กระบวนการให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัดในผู้รับบริการน้ำร้อนลวก


จากการฝึกงานช่วงฤดูร้อน ข้าพเจ้าได้พบกับผู้รับบริการท่านหนึ่ง ชื่อ ว.(นามสมมติ) เพศหญิง อายุ 58ปี ประกอบอาชีพขายน้ำเต้าหู้
ซึ่งมีข้อมูลของผู้รับบริการ ดังนี้
การวินิจฉัยโรคคือ Burn at Left Arm and Hand (น้ำร้อนลวกบริเวณมือและแขนข้างซ้าย)
สาเหตุของโรคคือ ผู้รับบริการถือหม้อน้ำเต้าหู้แล้วเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มทำให้น้ำเต้าหู้ลวกบริเวณมือและแขนข้างซ้าย
ข้างที่ถนัดคือ มือขวา
อาการสำคัญคือ กำมือซ้ายไม่ได้สุดช่วงการเคลื่อนไหว
ความต้องการของผู้รับบริการคือ ต้องการกำมือได้สุดช่วงการเคลื่อนไหว และต้องการใช้มือทำงานได้คล่องแคล่วเหมือนเดิม

             สำหรับกรณีศึกษาคุณว. ข้าพเจ้าในฐานะนักศึกษากิจกรรมบำบัด ได้ค้นหาข้อมูลความรู้ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการให้เหตุผลทางคลินิก เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับประโยชน์ในการรักษาสูงสุด ดังนี้
ส่วนที่1 ทฤษฎีและวิทยาศาสตร์ 
1) ความรู้เกี่ยวกับโรค ผลกระทบของโรคต่อการทำหน้าที่ของร่างกาย และกิจกรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์

                                 

จุดประสงค์: ศึกษาผลกระทบระยะยาวของผู้รับบริการที่โดนน้ำร้อนลวกในวัยผู้ใหญ่ตอนปลาย (อายุ 55 ปีขึ้นไป)
กลุ่มตัวอย่าง: แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่ม1 อายุ 55-64ปี  กลุ่ม2 อายุ 65-74ปี  กลุ่ม3 อายุ >74ปี
การประเมิน: วัดผลของdistress(ความทุกข์) functional impairment(การทำหน้าที่ที่บกพร่อง) และQuality of Life(คุณภาพชีวิต) หลังจากออกโรงพยาบาล จำนวน 3 ครั้ง คือ 6 เดือน 1 ปี และ 2 ปี ตามลำดับ
แบบประเมิน: 
1. distress(ความทุกข์) โดย Brief Symptom Inventory Score
2. functional impairment(การทำหน้าที่ที่บกพร่อง) โดย the Functional Independence Measure
3. Quality of Life(คุณภาพชีวิต) โดย Short Form-36
ผลการประเมิน: พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้ง3 กลุ่ม มีความทุกข์เพิ่มขึ้น มีความสามารถในการดูแลตนเองและการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง และมีคุณภาพชีวิตทั้งส่วนของร่างกายและจิตใจลดลง จากการวิจัยนี้ยังบ่งชี้อีกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอายุมากกว่า 74 ปี จะมีคะแนนต่ำที่สุด

(อ้างอิง: Matthew B, Dennis C, Sonya Heltshe, James Fauerbach, Radha K, Frederick P,Tam Pham, Loren Engrav. Functional and Psychosocial Outcomes of Older Adults After Burn Injury: Results From a Multicenter Database of Severe Burn Injury. Journal of Burn Care & Research 2011;32,66-78.)
การให้คะแนนหลักฐานสนับสนุนฉบับแรก เท่ากับ + “น่าทำ”
การให้คะแนน PEDro scale ดังนี้

Internal Validity Score: 2/8
Statistical Reporting Score: 2/2
• Randomly allocated: Yes (P.66)
• Between-group comparisons: Yes (P.68)
• Concealed allocation: No
• Point estimates and variability: Yes (P.68)
• Baseline comparability: No
Eligibility Criteria Specified: Yes(P.67)
• Blind subjects: No

• Blind therapists: No

• Blind assessors: No

• Adequate follow-up: No

• Intention-to-treat: Yes (P.67)


2) กรอบอ้างอิงที่เหมาะสมในการอธิบายคุณค่าของวิชาชีพต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการ

                            

จุดประสงค์: อธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของกรอบอ้างอิงICFกับผู้รับบริการน้ำร้อนลวก
รายละเอียด: การนำICF มาใช้ในการประเมินความสามารถของผู้รับบริการทำให้บุคลากรทางการแพทย์มองผู้รับบริการเป็นภาพรวมมากขึ้น ทำให้สามารถระบุปัญหา และวางแผนการรักษาได้อย่างชัดเจน
กรณีศึกษา: คุณว. เกิดอุบัติเหตุน้ำร้อนลวก ทำให้เกิดความบกพร่องทางร่างกาย เช่นกำมือไม่ได้สุดช่วงการเคลื่อนไหว ส่งผลต่อกิจกรรมที่ถูกจำกัด คือกิจกรรมถักหมวกไหมพรม และการประกอบอาชีพขายน้ำเต้าหู้ 

(อ้างอิง: Grisbrook TL, Stearne SM , Reid SL, Wood FM , Rea SM , Elliott CM. Demonstration of the use of the ICF framework in detailing complex functional deficits after major burn. Burns2012;38:32-43.)
การให้คะแนนหลักฐานสนับสนุนฉบับที่2 เท่ากับ +/- “อาจทำหรือไม่ทำ” 
การให้คะแนน PEDro scale ดังนี้

Internal Validity Score: 2/8 Statistical Reporting Score: 1/2
• Randomly allocated: No • Between-group comparisons: Yes (P.35)
• Concealed allocation: No • Point estimates and variability: No
• Baseline comparability: No Eligibility Criteria Specified: No
• Blind subjects: No  
• Blind therapists: No  
• Blind assessors: No  
• Adequate follow-up: Yes (P.33)   
• Intention-to-treat: Yes (P.33)  


ส่วนที่2 กระบวนการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์

                                   

จุดประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว การทำหน้าที่ของมือ และการทรงตัวของผู้รับบริการในที่ได้รับอุบัติเหตุน้ำร้อนลวก
กลุ่มตัวอย่าง: ผู้รับบริการน้ำร้อนลวก จำนวน 11คน อายุเฉลี่ย 50ปี ได้รับการรักษาทางกิจกรรมบำบัดทั้งหมด 35วัน
การประเมิน:
1. ช่วงการเคลื่อนไหว 4 ข้อต่อ ได้แก่หัวไหล่ ข้อศอก สะโพก และหัวเข่า โดย Goniometer
2. การทำหน้าที่ของมือ โดย Jebsen Hand Function Test
3. การทรงตัว โดย Berg balance Scale
ผลลัพธ์:
1. ช่วงการเคลื่อนไหวทั้ง 4 ข้อต่อเพิ่มขึ้น
2. การทำงานของมือข้างถนัดเพิ่มขึ้น 42% การทำงานของมือข้างที่ไม่ถนัดเพิ่มขึ้น 33%
3. ความเสี่ยงในการทรงตัวลดลงจากระดับเสี่ยงปานกลางเป็นระดับเสี่ยงน้อย
        

(อ้างอิง: Jeffrey C, Huaguang D, John Lowry, Joseph Walker, Elizabeth Vitale, Marissa Zona. Efficacy of inpatient burn rehabilitation: A Prospective pilot study examining ROM, hand function and balance. Burns2012;38:164-171.)
การให้คะแนนหลักฐานสนับสนุนฉบับที่3 เท่ากับ + “น่าทำ”
การให้คะแนน PEDro scale ดังนี้

Internal Validity Score: 3/8 Statistical Reporting Score: 2/2
• Randomly allocated: Yes (P.165) • Between-group comparisons: Yes (P.166)
• Concealed allocation: No • Point estimates and variability: Yes (P.166)
• Baseline comparability: Yes (P.168) Eligibility Criteria Specified: Yes(P.165)
• Blind subjects: No  
• Blind therapists: No  
• Blind assessors: No  
• Adequate follow-up: Yes (P.167)
 
• Intention-to-treat: No  

             สรุปจากการหาหลักฐานสนับสนุนทั้ง 3 ฉบับ สามารถนำมาใช้ในการประเมิน การตั้งเป้าหมายในการรักษา การวางแผนในการรักษา และการสนับสนุนสมมติฐาน ยกตัวอย่างเช่น กรณีศึกษาของ คุณว. เป้าหมายระยะสั้น คือ การเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของมือเพิ่มขึ้น 5 องศา ภายใน 3 สัปดาห์ หลังจากให้บริการทางกิจกรรมบำบัดแล้ว ประเมินซ้ำพบว่าคุณ ว. มีช่วงการเคลื่อนไหวของมือเพิ่มขึ้นในแต่ละข้อต่อประมาณ 5-10 องศา ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยข้างต้น

             สำหรับการนำไปปรับใช้กับกรณีศึกษา คุณว. ควรใช้การวัดการทำงานของมือหรือความคล่องแคล่วของมือเปรียบเทียบเป็น% ก่อนและหลังการให้การรักษาทางกิจกรรมบำบัด เหมือนกับตัวอย่างหลักฐานสนับสนุนฉบับที่3

หมายเลขบันทึก: 541525เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2013 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กรกฎาคม 2013 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จากบทความข้างต้น การบำบัดฟื้นฟูของนักศึกษากิจกรรมบำบัดมีความเหมือนกับหลักฐานสนับสนุนฉบับที่3 ในเรื่องกระบวนการรักษาทางกิจกรรมบำบัด และผลลัพธ์ของการรักษา ดังนี้
กระบวนการรักษาทางกิจกรรมบำบัด
1. การเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อบริเวณมือ เช่น กิจกรรมเสียบหมุด กิจกรรมกำลูกบอลใส่ตะกร้า
2. การเพิ่มความแข็งแรงของมือ เช่น กิจกรรมหนีบไม้หนีบผ้า กิจกรรมยกหม้อน้ำเต้าหู้
3. การเพิ่มความคล่องแคล่วของมือ เช่น กิจกรรมมัดหนังยางถุงน้ำเต้าหู้ กิจกรรมถักหมวกไหมพรม
ผลลัพธ์ของการรักษา
จากการตั้งเป้าประสงค์ระยะสั้น คือผู้รับบริการมีช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อบริเวณมือเพิ่มขึ้น 5 องศา ภายใน 3 สัปดาห์ เมื่อนักศึกษากิจกรรมบำบัดประเมินซ้ำ พบว่าผู้รับบริการมีการเคลื่อนไหวของข้อต่อบริเวณมือเพิ่มขี้นอยู่ในช่วง 5-15 องศา ซึ่งสอดคล้องกับผลลัพธ์ของหลักฐานสนับสนุนฉบับที่3

ส่วนสิ่งที่แตกต่างคือ หลักฐานสนับสนุนฉบับที่3 ศึกษาในผู้รับบริการในของโรงพยาบาล(IPD) ส่วนกรณีศึกษา
คุณว. เป็นผู้รับบริการนอก (OPD)


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท