ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4


ชื่อเรื่อง  ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้ศึกษา  นายมนตรี  ภิรมย์ชม

ปีการศึกษา 2555

บทคัดย่อ

  การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การหาร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80

2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การหาร และ 3) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านหนองแวง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 23 คน

  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การหาร จำนวน 16 แผน แบบฝึกเสริมทักษะจำนวน 6 เล่ม แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของแบบฝึกเสริมทักษะ การสังเกตการณ์ร่วมกิจกรรม และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การหาร แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งแบบทดสอบมีค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ 0.25 -  0.79 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.29 – 0.86 ค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.81 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ดังนี้ คะแนนแบบฝึกเสริมทักษะและคะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)

  ผลการศึกษา พบว่า

  1. แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การหาร มีประสิทธิภาพ 88.29 /89.42 หมายความว่า นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การหาร คิดเป็นร้อยละ 88.29 และได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 89.42 แสดงว่า แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่องการหาร ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการศึกษา

  2. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.7660 แสดงว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.60 ซึ่งมีดัชนีประสิทธิผลสูงกว่า .50 เป็นไปตามสมมติฐานของการศึกษา

  3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.12 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 26.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.44 เมื่อทดสอบค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน t-test แบบ Paired Samples T test มีค่า t เท่ากับ 11.34 ซึ่งมากกว่าค่า t – ตาราง (1.7171) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เป็นไปตามสมมติฐานของการศึกษา 


หมายเลขบันทึก: 541316เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2013 13:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กรกฎาคม 2013 13:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท