กิจกรรมบำบัดกับภาวะกลืนลำบากในผู้ป่วยมะเร็งโพรงจมูก (Nasopharynx cancer)


ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้รับบริการ(กรณีศึกษา)

  • นายศร (นามสมมติ) อายุ 71 ปี  
  • ได้รับการวินิจฉัยเป็น cerebral infarction(สมองตายจากการอุดตันของเส้นเลือดในสมอง)
  • อาการสำคัญ คือ แขนขาขวาอ่อนแรง มีภาวะกลืนลำบากต้องใส่สายให้อาหาร
  • มีประวัติการฉายแสงเพื่อรักษามะเร็งโพรงจมูก (Nasopharynx cancer) เมื่อปี 2552

หลักฐานอ้างอิงชิ้นที่ 1

รวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับการให้การรักษาผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่มีปัญหาการกินและการกลืน

ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่มีเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน การรักษาที่จะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิต เช่น การทำเคมีบำบัด การฉายรังสี รวมถึงการผ่าตัดล้วนส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผลข้างเคียงระยะยาวที่มาจากการรักษามะเร็งคือปัญหาการกินและการดื่ม มีภาวะกลืนลำบาก (dysphagia), กล้ามเนื้อขากรรไกรหดเกร็งทำให้ปิดปากไม่สนิท, ภาวะปากแห้ง, ความสามารถในการเคี้ยวลดลง และการรับรสในช่องปากที่ผิดปกติไป 
สรุปผลการรักษาที่ใช้จากงานวิจัย 27 ฉบับ มี 15 งานวิจัยที่เน้นการฝึกกลืน 8 งานวิจัยที่เน้นการรักษาเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของขากรรไกร และ4 งานวิจัยที่ใช้ทังการฝึกกลืนและเพิ่มการเคลื่อนไหวของขากรรไกร

ยังไม่มีงานวิจัยใดที่เน้นการรักษาโดยให้คนไข้เป็นศูนย์กลางและเน้นการรักษาด้านจิตใจและทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการรับประทาน

การกำหนดน้ำหนัก : + “น่าทำ” 


หลักฐานอ้างอิงชิ้นที่ 2

ได้ทดลองการรักษาสองแบบกับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบากจากการรักษาโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ โดย

กลุ่มแรกได้รับการกระตุ้นกล้ามเนื้อที่ใช้กลืนด้วยไฟฟ้า - neuromuscular electrical stimulation (NMES) 30นาทีและฝึกกลืนตามกระบวนการฟื้นฟูปกติ ( oral motor exercises, pharyngeal swallowing exercises, use of compensatory strategies during meals, thermal/tactile stimulation, Mendelsohn maneuver and diet-texture modifications ) อีก 30 นาที เป็นเวลา 5 วัน/สัปดาห์ ติดต่อกัน 2สัปดาห์

กลุ่มที่สองได้รับการกระตุ้นไฟฟ้าหลอกร่วมกับการฝึกกลืนโดยทั่วไป

ผลที่ได้คือไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างสองกลุ่ม แต่การให้การรักษาร่วมกันระหว่างการกระตุ้นไฟฟ้าและการฝึกการกลืนจะได้ผลดีมากกว่าการฝึกกลืนเพียงอย่างเดียว

total PEDro score : 7/10

การกำหนดน้ำหนัก : +/- “อาจทำหรือไม่ทำ”เพราะการรักษาโดยการกระตุ้นไฟฟ้ามีค่าใช้จ่ายแต่ละครั้งค่อนข้างสูง ซึ่งเห็นผลทีไม่แตกต่างมากนักกับการฝึกกลืนโดยทั่วไป


หลักฐานอ้างอิงชิ้นที่ 3

ศึกษาผลของการกระตุ้นไฟฟ้า functional electrical stimulation (FES) ในผู้ป่วยมะเร็งโพรงจมูก (Nasopharynx cancer) ที่มีภาวะการกลืนลำบากจากการฉายรังสี

โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างผู้ทดลอง 20 คนออกเป็นสองกลุ่ม

กลุ่มแรก ให้การกระตุ้นไฟฟ้า - functional electrical stimulation (FES) ที่กล้ามเนื้อ supra-hyoid 15 ครั้ง

กลุ่มที่สอง ให้ home program เกี่ยวกับการฝึกกลืนด้วยตนเองที่บ้าน ( Range of motion exercise, Resistance exercise, Tongue-hold exercise, Effortful swallow, Shaker exercise ) ทำซ้ำไม่ต่ำกว่า 10 ครั้งในแต่ละท่า 2 ครั้ง/วัน

สรุปผล กลุ่มที่ได้รับการกระตุ้นไฟฟ้า (FES) มีความสามารถในการกลืนเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่กลุ่มที่ทำ home program ไม่พบการเปลี่ยนแปลง

total PEDro score : 4/10

การกำหนดน้ำหนัก : +/- “อาจทำหรือไม่ทำ” เพราะ การไม่พบความเปลี่ยนแปลงในการรักษาผู้ที่มีภาวะกลืนลำบากโดยการให้ home program อาจมีเหตุมาจากปัจจัยอื่นๆเช่น ผู้รับบริการมีความเข้าใจในโปรแกรมที่ผู้ให้บริการให้หรือไม่ ผู้รับบริการได้ทำโปรแกรมนั้นจริงหรือไม่ และถ้าทำ ผู้รับบริการทำถูกขั้นตอนหรือไม่ ซึ่งการโทรเพื่อติดตามผลเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ


References

Cousins N, MacAulay F, Lang H, MacGillivray S, Wells M. A systematic review of interventions for eating and drinking problems following treatment for head and neck cancer suggests a need to look beyond swallowing and trismus. Oral Oncology 2013;49:387–400.

Ryu JS, Kang JY, Park JY, Namb SY, Choi SH, Roh JL, et al. The effect of electrical stimulation therapy on dysphagia following treatment for head and neck cancer. Oral Oncology 2009;45:665–668

Lin PH, Hsiao TY, Chang YC, Ting LL, Chen WS, Chen SC, et al. Effects of functional electrical stimulation on dysphagia caused by radiation therapy in patients with nasopharyngeal carcinoma. Support Care Cancer 2011;19:91–99

หมายเลขบันทึก: 541579เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013 12:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013 13:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท