ประสบการณ์การพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ- เทคนิคการเรียนวิชาคำนวณ


สิ่งที่เรียน(What): การเรียนวิชาคำนวณ

วิธีการเรียน(How):

1. เวลาฟังครู หรือเวลาอ่าน ต้อง คิด ถาม จด ถ้าไม่เข้าใจควรจดคำถามไว้เพื่อคิดค้นคว้า หรือถามผู้รู้ต่อไป

2. หมั่นดูหนังสือหรือทำการบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ ควรหามุมอ่านหรือทำการบ้านที่เหมาะสมกับตนเอง

3. จัดเวลาสำหรับทบทวนสิ่งที่เรียนมา หรืออ่านล่วงหน้าสิ่งที่จะเรียนต่อไป และถ้าปฏิบัติตามที่กำหนดได้ควรให้ รางวัลตัวเอง เช่น  ได้เล่นเกมส์ ได้ฟังเพลง ดูทีวี ได้เล่นกีฬา เป็นต้น ถ้าทำไม่ได้ตาม กำหนดควรหาเวลาชดเชย

4. ทบทวนความรู้กับเพื่อน อย่าหวงวิชา แบ่งปันความรู้อธิบายให้กันและกัน อย่าช่วยเหลือเพื่อนในทางที่ผิด เช่น ทุจริตเวลาสอบ หรือให้ลอกงานโดยไม่เข้าใจ

5. ศึกษาด้วยตนเอง มิใช่ต้องเรียนจากครูเพียงอย่างเดียว การศึกษาด้วยตนเองจากตำราหลายๆ เล่ม ต้องทำ ความเข้าใจจดสาระสำคัญต่างๆ ลงในโน้ตย่อ จดสิ่งที่ไม่เข้าใจไว้ค้นคว้าต่อไป ถ้าต้องการเชี่ยวชาญ วิชาคำนวณ ต้องหมั่นหาโจทย์แปลกใหม่มาทำมากๆ เช่นโจทย์แข่งขันเป็นต้น

สำหรับวิธีการเตรียมตัวสอบวิชาคำนวณ

วิธีหนึ่งสำหรับคนที่มีเวลาน้อย เริ่มด้วยการทบทวนบทนิยาม สูตร กฎ วิธีการจากโน้ตย่อ จากนั้นทบทวนวิธีการแก้ปัญหาจากโจทย์ปัญหาโดยนึกว่าแผนการแก้ปัญหาสำหรับโจทย์ข้อนี้จะเป็นอย่างไรแล้วตรวจสอบจากเฉลยที่เราทำแบบฝึกหัดไว้ เราไม่ต้องลงมือแก้ปัญหาจริง เพียงแต่คิดวิธีการโดยเฉพาะข้อยากเราต้องคิดก่อน แต่ถ้าเรามีเวลามากเราก็อาจทบทวนโดยลงมือแก้ปัญหาอีกครั้งก็จะทำให้เราได้ฝึกฝนความแม่นยำ

สำหรับคนที่มีเวลาว่าง ควรเริ่มด้วยการเข้าใจทฤษฎีและที่มาของสูตรอย่างท่องแท้เสียก่อน เพื่อที่จะได้นำไปพลิกแพลงสูตรเองได้ เมื่อเข้าใจแล้วก็เริ่มทำแบบฝึกหัด โดยทำไปทีละหัวข้อ เริ่มจากข้อที่เป็นพื้นฐานก่อน แล้วค่อยไปทำโจทย์ประยุกต์ เมื่อมีข้อไหนที่ทำไม่ได้ ให้ไปอ่านเฉลยและดูวิธีคิดให้เข้าใจ แล้วกลับมาทำซ้ำ

ผลการเรียน(Outcome):

ได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ดีขึ้น จากการสอบในแต่ละครั้ง และคะแนน PAT1 และ PAT2 เป็นที่น่าพอใจ

ข้อคิดที่ได้จากประสบการณ์(Reflection):

จากวิธีการเรียนรู้ดังกล่าว ทำให้ข้าพเจ้ามีความชำนาญมากขึ้นเมื่อเจอโจทย์ปัญหาไม่ว่าจะเป็นในส่วนของคณิตศาสตร์หรือ ฟิสิกส์ก็ตาม เมื่อเรามีความเข้าใจในหลักการวิธีคิดและเนื้อหาของวิชาแล้ว เราก็อาจจะเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของเราโดยการจัดกลุ่มติวให้เพื่อน วิธีการนี้จะเป็นการย้ำความรู้เข้าไปในสมองของเรา และ ทำให้เรามีการเรียบเรียงข้อมูลและจัดระบบความคิดที่ดีขึ้น เพราะว่าเราต้องพูดออกมาให้เพื่อนฟังเราเข้าใจ

เอกสารหรือสื่ออ้างอิง(References):

http://sornorramphoei.wordpress.com/2013/05/08/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B4/ 

http://education.kapook.com/view21063.html

วัน เดือน ปี ที่บันทึก:20 ก.ค. 2556

วัน เดือน ปี ที่ปรับปรุง: 27 ก.ค. 2556

จัดทำโดย :

นักศึกษาแพทย์ ภาสุ หาญตระกูล

รหัสนักศึกษา 563070064-4

คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น





หมายเลขบันทึก: 542914เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2013 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2013 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

เป็นหลักการที่ดีมากครับ แต่คนทำก็คงต้องคุมตัวเองด้วย

เป็นประโยชน์มากๆ จะลองปฎิบัติตามนะ :)

ดีมากๆๆ ต้องทำตามบ้างแล้ว

โหห เจ๋งมากอ่ะคับ ทำไมเก่งจัง ว่างๆมาสอนผมมั่งนะคับ ผมโง่คำนวณมากเบยยย กิกิกิ

เป็นทริคที่ดีมากกก จะลองนำเอาไปใช้ดูนะคะ ^^

เป็นวิธีที่น่าสนใจมากเลยครับ มีประโยชน์อย่างมากกับการเรียนมหาลัยที่อาจารย์พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง T_T

น่าสนใจครับ เหมาะมากๆกับคนที่อ่อนทางวิชาคำนวณ

มีประโยชน์มากเลยค่ะ สามารถนำไปใช้ในการตรียมตัวสอบได้ดี :D

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท