ทฤษฎีหลักสูตร


ดิฉันนางสาววรรษมน โลกานุวัตรเสถียรได้ทำการสืนค้นจากอินเทอร์เน็ตเรื่อง ทฤษฎีหลักสูตร 

ได้ข้อมูลดังนี้

ทฤษฎีหลักสูตร (สืนค้นจากอินเทอร์เน็ต)

จากความหมายต่าง ๆ ของหลักสูตร การวางแผนพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องอาศัยความเชื่อและทฤษฎีต่าง ๆ
ทางการศึกษา ซึ่งมีนักการศึกษาได้กำหนดไว้หลายแนวดังนี้

1. หลักสูตรเป็นวิชาและเนื้อหาวิชา ผู้มองหลักสูตรในแนวนี้คือ ผู้ที่ยึดลัทธิสัจนิยม ( Perennialism ) และ

สาระนิยม ( Essentialism ) ตลอดจนผู้ที่ถือว่าการศึกษาคือการฝึกวินัยทางจิต ( Mental Discipline ) ซึ่งเห็นว่า หลักสูตรในโรงเรียนควรประกอบด้วยวิชาที่สำคัญที่จะธำรงไว้ซึ่งคุณลักษณะแห่งความเป็นมนุษย์และเป็นการฝึกสมอง เช่น วิชาที่ยาก ๆ โดยเฉพาะการศึกษาโครงสร้างของวิชาต่าง ๆ ที่จัดเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน เช่น โครงสร้างของวิชาคณิตศาสตร์เป็นตรรกศาสตร์ โดยเฉพาะการหาเหตุผลแบบอนุมาน ข้อสังเกตสำหรับการกำหนดหลักสูตรในแนวนี้ คือ ไม่ได้ให้ความสนใจและความสำคัญในผู้เรียน (ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาหลักสูตร )

2. หลักสูตรเป็นประสบการณ์ ยึดลัทธิก้าวหน้านิยม ( Progressivism ) โดยเชื่อว่าวัฒนธรรมคือ สิ่งแวดล้อมของสังคม คนจะต้องยอมรับสภาพของสังคม และปรับสภาพสังคมให้ดีขึ้น จึงยึดหลักนักเรียนเป็นศูนย์กลาง  ( child centered ) โดยดูความสนใจของผู้เรียนเป็นหลักในการสอนและการจัดประสบการณ์ให้เขา หลักสูตรจึงหมายถึงประสบการณ์ทั้งมวลที่นักเรียนจะพึงได้รับภายใต้การนำของครู

3. หลักสูตรเป็นจุดประสงค์ ถือว่าการสอนเป็นหนทางอย่างหนึ่งที่จะนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนด

4. หลักสูตรเป็นแผนการ หลักสูตรคือแผนการที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ เป็นสิ่งที่เกิดจากความตั้งใจและคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า โดยเพ่งเล็งไปที่จุดมุ่งหมายของการศึกษา รวมถึงการจัดวางหลักสูตรการนำหลักสูตรไปใช้ในด้านการปฏิบัติ คือ การสอน และการประเมินผลหลักสูตรเพื่อให้เหมาะกับสภาพท้องถิ่น

5. หลักสูตรเป็นระบบการผลิต มองการให้การศึกษาเช่นเดียวกับระบบการผลิตสินค้า โดยคำนึงถึงทุนที่ได้ลงไปกับผลที่ตามออกมา จึงพยายามทำหลักสูตรให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด เช่น เขียนในรูปจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม มีการวิเคราะห์งาน วิเคราะห์กิจกรรม ดังเช่น หลักสูตรระดับมัธยมศึกษา พ.ศ. 2521

ดร. ฉวีวรรณ เศวตมาลย์

http://chanida-puk.blogspot.com/2009/07/blog-post_7359.html

สรุปการศึกษาค้นคว้า เรื่อง ทฤษฎีหลักสูตร

หลักสูตรมีความสำคัญและความจำเป็นอย่างมากในกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพราะหลักสูตรจะสามารถบอกให้ทราบว่าผู้เรียนจะบรรลุจุดมุ่งหมายได้อย่างไร และจะต้องจัดเนื้อหาสาระอย่างไรให้เหมาะสม ควรจะใช้เครื่องมือวัดผลประเมินผลอย่างไร ดังนั้นหลักสูตรจึงเป็นหัวใจสำคัญในการจัดการเรียนการสอน   และเป็นตัวกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ และเป็นไปตามที่ประเทศชาติต้องการ


คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฎีหลักสูตร
หมายเลขบันทึก: 541617เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013 21:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กรกฎาคม 2013 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สุดยอดเลยเจ้ส่งคู่เลยนะ

ตกลงว่า "ทฤษฎีหลักสูตร" กับ "หลักสูตร" เหมือนกันไหมคะ

ทฤษฎีหลักสูตรคือรากฐานของหลักสูตรค่ะ

ดังนั้นทฤษฎีหลักสูตร คือ การอธิบายความหมายของหลักสูตร และแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบต่างๆ

เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและการประเมินผลค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท