Evidence based practice : ผู้รับบริการโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือ อัมพาตครึ่งซีก (Hemiparesis)


จากการที่ดิฉันได้ฝึกปฏิบัติงานทางคลินิก ได้หาหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence based pract) มาอ้างอิงการรักษา ดังนี้

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับกรณีศึกษา

§  ผู้รับบริการชื่อ นายพล (นามสมมติ)  อายุ 39 ปี

§  อาชีพ : ออกแบบหลังคาโรงงาน

§  การวินิจฉัยโรค : อัมพาตครึ่งซีกในร่างกายซีกขวา(Right hemiparesis)

จากโรคหลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic stroke)

§  มีอาการอ่อนแรงขวาร่างกายซีกขวา โดยปัญหาทางกิจกรรมบำบัดส่วนใหญ่ คือ การควบคุมการเคลื่อนไหวของแขน มีอาการเกร็งเล็กน้อย บริเวณข้อศอก และนิ้วมือ

§  อาการต่างๆ ส่งผลต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพ

§  ความต้องการของผู้รับบริการคือ สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และกลับไปประกอบอาชีพได้

หลักฐานที่เชิงประจักษ์ที่นำมาอ้างอิง

1. Stroke survivors talk while doing: Development of a therapeutic framework

for continued rehabilitation of hand function post stroke

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาในผู้รับบริการที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีปัญหาในด้านการทำหน้าที่ของมือ (Hand function)โดยกลไกของการฟื้นฟู มีการประเมินมุมมองของ บุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีโรคหลอดเลือดสมองที่มีข้อ จำกัดในการทำงานของมือการกู้คืน เพื่อ นำไปสู่การพัฒนากรอบทฤษฎีสำหรับการทำความเข้าใจกระบวน

  จากหลักฐานนี้ได้กล่าวถึง การรักษาที่ทำคือ มีการฝึกการทำกิจกรรมทั้งสองมือ(Bilateral activity) การทำกิจกรรมมือเดียว (Unilateral activity) และการฝึกการทำหน้าที่ของมือ (Hand function) โดยมีการจัดกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการทำกิจกรรม ไม่เพียงแต่ทำกิจกรรมบนโต๊ะเท่านั้น เช่น กิจกรรมยามว่างที่ผู้รับบริการสนใจ เกม งานศิลปะ เป็นต้น

ผลสรุป : รูปแบบการฟื้นฟูเหล่านี้ จะสามารถนำไปต่อยอดการรักษา ในบริบทสิ่งแวดล้อม หรือที่บ้านของผู้รับบริการได้

Total PEDro score : 4/10

+/-“อาจทำหรือไม่ทำ” รายงานการศึกษาไม่เพียงพอในการสนับสนุนถึงประสิทธิผล เช่น กำลังสถิติไม่เพียงพอ ไม่เป็นตัวแทนประชากรไทย แสดงประสิทธิศักย์ระยะสั้น อยู่ในระหว่างการติดตามความปลอดภัยมีการออกแบบการวิจัยไม่เหมาะสม เป็นต้น

2.A randomized controlled trial of Cognitive Sensory Motor Training Therapy on the recovery of arm function in acute stroke patients

วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินประสิทธิภาพของฝึกความรู้ความเข้าใจ การรับความรู้สึกในการเคลื่อนไหว สำหรับการฟื้นฟูการทำหน้าที่ของแขนกับการรักษาทางกิจกรรมบำบัดทั่วไป ในผู้รับบริการโรคหลอดเลือดสมองแบบเฉียบพลัน

  จากหลักฐานนี้ได้สุ่มเลือกผู้รับบริการ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ฝึกความรู้ความเข้าใจ การรับความรู้สึกในการเคลื่อนไหว(Perfetti’s method) กับ กลุ่มการรักษาทางกิจกรรมบำบัดทั่วไป (conventional occupational therapy)โดยทำการรักษา ครั้งละ 30 นาที จำนวน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ทั้งหมดเป็นเวลา 4 สัปดาห์

ผลสรุป : จากการวิเคราะห์ทางการศึกษา พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างการศึกษา ทั้ง 2 กลุ่ม ซึ่งการรักษาเหล่านี้สามารถนำมาฟื้นฟู การทำหน้าที่ของแขนและมือของผู้รับบริการที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองได้

Total PEDro score : 8/10

++ “ควรทำ” มีความเหมาะสมกับสถานการณ์และสถานภาพของการประกอบวิชาชีพในประเทศไทย และ มีความคุ้มค่าเป็นอย่างยิ่งในบริบทของผู้รับบริการ หรือสังคมไทย

เอกสารอ้างอิง

-  Rosanna C. Sabini , Marcel P.J.M. Dijkers , Preeti Raghavan.Stroke survivors talk while doing: Development of a therapeutic framework for continued rehabilitation of hand function post stroke. 2013; 26:124-131

-  Ratanapat Chanubol, Parit Wongphaet, Napapit Chavanich, Cordula Werner, Stefan Hesse, Anita Bardeleben and Jan Merholz,et al.A randomized controlled trial of Cognitive Sensory Motor Training Therapy on the recovery of arm function in acute stroke patients. 2012; 26(12):1096-1104


หมายเลขบันทึก: 541613เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013 21:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท