การให้เหตุผลทางคลินิก (ข้อมูลทั่วไป) : ผู้รับบริการมะเร็งโพรงจมูก (Nasopharynx cancer)



ผู้รับบริการ นายศร (นามสมมติ)   อายุ 71 ปี เข้ารับบริการทางกิจกรรมบำบัดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2556 ด้วยอาการอ่อนแรงของร่างกายซีกขวา ก่อนหน้านี้เคยเข้ารับการรักษาแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น ญาติจึงพาเข้ามารับการรักษาที่กรุงเทพ ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Cerebral infarction) มีอาการอ่อนแรงของร่างกายซีกขวา เหนื่อยง่าย ต้องเคลื่อนย้ายตัวเองด้วยล้อเข็น รวมถึงมีปัญหาการกลืน เนื่องจากเคยเข้ารับการฉายรังสีรักษาโรคมะเร็งโพรงจมูก (Nasopharynx cancer) ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอเกิดการหดรั้ง ไม่สามารถเคลื่อนไหวขากรรไกรได้เป็นปกติ การควบคุมริมฝีปากทำได้ไม่ดี ต้องคอยเช็ดน้ำลายตลอด จึงต้องใส่สายอาหารไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดการสำลัก ปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อผู้รับบริการเป็นอย่างมากในเรื่องของการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะเรื่องการกินและการเคลื่อนย้ายตัวเอง


ซึ่งจากกรณีศึกษาสามารถสรุปเป็นเนื้อหาของการให้เหตุผลทางคลินิกทางกิจกรรมบำบัดได้ ดังนี้


บริบทของการให้บริการ

ปัจจัยที่ส่งเสริมผลลัพธ์ในการให้บริการ


          - การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้รับบริการและการให้บริการ
          - ผู้รับบริการมีสุขภาพจิตที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีกำลังใจในการต่อสู้กับภาวะความเจ็บป่วย
          - ผู้รับบริการให้ความร่วมมือในการรักษาเป็นอย่างดี 

          - ผู้รับบริการเห็นคุณค่าและความสำคัญของการทำกิจกรรมบำบัดเพื่อผลประโยชน์ของตน

ปัจจัยที่จำกัดผลลัพธ์ในการให้บริการ

          - ภาวะความเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น ความทนทานของร่างกายในการทำกิจกรรมมีน้อย ความดันต่ำ


บริบทของชีวิตผู้รับบริการ

          ผู้รับบริการมีแรงจูงใจที่จะกลับไปเดินได้ และสามารถรับประทานอาหารได้ทางปาก แต่ยังไม่สามรถทำได้เนื่องจากความบกพร่องทางร่างกาย เช่น อาการอ่อนแรงของร่างกาย เหนื่อยง่าย และมีเสียงแหบพร่าหลังจากจิบน้ำซึ่งเป็นอาการแสดงถึงความผิดปกติของเส้นเสียงซึ่งมีความเสี่ยงต่อการสำลักมาก ผู้รับบริการสามารถยอมรับความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นได้ และมีกำลังใจที่ดีในการเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู


ความเชื่อส่วนบุคคลของผู้ให้บริการ

          ผู้รับบริการมีกำลังใจที่ดีขึ้นเมื่อเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในทางที่ดีขึ้น เช่น หยิบลูกบอลได้มากขึ้น เสียงแหบพร่าลดลง 


ทัศนคติและความคาดหวังเชิงพฤติกรรมของผู้ให้บริการ

        ผู้รับบริการกล่าวว่าเมื่อเข้ามารับบริการในแผนกกิจกรรมบำบัดแล้วมีความสุข ได้หัวเราะ ไม่น่าเบื่อ มีแรงจูงใจที่ดีที่จะเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้มีความก้าวหน้าในการรักษาที่ดีขึ้น


กรอบอ้างอิงของผู้ให้บริการ

        ใช้กรอบอ้างอิง PEOP 

          P - person มองที่ตัวผู้รับบริการ ฟื้นฟูความสามารถทั้งทางร่างกาย เช่น เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ เพิ่มความทนทานของร่างกายในการทำกิจกรรม และทางด้านจิตใจ

          E - environment สิ่งแวดล้อมรอบตัวของผู้รับบริการ เช่น แนะนำการปรับสภาพบ้าน เพิ่มทางลาด ปรับการใช้ฝักบัวแทนการตักอาบ ลดข้อจำกัดทางกายภาพต่างๆทำให้ผู้รับบริการสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากที่สุด รวมถึงสิ่งแวดล้อมทางสังคม เช่น กำลังใจจากญาติ พี่น้องของผู้รับบริการ

          O - occupation ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ เช่น กิจกรรมการดูแลตนเอง กิจกรรมยามว่าง การทำงาน การพักผ่อน เป็นต้น

          P - performance ความสามารถที่ผู้รับบริการแสดงออกมา มีข้อจำกัด/ส่วนที่ส่งเสริมการทำกิจกรรมได้อย่างไร


เมื่อนำข้อมูลส่วนต่างๆมาแยกประเด็นจะทำให้เราสามารถมองผู้รับบริการได้ครบถ้วนมากขึ้น และสามารถหาเหตุผลทางคลินิกเพื่ออธิบายกระบวนการรักษาที่ให้ได้ดียิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 542321เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2013 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2013 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สมัยเรียน พบ มากมาก ครับ เดี๋ยวนี้ไม่แน่ใจเป็นอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท