ทฤษฎีหลักสูตร


สวัสดีคะท่านผู้อ่าน ดิฉันนางสาวกนกวรรณ โง้วศิลปศาสตร์ หรือเรียกชื่อเล่นในนาม มังกรหยก นะคะ สำหรับบทความในวันนี้ขอนำเสนอเรื่อง ทฤษฎีหลักสูตร ก่อนดิฉันต้องขออภัยหากบทความอาจมีการเบี่ยงเบนแต่อย่างใดเนื่องจาก ดิฉันได้ศึกษาเนื้อหาจาก Internet แต่ดิฉันจะพยายามศึกษาจากหนังสือ เพื่อต่อยอดความรู้ในบทความนี้ต่อไปนะคะ เพราะดิฉันเชื่อว่าการศึกษาไม่มีที่สิ้นสุดคะ หากท่านผู้อ่านท่านใดมีหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีหลักสูตรที่มีเนื้อหาที่ครอบคลุมกรุณาบอกต่อด้วยนะ ขอบพระคุณอย่างสูงคะ ^^


จากความเข้าใจในการศึกษาของดิฉัน มังกรหยก ก่อนอื่นเราจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คำว่า

          หลักสูตร  แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า “curriculum” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า “currere” หมายถึง “running course” หรื อ เส้นทางที่ใช้วิ่งแข่ง  ต่อมาได้นำศัพท์นี้มาใช้ในทางการศึกษาว่า “running sequence of courseor learning experience” (Armstrong, 1989 : 2)  การที่เปรียบเทียบหลักสูตรเสมือนสนามหรือลู่วิ่งให้ผู้เรียนจะต้องฟันฝ่าความยากของวิชา หรือประสบการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรเพื่อความสำเร็จ

ทฤษฎีหลักสูตร (Curriculum Theories)

            จากความหมายต่าง ๆ ของหลักสูตร การวางแผนพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องอาศัยความเชื่อและทฤษฎีต่าง ๆ ทางการศึกษาซึ่งมีนักการศึกษา ได้กำหนดไว้หลายแนว ดังนี้ 

1. หลักสูตรเป็นวิชาและเนื้อหาวิชา ผู้มองหลักสูตรในแนวนี้คือ ผู้ที่ยึดลัทธิสัจนิยม(Perennialism) และสาระนิยม (Essentialism) ตลอดจนผู้ที่ถือว่าการศึกษาคือการฝึกวินัยทางจิต (Mental Discipline) ซึ่งเห็นว่าหลักสูตรในโรงเรียนควรประกอบด้วยวิชาที่สำคัญที่จะธำรงไว้ซึ่งคุณลักษณะแห่งความเป็นมนุษย์และเป็นการฝึกสมอง เช่น วิชาที่ยาก ๆ โดยเฉพาะการศึกษาโครงสร้างของวิชาต่าง ๆ ที่จัดเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน เช่น โครงสร้างของวิชาคณิตศาสตร์เป็นตรรกศาสตร์ โดยเฉพาะการหาเหตุผลแบบอนุมาน ข้อสังเกตสำหรับการกำหนดหลักสูตรในแนวนี้ คือ ไม่ได้ให้ความสนใจและความสำคัญในผู้เรียน (ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาหลักสูตร) 

2. หลักสูตรเป็นประสบการณ์ ยึดลัทธิก้าวหน้านิยม (Progressivism) โดยเชื่อว่าวัฒนธรรมคือ สิ่งแวดล้อมของสังคม คนจะต้องยอมรับสภาพของสังคม และปรับสภาพสังคมให้ดีขึ้น จึงยึดหลักนักเรียนเป็นศูนย์กลาง (child centered) โดยดูความสนใจของผู้เรียนเป็นหลักในการสอนและการจัดประสบการณ์ให้เขา หลักสูตรจึงหมายถึงประสบการณ์ทั้งมวลที่นักเรียนพึงจะได้รับภายใต้การนำของครู 

3. หลักสูตรเป็นจุดประสงค์ ถือว่าการสอนเป็นหนทางอย่างหนึ่งที่จำนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนด 

4. หลักสูตรเป็นแผนการ หลักสูตรคือแผนการที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ เป็นสิ่งที่เกิดจากความตั้งใจและคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า โดยเพ่งเล็งไปที่จุดมุ่งหมายของการศึกษา รวมถึงการจัดวางหลักสูตรการนำหลักสูตรไปใช้ในด้านการปฏิบัติ คือ การสอน และการประเมินผลหลักสูตรเพื่อให้เหมาะกับสภาพท้องถิ่น 

5. หลักสูตรเป็นระบบการผลิต มองการให้การศึกษาเช่นเดียวกับระบบการผลิตสินค้า โดยคำนึงถึงทุนที่ได้ลงไปกับผลที่ตามออกมา จึงพยายามทำหลักสูตรให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด เช่น เขียนในรูปจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม มีการวิเคราะห์งาน วิเคราะห์กิจกรรมดังเช่น หลักสูตรระดับมัธยมศึกษา พ.ศ. 2521 

             นอกจากทฤษฎีข้างต้นนี้แล้วยังมีทฤษฎที่เกี่ยวข้องอีกทฤษฎีหนึ่ง  ซึ่งเป็นทฤษฎีที่สำคัญมากในกระบวนการจัดทำหลักสูตร  นั่นคือ  ทฤษฎีการเรียนรู้  

ทฤษฎีการเรียนรู้

             ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theories of Learning) เป็นพื้นฐานเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนการสอนซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้นี้จะเป็นหลักของการสอนและวิธีการสอน ทฤษฎีการเรียนรู้แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ

1. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

             นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ ได้ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เห็นชัด สามารถวัดได้ สังเกตได้และทดสอบได้ แนวความคิดของกลุ่มนี้ถือว่าสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง การแสดงพฤติกรรมจะมีความถี่มากขึ้นถ้าหากได้รับการเสริมแรง แต่นักจิตวิทยาบางคนในกลุ่มนี้ไม่เห็นด้วย และได้เสนอความคิดเห็นว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นถ้าหากได้รับการเสริมแรง แต่นักจิตวิทยาบางคนในกลุ่มนี้ไม่เห็นด้วย และได้เสนอความคิดเห็นว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ถ้ามีความใกล้ชิดระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนอง

            กมลรัตน์  หล้าสุวงษ์ (2523 : 23) ได้สรุปแนวความคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมไว้ว่าพฤติกรรมทุกอย่างจะต้องมีสาเหตุ สาเหตุนั้นมาจากวัตถุหรืออินทรีย์ ซึ่งเรียกสิ่งเร้า (Stimulus) เมื่อมากระตุ้นอินทรีย์ จะมีพฤติกรรมแสดงออกมาเรียกว่า การตอบสนอง (Response) ซึ่งก็คือพฤติกรรมจะเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้ามาเร้าอินทรีย์นั่นเอง

  กลุ่มพฤติกรรมนิยมสามารถจำแนกทฤษฎีการเรียนรู้หลัก ๆ ได้ 3 ทฤษฎี (พรรณี ช. เจนจิต. 2538 : 275-351)

  1. Classical Conditioning หมายถึง การเรียนรู้ใด ๆ ก็ตาม ซึ่งมีลักษณะการเกิดตามลำดับขั้น ดังนี้

           1.1 ผู้เรียนมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง โดยไม่สามารถบังคับได้ มีการสะท้อนกลับ (Reflex) ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการเรียนรู้ (Unlearned หรือ Unconditioned) เป็นไปโดยอัตโนมัติ ผู้เรียนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมได้

           1.2 การเรียนรู้เกิดขึ้นเพราะความใกล้ชิด และการฝึกหัดโดยการนำสิ่งเร้าที่มีลักษณะเป็นกลาง คือ ไม่สามารถทำให้เกิดการตอบสนองได้มาเป็น Conditioned Stimulus (CS) โดยนำมาควบคู่กับสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองในช่วงที่ผู้เรียนเกิดการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เคยเป็นกลางนั้นเรียกว่า เกิดการเรียนรู้ ชนิดมี Conditioned

  2. Operant Conditioning ทฤษฎีนี้ได้เน้นถึงความสำคัญของการเสริมแรงโดย Skinner มีความคิดเห็นว่า การเสริมแรงจะมีส่วนช่วยให้มนุษย์เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พฤติกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่จะเป็นไปในลักษณะที่ว่าอัตราการแสดงการกระทำต่าง ๆ มักจะมีการกระทำต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เสมอ ๆ พฤติกรรมใดก็ตามที่ได้เป็นการกระทำต่อสิ่งแวดล้อมในลักษณะที่ว่าเป็นผลชองอัตราการตอบสนองซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงได้ เราเรียกสิ่งที่ทำให้อัตราการตอบสนองของผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า ตัวเสริมแรง แต่ถ้าพฤติกรรมใดก็ตามไม่มีการเปลี่ยนแปลงแล้วหลักการของทฤษฎีนี้ถือว่าพฤติกรรมนั้นไม่ได้รับการเสริมแรง

           ทฤษฎีของ Skinner นี้อาจนำมาใช้ในการวัดพฤติกรรมหรือปลูกฝังพฤติกรรม หรือ สร้างลักษณะนิสัยใหม่ ๆ ได้ วิธีการวัดพฤติกรรมนี้จำเป็นจะต้องใช้สิ่งเสริมแรง เข้าช่วยในระยะที่ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่จะต้องการปลูกฝัง นั่นคือถ้าผู้เรียนกระทำพฤติกรรมที่ต้องการจะให้เกิดพฤติกรรมแล้วจะต้องรีบให้รางวัลโดยทันที

  3. Social Learning หรือ  การเรียนรู้ทางสังคม Bendura มีความเห็นว่า คนเรียนรู้ที่จะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมของตัวแบบ (ซึ่งตัวแบบแจจะได้รับแรงเสริมหรือไม่ได้)กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมจะประกอบด้วย

          3.1 ความใส่ใจ (Attention) จัดได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะถ้าผู้เรียนไม่มีความใส่ใจในการเรียนรู้ โดยการสังเกตหรือเลียนแบบก็จะไม่เกิดขึ้น

          3.2 การจดจำ (Retention) เมื่อผู้เรียนมีความสนใจในการเรียน ผู้เรียนก็จะสามารถจดจำสิ่งต่างๆ เหล่านั้นได้

          3.3 การลอกเลียนแบบ (Reproduction) เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนแปรสภาพสิ่งที่จำได้ ออกมาเป็นการกระทำหรือแสดงพฤติกรรมที่เหมือนหรืใกล้เคียงตัวแบบ

          3.4 แรงจูงใจ (Motivation) หมายถึง การเสริมแรง ซึ่งการเสริมแรงอาจจะมาจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยตรง หรือจากการคาดหวังว่าจะได้รับรางวัลเหมือนตัวแบบ (Vicarious) หรือจาการที่ตั้งมาตรฐานด้วยตนเองและได้ให้ข้อเสนอแนะว่า พฤติกรรมทางสังคมหลาย ๆ ชนิด เช่น ความก้าวร้าวอาจจะเรียนรู้ได้โยการเลียนแบบจากตัวแบบ นอกจากนั้นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับด้านวิชาการก็สามารถเรียนรู้ได้จาการสังเกตและเลียนแบบจากตัวแบบ เช่น  ความมานะพยายาม ความเชื่อมั่น ในตัวเองและทักษะทางสติปัญญา

2. ทฤษฎีความรู้ความเข้าใจหรือทฤษฎีปัญญา (Cognitive Theories)

            พรรณี ช. เจนจิต (2538: 404-406) ได้สรุปแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีความเห็นว่าการศึกษาพฤติกรรมควรเน้นความสำคัญของการะบวนการคิด และการรับรู้ของคน ได้ให้ข้อเสนอ แนะว่าคนทุกคนทีธรรมชาติภายในที่ใฝ่ใจใคร่เรียน เพื่อก่อให้เกิดสภาพที่สมดุล ดังนี้ นั้นการที่เด็กได้มีโอกาสเรียนตามความต้องการ และความสนใจของตน จะเป็นสิ่งที่มีความหมายสำหรับเด็กมากกว่าที่ครูหรือผู้อื่นจะบอกให้ ซึ่งก็คือ “การจัดการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ” 

            แนวความคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้มาจากหลักการของ Field theory ซึ่ง Lewin เป็นผู้เสนอไว้ ทฤษฎีนี้เน้นเกี่ยวกับการรับรู้ของคนซึ่งจะได้รับอิทธิพลทั้งจากวิธีการที่คนจัดสิ่งเร้าเพื่อให้เกิดการรับรู้หรือจากประสบการณ์ หรือจากความสนใจของบุคคล Lewin ได้อธิบายเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมของคนอันเนื่องมาจากการรับรู้ด้วย “Life Space” ซึ่งคนจะแสดงพฤติกรรมตามสิ่งที่ตนรับรู้ภายใน Life Space นั้นๆ ซึ่งถือว่าเป็น สิ่งแวดล้อมตามที่เรารับรู้ ดังนั้น ในการทำความเข้าใจพฤติกรรมของคน จำเป็นจะต้องรู้ทุก ๆ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับคน ๆ นั้นภายในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งโดยเฉพาะ แต่มีหลักการบางอย่างของจิตวิทยากลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลจากกลุ่ม Gestal ซึ่งเน้นเกี่ยวกับเรื่องความเข้าใจอย่างแท้จริง Bruner ได้ชี้ให้เห็นว่าในการจัดการเรียนการสอนนั้น วิธีที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และจำสิ่งที่เรียนไปแล้วได้คือการใช้ “เค้าโครง” หรือ “โครงสร้าง” เพื่อช่วยให้เด็กมองเห็นภาพรวมของสิ่งที่จะเรียนทั้งหมด ซึ่งจะทำให้เด็กสามารถเข้าใจหลักการของสิ่งที่เรียน ซึ่งจะสามารถนำไปใช้ในเรื่องอื่น ๆ  ได้อีก นอกจานั้นยังเป็นลู่ทางที่เด็กจะสามารถเรียนสิ่งอื่นที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ต่อไป

           ในด้านการจัดการเรียนการสอนนักจิตวิทยากลุ่มนี้ ได้เสนอให้ใช้เทคนิคของ Discovery ซึ่งหมายถึง การที่ให้เด็กได้คนพบวิธีแก้ปัญญาด้วยตนเอง ซึ่งจาการที่เด็กทำได้ด้วยตนเองเช่นนั้น จะช่วยพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง และทำให้เด็กคุ้นเคยกับทักษะของการแก้ปัญหา นอกจากนั้นยังมีการใช้เทคนิคของการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง การเปิดโอกาสให้เด็กทำผิดพลาดและการคิดผิด เพื่อที่จะได้ทราบความคิดของเด็ก ตลอดจนการใช้เทคนิคการสอบถาม (Inquiry) เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักการตั้งคำถาม

           ในปัจจุบันการจัดการศึกษาตามแนวความคิดของกลุ่มนี้ได้ให้ความสนใจกับการจัดการเรียนการสอนในลักษณะ Espoxitory ซึ่งก็คือ การสอนที่ครูให้ทั้งหลักเกณฑ์และผลลัพธ์แต่เป็นไปในลักษณะที่ผู้เรียนเรียนอย่างรู้ความหมาย โดยที่ถือว่าเป็นการเรียนรู้จะเดขึ้นได้ถ้าในการเรียนรู้สิ่งใหม่นั้นผู้เรียนเคยมีพื้นฐานเดิมซึ่งสามารถเชื่องโยงเข้ากับการเรียนรู้ใหม่ได้ ไม่ได้เป็นการเรียน สิ่งใหม่ทั้งหมดโดยไม่ได้นำความรู้เดิมมาใช้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นการจัดการเรียนการสอนก็จะเป็นไปในลักษณะของการท่องจำ

3. ทฤษฎีของกลุ่มมนุษยนิยม (Humanisticism)

           กลุ่มมนุษยนิยมจะคำนึงถึงความเป็นคนของคน จะมองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่ว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีที่ติดตัวมาแต่เกิด มนุษย์เป็นผู้ที่มีอิสระสามารถที่จะนำตนเองและพึ่งตนเองได้ เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำประโยชน์ให้สังคม มีอิสรเสรีภาพที่จะเลือกทำสิ่งต่าง ๐ ที่จะไม่ทำให้ผู้ใดเดือดร้อน ซึ่งรวมทั้งตนเองด้วย มนุษย์เป็น(ที่มีความรับผิดชอบและเป็นผู้สร้างสรรค์สังคม

           Maslow (อ้างใน พรรณี ช. เจนจิต 2538: 438-439) ได้เสนอแนวคิดใหม่ เรียกว่า Third Force Psychology ซึ่งมีความเชื่อพื้นฐานว่า “ถ้าให้อืสรภาพแก่เด็กเด็กจะเลือกสิ่งทีดีสำหรับตนเอง พ่อแม่และครูได้รับการกระตุ้นให้มีความไว้วางใจในตัวเด็กและควรเปิดโอกาสและช่วยให้เด็กเจริญเติบโตต่อไป ไม่ใช่ใช้วิธีการควบคุมและบงการชีวิตของเด็กทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามที่ตนเองต้องการ

           สรุปได้ว่า (อ้าง ภรณ์ชนก บูรณะเรข) แนวความคิดของกลุ่มมนุษย์นิยมที่เกี่ยวกับการศึกษา  คือ นักเรียนควรจะได้รับความช่วยเหลือให้มีความเข้าใจในตนเอง  มีจุดยืนเป็นของตนเองอย่างชัดเจนว่า ตนเองมีความต้องการสิ่งใดแน่และมีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร  เพราะในปัจจุบันมีสิ่งที่เด็กจะต้องตัดสินใจเลือกมากมาย  คนที่มีจุดยืนที่แน่นอนเท่านั้นจึงจะสามารถเลือกสิ่งที่มีความหมายและก่อให้เกิดความพึงพอใจให้กับตนเองให้ดีที่สุด  นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีความเห็นตรงกันว่า เด็กควรได้รับความช่วย เหลือจากครูในทุกด้านไม่ใช่เฉพาะการได้รับความรู้  หรือการมีความเฉลียวฉลาดเพียงอย่างเดียว แต่ควรได้รับความช่วยเหลือให้รู้จักศึกษาและสำรวจเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก และทำความเข้าใจเกี่ยว กับความรู้สึกนึกคิด  เจตคติ  และจุดมุ่งหมายความต้องการของตนเอง 

4. ทฤษฎีผสมผสาน  ( Integrated Theory )

               ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Gagne  ( อ้างใน  ปรียาพร  วงศ์อนุตรโรจน์ 2543 : 86-88 ) ได้ผสมผสานทฤษฎีพฤติกรรมนิยมกับทฤษฏีความรู้ความเข้าใจ  แล้วสรุปเป็น 8  ขั้นตอนในการเรียนรู้

              1. การเรียนรู้สัญญาณ  ( Sign  Learning ) เป็นการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับต่ำสุด  เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจ  เช่น  จกการทดลองการหลั่งน้ำลายของสุนัข  เมื่อสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่ง  ตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขของ Pavlov การเรียนรู้สัญญาณเป็นสิ่งที่เราสามารถสังเกตเห็นจากชีวิตประจำวันของเรา  ได้แก่  การกระพริบตา  เมื่อมีของมากระทบตาเรา

              2. การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  ( Stimulus  Response  Learning ) เป็นการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายต่อสิ่งเร้า  เป็นการเน้นข้อต่อระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยผู้เรียนเป็นผู้กระทำเอง  เช่น  การทดลองจิกแป้นสีของนกพิราบจากการทดลองของ Skinner

              3. การเรียนรู้การเชื่อมโยง  ( Chaining ) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองติดต่อกับเป็นการเรียนรู้ในด้านทักษะ  เช่น  การเขียน  การอ่าน  การพิมพ์ดีด  และการเล่นดนตรี  เป็นต้น

              4. การเชื่อมโยงทางภาษา  ( Verbal  Association ) เป็นการเชื่อมโยงความหมายทางภาษาโดยออกมาเป็นคำพูด  แล้วจึงใช้ตัวอักษร  เช่น  การเรียนการใช้ภาษา รวมทั้งการเขียนตัวอักษรด้วย

              5. การแยกประเภท  ( Multiple  Discrimination  Learning ) เป็นความสามารถในการแยกสิ่งเร้าและการตอบสนอง  ผู้เรียนเห็นความแตกต่างของสิ่งของประเภทเดียวกัน  เป็นการจำแนกความแตกต่างด้านทักษะและภาษา  สามารถแยกลักษณะของลายเส้นจากหมึกได้

              6. การเรียนรู้ความคิดรวบยอด  ( Concept  Learning ) เป็นความสามารถที่ผู้เรียนมองเห็นลักษณะร่วมของสิ่งต่างๆ  เช่น  เมื่อนึกถึงวิทยุก็นึกถึงความถี่ของเสียง  การใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่การรับฟังข่าวสารบันเทิงได้

              7. การเรียนรู้หลักการ  ( Principle  Learning ) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการนำความคิดรวบยอดสองความคิดหรือมากกว่านั้นมาสัมพันธ์กัน แล้วสรุปตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น  เช่น  ไฟฟ้าเป็นสื่อนำความร้อน

              8. การเรียนรู้การแก้ปัญหา  ( Problem - Solving ) การเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากที่ผู้เรียนนำหลักการที่มีประสบการณ์มาก่อนมาใช้ในการแก้ปัญหา  เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและปัญหา  เช่น  ไฟฟ้าเป็นสื่อนำความร้อน  เราก็นำไฟฟ้ามาใช้หุงต้มได้

         ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการผสมผสานหลักการเรียนรู้ตามทฤษฎีต่าง ๆ  เข้ามาร่วมกันเพื่อทำให้นักเรียนสามารถเลือกใช้หรือเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว  ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องมีการผสมผสานหลักทฤษฎีเข้าด้วยกัน   การจัดกระบวนการให้เชื่อมโยงถ่ายโอนความรู้หรือแยกแยะให้เห็นความแตกต่าง  แล้วเอาความรู้พื้นฐานของตนมาร่วมคิดประกอบก่อนตัดสินใจ ตอบสนอง  หรือแก้ปัญหานั้น ๆ

         สรุปได้ว่า  ในการจัดการเรียนการสอนนั้นสิ่งสำคัญในการทำหลักสูตรคือ  เราต้องรู้ก่อนว่ามีทฤษฎีใดที่อ้างอิงได้บ้างโดยศึกษาทฤษฎีเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับพัฒนาการและวัยของผู้เรียน  และพัฒนาหลักสูตรอยู่เสมอเพื่อการศึกษาของประเทศไทยเราจะได้มีความก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไปคะ

ขอบขอบคุณแหล่งอ้างอิง  ดังนี้

http://course-4.blogspot.com/2010/07/blog-post_21.html

http://gunyalak06540159.blogspot.com/2013/03/curriculum-theory.html

https://sites.google.com/site/wachirapornampai/thvsdi-hlaksutr

http://tinnaporn41.blogspot.com/2013/03/2-curriculum-theory.html

คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฎีหลักสูตร
หมายเลขบันทึก: 542570เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2013 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 สิงหาคม 2013 07:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ไอเดีย กูดเลยอะ สุดยอดเลยจ๊า

- เวลาที่กำหนดหัวเรื่องให้ศึกษา ก็เพื่อให้คุณศึกษาเรื่องนั้นๆอย่างเข้าใจ
- การศึกษาอย่างกว้างขวางเป็นเรื่องที่ดี น่าชมเชย 
- แต่ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นหัวข้อที่ต่างออกไปจากทฤษฎีหลักสูตร
- เมื่อคุณนำมารวมกันกับทฤษฎีหลักสูตร (มีประมาณ 30% ของเนื้อหาที่คุณนำเสนอ) ก็พบว่า คุณหลงทาง เพราะคุณนำหลายๆเรื่องมาสรุปรวม โดยไม่ได้สรุปเรื่องที่ให้ศึกษา 

คะ  เข้าใจแล้วคะ หนูจะศึกษาให้ถูกประเด็น  ทำความเข้าใจก่อนว่าหัวข้อที่จะศึกษาคืออะไรและมีเนื้อหาอะไรที่สอดคล้องตรงประเด็นนะคะ  ขอบคุณคะอาจารย์ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท