ตอนที่ 13 ยุทธศาสตร์หลัก ยุทธศาสตร์ย่อย (ย้อนไป 3 ช่วง)


    

ตอนที่ 13

ยุทธศาสตร์หลัก ยุทธศาสตร์ย่อย (ย้อนไป 3 ช่วง)

  จากตอนที่ 12 ตกลงกันว่าจะยังไม่กล่าวถึงความยุ่งยากของผลผลิต( O ) แต่จะย้อนไปในช่วงที่ 3 ของปัจจัยนำเข้าจากระบบยุทธศาสตร์หลัก ในที่นี้ขอยกตัวอย่างจากระบบยุทธศาสตร์การจำนำ/ขายข้าว ซึ่งได้แก่ปัจจัยนำเข้าที่เป็นข้าวที่กองอยู่ในท้องนา

  เริ่มต้นด้วยการสร้างระบบยุทธศาสตร์ที่กำหนดให้ข้าวที่กองอยู่ในท้องนาเป็นผลผลิตของระบบยุทธศาสตร์การผลิตข้าว และสามารถเขียนเป็นโมเดลได้ดังนี้

   

โมเดลที่ 1  ระบบยุทธศาสตร์การผลิตข้าว

  ลำดับต่อมา....เป็นหน้าที่ของชาวนาที่ต้องคิดกิจกรรมการผลิตข้าว ว่ามีอะไรบ้าง ถ้าให้นักยุทธศาสตร์คิดอย่างรวดเร็ว โดยไม่ได้ศึกษารายละเอียดหรือถามชาวนาเลยก็จะได้กิจกรรมดังนี้

                                 -  การจัดหาพันธุ์ข้าวปลูก

                                 -  การเตรียมผืนนา

                                 -  การจัดหาน้ำ

                                 -  การบำรุงตันข้าว

                                 -  การปราบศัตรูข้าว

                                 -  การดูแลผืนนา

                                 -  การเก็บเกี่ยว

                                 -  การจัดหาค่าใช้จ่าย

  กิจกรรมที่คิดขึ้นมานี้คือ กระบวนการในโมเดลที่ 1 ซึ่งเขียนโมเดลได้ดังนี้

    

โมเดลที่  2 แสดงรายละเอียดของกิจกรรมในกระบวนการของระบบยุทธศาสตร์การผลิตข้าว

  ในโมเดลที่ 2 จะเห็นว่า ในกระบวนการจะมีระบบยุทธศาสตร์ที่คิดขึ้นมาได้ถึง 8 ระบบยุทธศาสตร์ได้แก่

                                     1.ระบบยุทธศาสตร์การจัดหาพันธุ์ข้าวปลูก

                                     2.ระบบยุทธศาสตร์การเตรียมผืนนา

                                     3.ระบบยุทธศาสตร์การจัดหาน้ำ

                                     4.ระบบยุทธศาสตร์การบำรุงตันข้าว

                                     5.ระบบยุทธศาสตร์การปราบศัตรูข้าว

                                     6.ระบบยุทธศาสตร์การดูแลผืนนา

                                     7.ระบบยุทธศาสตร์การเก็บเกี่ยว

                                     8.ระบบยุทธศาสตร์การจัดหาค่าใช้จ่าย

  ระบบยุทธศาสตร์ทั้ง 8 ระบบมีปัจจัยนำเข้าที่ต่างกันและให้ผลผลิตต่างกัน แต่ทุกระบบเสริมให้ได้ข้าวในนาเหมือนกันและมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก

  ลำดับต่อมา...ให้เขียนโมเดลที่แสดงระบบยุทธศาสตร์ที่สมบูรณ์ ซึ่งสามารถเขียนได้ดังนี้

  

   โมเดลที่ 3 แสดงผลผลิตของระบบยุทธศาสตร์ย่อยทั้ง 8 ระบบ

  จากโมเดลที่ 3 ในกระบวนการจะพบว่าทุกระบบยุทธศาสตร์ย่อยจะแสดงผลผลิต( O1-8 ) ให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ไม่แสดงปัจจัย ( I1-8 )และกระบวนการ ( P1-8 )

  ปัจจัย ( I1-8 ) นั้นมีความแตกต่างกันไป และขึ้นอยู่กับชาวนาแต่ละคนว่าจะใช้ปัจจัยอะไร ส่วนกระบวนการ ( P1-8 ) ก็เช่นเดียวกันมีความแตกต่างกันตามแนวคิดและวิธีการของแต่ละคน

  ถ้าดูที่ระบบยุทธศาสตร์หลัก  จะไม่พบว่ากำหนดปัจจัย ( I ) ใดๆ และไม่สามารถบอกได้ว่าต้องใช้ปัจจัยอะไร เพราะตัวปัจจัยที่ต้องใช้จริงได้กลายเป็นปัจจัยในกระบวนการ ( I1-8 ) ไปแล้ว

  ครานี้ความยุ่งยากได้เกิดขึ้นอีกแล้ว...ถ้ามีคำถามว่า ในโมเดลที่ 3 ไม่ต้องแสดงปัจจัยนำเข้า ( I )ได้หรือไม่ ....ถ้าตอบว่า ได้ ก็ ถูก .......ถ้าตอบว่า  ไม่ได้  ก็ ถูก..  แต่คำตอบที่ถูกต้องที่สุดคือ ...ต้องแสดงปัจจัยนำเข้า ( I )ให้เห็นเป็นภาพรวม ไม่ต้องกำหนดรายละเอียดซ้ำซ้อนอีก  ยกตัวอย่างดังนี้

      

โมเดลที่ 4 แสดงรายละเอียดของระบบยุทธศาสตร์การจัดหาพันธุ์ข้าวปลูก

  ให้ผู้อ่านทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ ถึงแม้จะอ่านยากและพยายามนำเสนออย่างง่ายแล้วก็ตาม ต้องทบทวนและอ่านซ้ำหลายๆครั้งจึงจะเห็นความวุ่นวายของระบบที่ทุกคนไม่ได้ใส่ใจและมองข้ามไป ทำให้เกิดความเลอะเลือนและพิกลพิการทางความคิด ถึงเวลาแล้วที่ต้องช่วยกันรื้อฟื้นระบบความคิดของคนในชาติ เพื่อพัฒนาสังคมและประเทศในอนาคต

หมายเลขบันทึก: 542759เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2013 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กรกฎาคม 2013 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท