เหตุการณ์ในอียิปต์


เหตุการณ์ในอียิปต์: นี่คือโอกาสแห่งการเรียนรู้

ทุกเหตุการณ์ที่ผ่านบนหน้าประวัติศาสตร์ ไม่ว่ามันจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม ไม่ว่ามันจะเป็นประวัติศาสตร์เล็กๆของคนๆหนึ่ง หรือว่าเป็นประวัติศาตร์ของประเทศที่ยิ่งใหญ่อย่างอียิปต์ ต่างมีบทเรียนที่มีค่าทั้งสิ้น แต่คนๆหนึ่ง หรือคนกลุ่มหนึ่งจะไม่ได้รับบทเรียนอะไรเลย ถ้าเมื่อวันหนึ่งประวัติศาสตร์ได้จารึกอะไรบางอย่าง เช่น การล้มอำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในอียิปต์ที่ผ่านมา แล้วเราไม่เปิดหัวใจให้กว้าง เพื่อจะได้วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนและรอบด้าน เราก็คงขาดกำไรที่โลกได้ลงทุนไว้อย่างมากมายในประวัติศาสตร์ ไม่เสียดายหรือ ? ถ้าโลกได้ลงทุนไปด้วยมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล ชีวิต และเวลาของคนนับล้าน ซึ่งประเมินค่าไม่ได้ แต่เรากลับเก็บเกี่ยวอะไรไม่ได้เท่าที่ควร เพราะเรายึดติดกับแนวความคิดใดแนวคิดหนึ่ง ไม่เคยคิดจากมุมมองของผู้อื่น และมีความมั่นใจจนเกินพิกัด ว่าสิ่งที่อยู่ในมือคือคำตอบสุดท้าย

ในช่วงที่การเมืองอียิปต์กำลังร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ ผมจึงถือโอกาสเก็บเกี่ยวดอกผลแห่งการเรียนรู้ให้มากที่สุด และขอถือโอกาสแชร์ให้ทุกคนด้วย

เริ่มต้นกันเลย

ต่อไปนี้เป็นข้อเขียนที่น่าคิดจาก SAMER S. SHEHATA ในหัวข้อ "In Egypt, Democrats vs. Liberals" ตามลิงค์ต่อไปนี้
http://www.nytimes.com/2013/07/03/opinion/in-egypt-democrats-vs-liberals.html?_r=3&

"Egypt has a dilemma: its politics are dominated by democrats who are not liberals and liberals who are not democrats.

The Muslim Brotherhood, Mr. Morsi’s Islamist movement, accepts — indeed excels at — electoral competition. Voters in 2012 gave it a far stronger grip on power than poll numbers had suggested. But that was foreseeable: though outlawed, the group built an effective political machine, starting in the 1980s, as individual members ran (as independents) in legislative and professional labor-union elections, even though Mr. Mubarak always found artifices to deny them real power.

Fair elections have improved the Brotherhood’s campaign skills. But it hasn’t fully committed to pluralism or to equal rights for minorities. It participates in democracy, but doesn’t want to share power.

Many in the opposition, on the other hand, believe fiercely in minority rights, personal freedoms, civil liberties and electoral coalition-building — as long as the elections keep Islamists out of power. In other words, they are liberal without being democrats; they are clamoring fervently for Mr. Morsi’s ouster and want the military to intervene. But they have proved themselves woefully unequipped to organize voters. Though my heart is with their democratic goals, I must admit that their commitment to democratic principles runs skin deep."

ซึ่งพอที่จะแปลความได้ดังนี้

"อียิปต์มีปัญหาที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกอยู่อย่างหนึ่ง: นั่นคือการเมืองของอียิปต์ถูกปกคลุมไปด้วยผู้ที่ชอบแนวคิดประชาธิปไตย (democrats) แต่ไม่ยอมรับเสรีนิยม และพวกเสรีนิยม (liberals) ที่ขาดความเป็นประชาธิปไตย

กลุ่มภราดรภาพมุสลิม ซึ่งเป็นกระบวนการเคลื่อนไหวที่นำโดยนายมุรซีย ยอมรับ และเก่งในการแข่งขันเลือกตั้ง ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในปี 2012 ได้ให้อำนาจแก่พวกเขามากกว่า คะแนนที่เขาได้รับมากมาย อันนี้ก็พอที่จะทายได้ไม่ยากนัก เพราะถึงแม้ว่ากลุ่มภราดรภาพมุสลิมจะถูกจัดว่าเป็นกลุ่มนอกกฏหมาย (ในสมัยของประธานาธิบดีมุบาร็อก) พวกเขาก็สามารถสร้างกลไกทางการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ปี 1980 โดยที่พวกเขาได้ลงสมัครเลือกตั้งในนามผู้ลงสมัครอิสระทั้งในการเลือกตั้ง ทั่วไป หรือในการเลือกตั้งของสมาคมวิชาชีพ ถึงแม้ว่านายมุบาร็อกจะมองออก และสามารถกีดกั้นพวกเขาไม่ให้มีอำนาจอย่างแท้จริงเกือบทุกครั้ง

การเลือกตั้งที่โปร่งใสและยุติธรรมทำให้พวกเขามีทักษะดีขึ้นในการหาเสียง เลือกตั้ง แต่พวกเขาไม่ยอมทุ่มเทให้กับการอยู่ร่วมกันแบบพหุสังคม (Pluralism) หรือให้สิทธิแต่กลุ่มอื่นๆที่มีจำนวนน้อยกว่าให้เท่าเทียมกับพวกเขา พวกเขาเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนประชาธิปไตย แต่ไม่ต้องการที่จะแชร์อำนาจ

ส่วนฟากที่เป็นฝ่ายตรงข้าม มีความเชื่ออย่างแรงกล้าในสิทธิของชนกลุ่มน้อย สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเหมือนดังเช่นสังคมที่พัฒนาแล้ว พร้อมทั้งการสร้างพันธมิตรร่วมหลังการเลือกตั้ง ตราบเท่าที่ผลการเลือกตั้งไม่ทำให้พวกอิสลามิสต์ไม่มีส่วนร่วมในอำนาจ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือพวกเขาเป็นพวกเสรีนิยมที่ไม่ค่อยเป็นประชาธิปไตย พวกนี้ตะโกนไล่นายมุรซียอย่างสุดเสียง และต้องการให้ทหารเข้ามายึดอำนาจ แต่พวกเขาเหล่านี้ได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าพวกเขาขาดความพร้อมที่จะดึงดูดผู้ ลงคะแนนเสียงให้เลือกพวกเขา ถึงแม้ว่าหัวใจของผมเข้าใจในเป้าหมายในเชิงประชาธิปไตยของพวกเขา แต่ผมก็ต้องยอมรับว่าความเข้าใจและการทุ่มเทของพวกเขาต่อประชาธิปไตยนั้น ตื้นเขินมาก"

นี่คือข้อกล่าวหาที่มีต่อกลุ่มภราดรภาพมุสลิม "พวกเขาไม่ยอมทุ่มเทให้กับการอยู่ร่วมกันแบบพหุสังคม (Pluralism) หรือให้สิทธิแต่กลุ่มอื่นๆที่มีจำนวนน้อยกว่าให้เท่าเทียมกับพวกเขา พวกเขาเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนประชาธิปไตย แต่ไม่ต้องการที่จะแชร์อำนาจ"

พวกเรามีความเห็นอย่างไร ? มีข้อแก้ต่างให้กับกลุ่มภราดรภาพมุสลิมอย่างไร ?

หมายเลขบันทึก: 541912เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2013 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2013 16:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท