กิ้งกือ


                                                              กิ้งกือ

                                          นายอานนท์ ภาคมาลี (หมอแดง)

                
 

กิ้งกือ เป็นชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายวงศ์ มีเปลือกตัวแข็ง ลำตัวยาวแบ่งเป็นปล้อง ไม่แบ่งอกหรือท้องให้เห็น ปล้องตามลำตัวจับกันเป็นคู่ตามยาวยืดหดเข้าหากันได้ ทำให้สามารถขดตัวเป็นวงกลมได้เมื่อถูกรบกวน ปล้องแต่ละคู่จะมีขาสองคู่ ยกเว้นปล้องแรกไม่มีขา ปล้องที่สองถึงสี่มีขาเพียงคู่เดียว จำนวนขาอาจมีได้ถึงสองร้อยสี่สิบคู่ ชนิดตัวโตที่พบบ่อย ๆ

กิ้งกือ หรือสัตว์พันขา โดยมีประวัติยาวนานกว่า 400 ล้านปี กิ้งกือทุกชนิดมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศ ต้นไม้ในป่าเขตร้อนอาจไม่สามารถยืนต้นได้หากไม่มีกิ้งกือ ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายเศษซากพืช ใบไม้ ลูกไม้ ให้กลายเป็นแร่ธาตุอาหารกลับคืนสู่ธรรมชาติโดยมีจุลินทรีคอยช่วยเหลือ กิ้งกือทำหน้าที่นี้มายาวนานหลายล้านปี ซากพืชที่กิ้งกือกินเข้าไป ก็จะถูกถ่ายออกมาเป็นมูลก้อนเล็ก ๆ คล้ายยาลูกกลอน ที่มีทั้งจุลินทรีและสารอินทรีย์ที่ช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดิน เช่นเดียวกับมูลของไส้เดือนและหอยทาก

กิ้งกือ  พบกระจายอยู่ทั่วโลก ส่วนมากไม่กัดหรือต่อย แต่บางชนิดหลั่งสารพิษออกมาได้
กิ้งกือมีรูปร่างกลมยาว ขนาดประมาณ 30 cm. ผิวลำตัวภายนอกแข็ง มีหลายสี แต่ส่วนใหญ่สีส้ม มีปล้องมาก แต่ละปล้องมีขา 2 คู่ พวกที่มีพิษมีต่อมหลั่งสารพิษอยู่ตลอด 2 ข้างลำตัว บางชนิดสามารถทำให้ฉีดพุ่งออกมาได้ในระยะใกล้ๆ  กิ้งกือเป็นขาข้อที่อาศัยอยู่บนบก มักพบตามใต้ก้อนหิน ในดิน และกองใบไม้ที่ร่วงทับถมกัน ชอบที่ชื้นแฉะ ชุกชุมในฤดูฝน
ออกหากินในเวลากลางคืน กิ้งกือตัวเมียวางไข่ไว้ตามพื้นดิน ใช้เวลาฟัก 2 - 3 วัน ตัวอ่อนมี 3 ปล้อง ขา 3 คู่  ตัวอ่อนลอกคราบ 2 - 7 วัน จึงเป็นตัวเต็มวัยตัวเต็มวัยมีอายุนาน 1 - 7 ปี สารพิษของกิ้งกือมีไว้สำหรับป้องกันตัวเองจากศัตรู
ลักษณะเป็นของเหลวไม่มีสี พิษทำให้ผิวหนังไหม้เป็นสีเหลืองน้ำตาล และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลภายใน 24 ชั่วโมง แผลไหม้  มีอาการปวดอยู่ประมาณ 2 วัน ทำให้เกิดการระคายเคือง ถ้าสารพิษเข้าตาอาจทำให้ตาอักเสบได้
การรักษา พิษของกิ้งกือต้องทำก่อนตะวันตกดิน วิธีโบราณก็ทำได้โดย ใบมะกรูด ใบมะยม พริกขี้หนูตำ แล้ว ทา แต่ท่ามียาสามัญประจำบ้านแล้วก็ทำได้โดยการล้างแผลบริเวณที่ถูกกัด แล้วใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดบริเวณที่ถูกพิษ เพื่อล้างสารพิษออก ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน หากพิษเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำอุ่นและปรึกษาจักษุแพทย์ทันที


หมายเลขบันทึก: 541589เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เพิ่งทราบว่ากิ้งกือก็มีพิษนะ  ขอบคุณสำหรับความรู้ที่นำมาแบ่งปันจ้ะคุณหมอแดง

...ตอนเด็กๆกลัวมากค่ะ...กลัวที่มีขาเยอะมากๆ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท