ข้อมูลเบื้องต้นกรณีศึกษา ทารกคลอดก่อนกำหนด


จากการที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสได้ไปฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกกิจกรรมบำบัด ณ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ในภาคเรียนฤดูร้อนที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้มีโอกาสให้การรักษาทางกิจกรรมบำบัด ในผู้รับบริการทารกคลอดก่อนกำนหนด โดยข้อมูลเบื้องต้นของผู้รับบริการ มีดังนี้

ชื่อ เด็กชายเอ (นามสมมติ) เพศ ชาย อายุ3 เดือน

การวินิจฉัยโรค ภาวะขาดสารอาหาร (Dehydration of Newborn)

อาการสำคัญทารกมีร่างกายรูปร่างเล็กกว่าเด็กปกติ มีพัฒนาการล่าช้า ยังไม่สามารถชันคอได้ ดูดนมได้ในปริมาณที่น้อย

บริบทของการให้บริการผู้รับบริการเข้ารับการรักษาในวอร์ดผู้ป่วยเด็ก ณ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ในช่วงแรกมีการให้การรักษาทางกิจกรรมบำบัดบนวอร์ด และเพื่อความสะดวกในการให้การรักษา จึงให้คุณแม่พาเด็กมารับการรักษาทางกิจกรรมบำบัด ก่อนการให้นมในช่วงเช้าของทุกวัน 

บริบทของชีวิตผู้รับบริการ ผู้รับบริการต้องมีการให้อาหารทางสายยาง เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ควบคู่กับการให้การรักษาทางกิจกรรมบำบัดในการกระตุ้นการดูดกลืน เนื่องจากเด็กสามารถดูดนมได้เองในปริมาณน้อย ส่งผลให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร เด็กจึงมีรูปร่างเล็ก และมีพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าเด็กปกติ

ความเชื่อส่วนบุคคลของผู้ให้บริการ สิ่งที่เป็นอุปสรรคในการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดรายนี้ คือ การที่ผู้ปกครองยังมีความเชื่อที่ผิดๆในการเลี้ยงดูบุตร เช่น ความเชื่อในการอาบน้ำให้เด็กบ่อยๆจะทำให้เด็กโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการที่เด็กจะเติบโตได้นั้น ขึ้นอยู่กับสารอาหารที่เด็กได้รับในแต่ละวัน นอกจากนี้ยังมีปัญหาในการอุ้มเด็กเนื่องจากเป็นคุณแม่มือใหม่ ท่าทางและวิธีการอุ้มเด็กจึงยังดูไม่ค่อยมั่นใจ และมีปัญหาในเรื่องของสถานที่ซึ่งพื้นที่บนวอร์ดนั้นมีจำกัดจึงทำให้การให้บริการทางกิจกรรมบำบัดทำได้ลำบากยิ่งขึ้น ภายหลังจึงให้ผู้รับบริการลงไปที่แผนกกิจกรรมบำบัดซึ่งมีพื้นที่ที่เหมาะสมมากกว่า โดยการให้การรักษาทางกิจกรรมบำบัดนั้นมีจุดประสงค์หลัก คือ การกระตุ้นการดูดกลืนของเด็ก ให้สามารถดูุดนมได้ด้วยตนเอง และกระตุ้นพัฒนาการให้สมวัย

ทัศนคติและความคากหวังเชิงพฤติกรรมของผู้ให้บริการ ในลำดับแรกผู้รับบริการจะต้องให้การบริการด้วยความเต็มใจ ให้บริการอย่างเต็มความสามารถ มีการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้ปกครองและญาติ ให้ข้อมูลการรักษาตามความเป็นจริง นอกจากนี้ควรมีการสอนทักษะการกระตุ้นอย่างง่ายให้ผู้ปกครองได้ฝึกกระตุ้นเด็กต่อเนื่อง เมื่อสิ้นสุดการให้บริการโดยนักกิจกรรมบำบัด

กรอบอ้างอิงของผู้ให้บริการ  Developmental Frame of Reference 




หมายเลขบันทึก: 542334เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2013 00:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2013 00:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท