มุมมองประเทศไทยในสายตาของ พ่อเล็ก กุดวงศ์แก้ว




          นายเล็ก กุดวงค์แก้ว เป็นบุคคลที่สมควรได้รับการยกย่องในฐานะที่ท่านเป็น “ปราชญ์ชาวบ้าน” และเป็นผู้นำตามธรรมชาติของชุมชน ผลงานที่โดดเด่นของนายเล็ก คือ การเผยแพร่ความคิดในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสานกับแนวคิดทางพุทธศาสนา แนวความคิดของนายเล็กสามารถนำไปปฏิบัติและก่อให้เกิดผล อีกทั้งยังสัมพันธ์กับวิถีเศรษฐกิจของชาวบ้าน บนพื้นฐานของการใช้ชีวิตอย่างพออยู่ พอกิน

ปัจจุบันนายเล็ก สามารถสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการ “พึ่งพาตนเอง พึ่งพาธรรมชาติด้วยความเคารพ” ในกว่า 300 หมู่บ้าน 94 อำเภอ ในจังหวัด 3 จังหวัด และเป็นคณะกรรมการและวิทยากรให้หลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ หน่วยงานเอกชนและองค์กรชาวบ้านหลายแห่งทั่วประเทศ

         นายเล็ก กุดวงศ์แก้ว นับเป็นปราชญ์ชาวบ้านอีสานอีกท่านหนึ่ง ที่ได้เผยแพร่แนวความคิดด้านเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรยั่งยืน เศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจวัฒนธรรม โดยมีรูปธรรมการปฏิบัติอย่างชัดเจน แนวทางการปฏิบัติดังกล่าวเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ ที่ไม่แยกการศึกษาจากชีวิต เป็นการศึกษาเพื่อการอยู่ร่วมกับธรรมชาติศึกษา ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันด้วยความเกื้อกูล ศึกษาเพื่อสร้างเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาเพื่อลดการเห็นแก่ตัว และเห็นแก่ผู้อื่นมากขึ้น

           เครือข่ายกลุ่มอินแปงที่นายเล็กเป็นประธานเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง ประกอบด้วยชุมชน 7 อำเภอรอบเทือกเขาภูพาน เป็นตัวอย่างของชีวิตที่งดงาม เป็นชีวิตที่ถนอมรักธรรมาชาติ ถนอมรักคน ถนอมรักการอยู่ร่วมกัน ถนอมรักวัฒนธรรม และมีจิตใจที่เกื้อกูลกัน

           ชีวิตของนายเล็กในระยะต้นไม่แตกต่างจากชาวบ้านบ้านบัว หรือหมู่บ้านใกล้เคียงที่ตั้งอยู่เชิงเทือกเขาภพาน ขณะนั้นป่าลดความอุดมสมบูรณ์ไปมากจากการที่ชาวบ้านถางป่าเพื่ปลูกบ่อตั้งแต่ พ.ศ. 2507 และเพื่อปลูกมันสำปะหลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 นายเล็กเองก็ปลูกปอตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 และเพื่อปลูกมันสำปะหลังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 นายเล็กเองก็ปลูกปอเพื่อขายอยู่ 3 ปี จากนั้นเปลี่ยนมาปลูกมันสำปะหลังอีก 3 ปี ในระหว่างนั้นก็เกิดตั้งคำถามว่า ทำไมยิ่งปลูกพืชเศรษฐกิจ ยิ่งจน ยิ่งเป็นหนี้สิน คำตอบที่นายเล็กได้รับมาจากการพูดคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านที่ให้ความคิดเรื่อง “เฮ็ดอยู่ เฮ็ดกิน” หรือการใช้ชีวิตคแบบพออยู่ พอ กิน เหมือนในอดีต

            ในปี พ.ศ. 2530 จึงหันมาศึกษาป่าธรรมชาติบทเทือกเขาภูพานใกล้บ้านบัว บ้านเกิดและบ้านที่อยู่ในปัจจุบัน โดยมีผู้เฒ่าผู้แก่เป็นผู้ให้ความรู้ จากนั้นจึงจัดระบบชีวิตของตนเองและครอบครัวเสียใหม่ โดยใช้แนวคิด “ยกป่าภูพานมาไว้ที่บ้าน” และความคิด “ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก” นำพืชพื้นบ้านประมาณ 200 ชนิดมาปลูกในดินของตนเองประมาณ 5 ไร่ ไม่ใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ถือเป็นการ “สร้างป่าใหม่ให้ชีวิต” และได้ขุดสระน้ำ 2 บ่อ เพื่อเป็น “แม่น้ำสายใหม่ให้ครอบครัว” เมื่อทดลองได้ผลจึงขยายพื้นที่เป็น 23 ไร่เพื่อให้พอเลี้ยงครอบครัว ซึ่งมีสมาชิก 14 คน ในพื้นที่ปลูกทั้งไม้ผล ไม้ใช้สอย ไม้ยืนต้นหลายชนิด และเลี้ยงทั้งวัว ควาย ไก่พื้นบ้าน ในที่สุดก็สามารถปลดหนี้สินลูกหลานไม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน(1)


                               

1.  พ่อเล็ก กุดวงศ์แก้ว จากรายการ คนค้นฅน 


2. พ่อเล็ก กุดวงศ์แก้ว พูดถึงแนวคิด วิธีคิด วิธีมอง การดำเนินชีวิตของผู้คน ชุมชน ในปัจจุบัน
(เสวนาสัญจรคนค่อนศตวรรษ โดยมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ที่ อบต.หลุบเลา จังหวัดสกลนคร)



                               


(1)  http://pttinternet.pttplc.com/greenglobe/2543/personal-03.html


<p></p>

หมายเลขบันทึก: 541167เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2013 13:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2013 00:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท