ความพึงพอใจ



                                                     ทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ 
1. แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ


ความพึงพอใจเป็นกระบวนการทางจิตใจ ( Mental Process ) ที่เกี่ยวข้องกับความรู้

          ความรู้สึกความตั้งใจซึ่งทำให้คนเกิดจิตสำนึก ( Consciousness ) เนื่องจากจิตสำนึกของคนจะเกี่ยวข้องกับวัตถุหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดกล่าวคือคนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับวัตถุหรือสิ่งนั้นๆเสียก่อนเมื่อมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้นๆแล้วคนก็จะเกิดความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจในสิ่งนั้นเพราะความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจเกิดจากการรับสัมผัส (Sensation)ทั้งนี้ความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจเป็นความรู้สึกไม่ใช่กิจกรรมหรือการกระทำใดๆทั้งสิ้นแต่เป็นต้นเหตุไปสู่การกระทำ( มหาวิทยาลัยรามคำแหงคณะศึกษาศาสตร์ภาควิชาจิตวิทยา 2524 : 155 – 156 )

สุโทเจริญสุข ( 2520 : 180 ) ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้ว่า“Satisfaction “ หมายถึงความพออกพอใจสมหวังดังหมายไว้

กูด ( Good , 1973 : 320) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้ว่าความพึงพอใจหมายถึงคุณภาพสภาพหรือระดับความพึงพอใจซึ่งเป็นผลมาจากความสนใจต่างๆและทัศนคติของบุคคลที่มีต่องาน

สุปันราสุวรรณ์ ( 2540 : 49 ) สรุปว่าความพึงพอใจหมายถึงความรู้สึกเชิงบวกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วส่งผลต่อการกระทำหรือพฤติกรรมของบุคคลนั้น

2. ความสำคัญของความพึงพอใจ

            อินทิราเพ็งแก้ว ( 2538:12-13 ) และตระกูลสุวรรณดี ( 2538 : 30-31 )ได้ศึกษาทัศนะของนักวิชาการแล้วประมวลความสำคัญของความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยสรุปไว้ดังนี้

          1. ความพึงพอใจก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การหรือหน่วยงาน

          2. ความพึงพอใจเสริมสร้างให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจอันดีต่อกันและต่อองค์การหรือหน่วยงาน

          3. ความพึงพอใจเสริมสร้างให้ผู้ปฏิบัติงานมีความซื่อสัตย์ความจงรักภักดีต่อองค์การหรือหน่วยงาน

          4. ความพึงพอใจก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะและมีการรวมพลังเพื่อกำจัดปัญหาในองค์การร่วมกัน

          5.ความพึงพอใจช่วยเกื้อหนุนให้กฎเกณฑ์ระเบียบและข้อบังคับสามารถใช้บังคับควบคุมความประพฤติของผู้ปฏิบัติงานให้คงอยู่ในระเบียบวินัยอันดี

          6. ความพึงพอใจก่อให้เกิดความเชื่อมั่นและศรัทธาในองค์การร่วมมือกันปฏิบัติงาน

          7. ความพึงพอใจช่วยเกื้อหนุนให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความสร้างสรรค์ในกิจการต่างๆ

3. องค์ประกอบหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ

               การที่บุคคลในองค์กรจะเกิดความรู้สึกพึงพอใจในการปฏิบัติงานมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของสิ่งจูงใจที่องค์กรมีอยู่ถ้าองค์กรมีปัจจัยที่มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานบุคคลในองค์กรนั้นย่อมเกิดความพึงพอใจมากซึ่งได้มีนักวิชาการหลายท่านได้ทำการศึกษาไว้ดังนี้
  อารีเพชรผุด (2526: 132) ได้กล่าวไว้ว่าองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจในงานมี 5 ประการ

         1. การได้รับผลตอบแทนในระดับสูงกล่าวคือได้ค่าแรงสูงมีสภาพการทำงานสะดวก

         2. สบายมีสิ่งอำนวยความสะดวกมีอิสระในการทำงานมีเพื่อนฝูงที่เข้าใจและมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันเป็นต้น

         3. การได้รับสิ่งตอบแทนที่ไม่ได้คาดหวังมาก่อนจะรู้สึกพึงพอใจมากกว่าที่ตนคาดหวังแต่ถ้าเป็นสิ่งที่ตนคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนมากกว่าที่ได้จริงความรู้สึกไม่พอจะเกิดขึ้น

        4. การได้รับผลตอบแทนที่ยุติธรรมถ้าผลตอบแทนที่ได้รับนั้นห่างไกลจากความคาดหวังไม่ว่าต่ำเกินไปหรือสูงเกินไปความรู้สึกไม่พอจะเกิดขึ้น

       5. การได้รับความเป็นอิสระและเป็นตัวของตัวเองในขณะทำงานโดยเฉพาะความเป็นอิสระในการทำงานศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิจากการทำงานเพราะฉะนั้นบุคคลกลุ่มนี้จึงต้องการความเป็นอิสระและความเป็นตัวของตัวเองมากในขณะที่บุคคลอื่นอาจไม่มีความต้องการก็ได้

สมยศนาวีการ (2538:221 - 223) กล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความพึงพอใจในการทำงานคือ

       1. ผลตอบแทนได้แก่ค่าจ้างเงินเดือนสำคัญต่อการสร้างความพึงพอใจมากเพราะผลการตอบแทนสามารถใช้ตอบสนองความต้องการของคนได้หลายอย่างเช่นอาหารเสื้อผ้าที่พักอาศัยการพักผ่อนและอื่นๆ

       2. การเลื่อนตำแหน่งการเลื่อนตำแหน่งจะทำให้ความรับผิดชอบและผลตอบแทนสูงขึ้นงานระดับสูงจะให้ความเป็นอิสระความท้าทาย

       3. การบังคับบัญชาการบังคับบัญชาที่สร้างความพึงพอใจในการทำงานมีสองลักษณะคือการมุ่งคนและการมีส่วนร่วม

      4. ลักษณะงานลักษณะของงานที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจในการทำงานมีอยู่ 2 ลักษณะคือความหมายของงานและการควบคุมวิธีการทำงาน

      5. กลุ่มงานได้แก่การมีเพื่อนร่วมงานที่ร่วมมือและเป็นมิตร

      6. สภาพแวดล้อมการทำงานได้แก่อุณหภูมิความชื้นการระบายอากาศแสงสว่างและ

เสียงตารางเวลาการทำงานความสะอาดของสถานที่ทำงานและเครื่องมือที่เพียงพอ

เอกชัยกี่สุขพันธ์ (2533:124 - 125)ได้กล่าวถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจไว้ดังนี้

1. สัมฤทธิผลของงาน (Achievement) คนเป็นจำนวนมากที่ต้องการความสำเร็จในการทำงานและพอใจในการมีส่วนสร้างสรรค์งานที่มีความสำคัญให้แก่บริษัทถ้าผู้บริหารยอมรับในข้อนี้ก็ย่อมสนับสนุนให้บุคคลได้มีโอกาสประสบผลสำเร็จในการทำงานตามศักยภาพ
(Potential) ของแต่ละบุคคล

2. การยอมรับ (Recognition) โดยปกติแล้วคนทุกคนมีความรู้ความสามารถและทักษะในการทำงานที่แตกต่างกันดังนั้นถ้าผู้บริหารแสดงออกถึงพฤติกรรมการยอมรับในความคิดหรือความสามารถของบุคคลไม่ว่าจะเป็นคำยกย่องชมเชยหรือการให้
Feedback ที่เหมาะสมจะมีส่วนจูงใจในการทำงานได้มาก

ที่มา:www.dusitcenter.org


หมายเลขบันทึก: 540917เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2013 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2013 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ น้องสาวคนดี

พี่ไปอ่านประวัติแล้วนะค่ะ

พี่อรเป็นรุ่นพี่ นานนนนนน มาแล้วค่ะ

วันนี้ยุ่งมากๆ จะมาใหม่นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท