอย่างคล่องแคล่ว หลังเข้ารับบริการทางกิจกรรมบำบัด 6 เดือน
โดยเข้ารับการฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัด 1ชั่วโมง/วัน  2วัน/สัปดาห์  เป็นระยะเวลาทั้งหมด 6 เดือน

 

 

สิ่งสำคัญในการบำบัดฟื้นฟูผู้รับบริการทุกประเภท คือนักกิจกรรมบำบัดต้องยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง (Client-centered) เช่นการให้ความสำคัญกับความต้องการหรือความคาดหวังของผู้รับบริการ เช่นกรณีศึกษาคุณว.ต้องการกลับไปใช้มือทำงานได้คล่องแคล่วเหมือนเดิม นักกิจกรรมบำบัดควรตั้งเป้าประสงค์และวางแผนการรักษาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบำบัดฟื้นฟูของผู้รับบริการทุกคน

 

หมายเลขบันทึก: 543055เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2013 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2013 12:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท