การประเมินผลหลักสูตร


การประเมินหลักสูตร

หมายถึง การประเมินองค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตร ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด

และเมื่อได้นำหลักสูตรไปใช้แล้วบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการหรือไม่ โดยในการประเมินหลักสูตรจะใช้เครื่องมือชนิดต่างๆ ที่มีความเหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่น แบบสอบถาม การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มเป็นต้น ทั้งนี้ผลที่ได้จากการประเมินจะถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป

  ได้มีนักการศึกษาหลายท่านให้ความหมายของการประเมินหลักสูตรไว้ต่าง ๆ กัน ดังนี้ คือ

  คาร์เตอร์ กู๊ด (Good : 1973) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การประเมินหลักสูตร คือ การประเมินผลของกิจกรรมการเรียนภายในขอบข่ายของการสอนที่เน้นเฉพาะจุดประสงค์ของการตัดสินใจในความถูกต้องของจุดมุ่งหมาย ความสัมพันธ์และความต่อเนื่องของเนื้อหาและผลสัมฤทธิ์ของวัตถุประสงค์เฉพาะซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจ ในการวางแผนจัดโครงการและการหมุนเวียนของกิจกรรมโครงการต่าง ๆ ที่จะจัดให้มีขึ้น

  สุมิตร คุณานุก. (2523) การประเมินหลักสูตร คือ การหาคำตอบว่าหลักสูตรสัมฤทธิ์ผลตามที่กำหนดไว้ในความมุ่งหมายหรือไม่มากน้อยเพียงใด และอะไรที่เป็นสาเหตุ การประเมินหลักสูตรเพื่อตัดสินสัมฤทธิ์ผลของหลักสูตรนั้นมีขอบเขตรวมถึง

  1.  การวิเคราะห์ตัวหลักสูตร

  2.  การวิเคราะห์กระบวนการของการนำหลักสูตรไปใช้

  3.  การวิเคราะห์สัมฤทธิ์ผลในการเรียนของนักเรียน

  4.  การวิเคราะห์โครงการประเมินหลักสูตร

  วิชัย วงษ์ใหญ่. (2535) ให้ความหมายของการประเมินหลักสูตร ไว้ว่า การประเมินหลักสูตรเป็นการพัฒนาเกี่ยวกับคุณค่าของหลักสูตรโดยใช้ผลจากการวัดในแง่มุมต่าง ๆ ของสิ่งที่ประเมินเพื่อนำมาพิจารณาร่วมกัน และสรุปว่าจะให้คุณค่าของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมากนั้นเป็นอย่างไร มีคุณภาพดีหรือไม่เพียงใดหรือไม่ผลตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดหรือไม่ มีส่วนใดที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข

  ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539) ให้ความหมายการประเมินหลักสูตา หมายถึง การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสิน หาข้อบกพร่องหรือปัญหา เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขส่วนประกอบทุกส่วนของหลักสูตรให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นหรือตัดสินหาคุณค่าของหลักสูตรนั้น ๆ

  จากความหมายการประเมินหลักสูตรที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่า นักการศึกษาได้ให้ความหมายการประเมินหลักสูตรให้ไว้เป็น 2 ลักษณะ คือ

  1.  ให้ความหมายในแง่เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทำการประเมิน

  2.  ให้ความหมายในแง่ของกระบวนการประเมินผล และการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลแล้วนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินหาข้อบกพร่องเพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขส่วนประกอบทุกส่วนของหลักสูตรให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น

  การประเมินหลักสูตรมีจุดประสงค์ เพื่อพิจารณาทบทวนเกี่ยวกับคุณภาพของหลักสูตร โดยใช้ผลการวัดในแง่มุมต่าง ๆ ของสิ่งที่จะประเมินนำมาพิจารณาร่วมกัน เช่น เอกสารหลักสูตร วัสดุหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน ตัวผู้เรียน ความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรและความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องในชุมชนและสังคม เป็นต้น

แนวทางการประเมินหลักสูตร

การประเมินหลักสูตรแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

1.  การประเมินก่อนการนำหลักสูตรไปใช้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปรัชญาของหลักสูตร จุดประสงค์ เนื้อหา ประสบการณ์ และความต้องการของสังคมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรจะเป็นผู้ประเมิน

2.  การประเมินระหว่างการดำเนินการใช้หลักสูตรมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินกระบวนการนำหลักสูตรไปใช้ เช่น การจัดการเรียนการสอน วิธีการสอนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียน และวิธีการวัดและประเมินผล

3.  การประเมินหลังจากการใช้หลักสูตร มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการบริหารหลักสูตรรวมถึงการประเมินหลักสูตรทั้งระบบ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตของการใช้หลักสูตร

http://www.learners.in.th/blogs/posts/412161

สรุปการประเมินหลักสูตร

การประเมินหลักสูตรมีความสำคัญมากในการทำหลักสูตร เพราะการจะทำหลักสูตรที่ดีได้ จะต้องประเมินผลว่าหลักสูตรที่ใช้อยู่มีความเหมาะสมกับผู้เรียนหรือไม่ ผู้เรียนได้รับความรู้ตรงตามจุดประสงค์ของหลักสูตรหรือไม่ หลักสูตรที่ใช้อยู่มีข้อบกพร่องอะไรบ้างที่เราต้องทำการปรับปรุงแก้ไข ดังนั้นการจัดทำหลักสูต่รขึ้นมาจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการประเมินหลักสูตร


หมายเลขบันทึก: 542755เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2013 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2013 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท