เรียนรู้จากการกระทำ 1 ชาตรี สำราญ


การเรียนรู้จากการกระทำนั้น ผู้สอนจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ปฎิบัติการค้นหาความรู้ด้วยตัวของเขาเอง ปล่อยให้เขาค้นหาสิ่งที่ถูก กระตุ้นให้เขาอยากรู้ ด้วยวิธีการตั้งคำถามแบบเป็นขั้นเป็นตอนเชิงรุกเร้า ให้เขาอยากรู้ต่อๆไป เมื่อผู้เรียนอยากรู้ต่อ เขาจะต้องลงมือปฎิบัติการค้นหา สิ่งนั้นด้วยตัวของเขาเอง พอเขาค้นพบคำตอบ นำเสนอให้คนอื่นรู้ เขาก็จะถูกรุกเร้าด้วยคำถามยั่วยุกระตุ้นให้เขาต้องค้นหาคำตอบไปอีก

จากใจ...สู่เพื่อนครู

  เมื่อมีเวลาว่าง (จากเวทนาทางกาย) ผมนึกถึงโรงเรียน เด็กๆและเพื่อนครูเมื่อเปลี่ยนความนึกคิดนั้นมาเป็นตัวอักษรบทความที่ผมนำเสนอครั้งนี้คือผลที่เกิดตามมา ผมตั้งใจว่าจะเขียนไปเรื่อยๆ แล้วก็นำเสนอไปเรื่อยๆ(ถ้ามีผู้สนใจอ่าน และร่วมสนทนา) ความคิดที่ปรากฏเห็นนี้เป็นความคิดของคนแก่คนหนึ่งที่มีชีวิตอยู่ในช่วงสุดท้าย ถ้าหากว่ามีสิ่งใดไม่เหมาะเก่า ล้าสมัยไปบ้าง ก็ขออภัยถ้าหากว่ามีประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนก็ขอให้คุณครูผู้สนใจนำไปใช้แล้วมาเล่าสู่กันฟัง แลกเปลี่ยนกันเพื่อเรียนรู้ครับ

  ชาตรี  สำราญ

  08-1957-6136

  18 มิ.ย.56

การเรียนรู้จาการกระทำ

การเรียนรู้จากการกระทำนั้นผู้สอนจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ปฎิบัติการค้นหาความรู้ด้วยตัวของเขาเอง  ปล่อยให้เขาค้นหาสิ่งที่ถูกกระตุ้นให้เขาอยากรู้ ด้วยวิธีการตั้งคำถามแบบเป็นขั้นเป็นตอนเชิงรุกเร้าให้เขาอยากรู้ต่อๆไป เมื่อผู้เรียนอยากรู้ต่อ เขาจะต้องลงมือปฎิบัติการค้นหา สิ่งนั้นด้วยตัวของเขาเอง  พอเขาค้นพบคำตอบ  นำเสนอให้คนอื่นรู้ เขาก็จะถูกรุกเร้าด้วยคำถามยั่วยุกระตุ้นให้เขาต้องค้นหาคำตอบไปอีก

คำถามนั้นจะต้องเป็นคำถามที่ท้าทายให้ผู้อื่นใคร่ที่จะค้นหาคำตอบนั้นคือครูผู้สอนจะต้องรู้อย่างชัดเจนว่า  การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนปฏิบัติการค้นหาคำตอบครั้งนี้จะจบลงที่ใดโดยจะต้องเริ่มต้นที่ตรงไหน ตรงกลางเป็น

อย่างไรและนั่นคือครูต้องรู้เรื่องราวที่จะให้ผู้เรียนรู้มาก่อนแล้ว การรู้ของครูจะช่วยให้ครูตั้งคำถามได้เป็นขั้นเป็นตอนและกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากจะค้นหาคำตอบต่อๆไปได้ เช่น

การให้ผู้เรียนลงไปเรียนรู้ในทุ่งนาครูจะต้องตอบได้ว่า  สุดท้ายแล้วเกมการเรียนครั้งนี้เมื่อเด็กกลับมาสู่ห้องเรียนแล้วเขาจะได้เรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นบ้าง  ครูจะต้องกระตุ้นให้เขาศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมประเด็นต่อไปเพื่ออะไร  แล้วจะทำอะไรต่อ  เพื่ออะไร 

ครูจะต้องมีคำถามคำตอบเหล่านี้ไว้ในใจครู  เช่น ในกรณีเรื่องชาวนาครูต้องถามตนเองและค้นหาคำตอบให้ได้ว่า “จะสอนไปทำไมเพื่ออะไรและอย่างไร”เพราะคำตอบเหล่านี้จะบอกเป้าหมายและกิจกรรมการเรียนรู้ได้

ถ้าจะเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ชีวิตของชาวนาจะเรียนรู้อย่างไรทำไม

ถ้าจะเรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีพอเพียงชีวิตของชาวนาจะเรียนรู้อย่างไรทำไม

ถ้าจะเรียนรู้เพื่อความภูมิใจที่เกิดมาเป็นลูกหลานชาวนาจะเรียนรู้อย่างไรทำไม

ถ้าจะเรียนรู้เพื่อร่วมกันพัฒนาพันธ์ข้าวและชีวิตชาวนาจะเรียนรู้อย่างไรทำไม

เมื่อเด็กๆลงมาเรียนรู้ที่ใต้ร่มไม้ข้างห้องเรียนครูหยิบใบไม้ที่มีรอยพรุน แล้วถามว่า “ทำไมจึงเป็นแบบนี้”

“ใบไม้ใบอื่นในบริเวณนี้เป็นอย่างนี้บ้างไหมทำไม”แล้วเปิดโอกาสให้เด็กๆ ค้นหาคำตอบ จนในที่สุดเขาค้นพบห่วงโซ่อาหารได้ด้วยตนเองเขาสามารถนำไส้เดือนมาให้ดู เขาสามารถนำหลักฐานการย่อยสลายของใบไม้สู่ต้นไม้มาอธิบายได้แล้วเขาก็ร่วมกันไปค้นหาทฤษฎีห่วงโซ่อาหารมารับรองคำตอบของพวกเขาได้

บทเรียนแบบนี้  เริ่มจากปฏิบัติสู่ปฎิเวชแล้วจบลงที่ปริยัติ.  คือทำจนพอใจในคำตอบสรุปเป็นทฤษฎีได้

การเรียนรู้อย่างนี้เรียกว่า  เรียนแบบผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้แบบนี้ผู้เรียนจะต้องผูกโยงความรู้จากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่งได้  เช่น เขาเขียนว่า

ไส้เดือนกินใบไม้ผุเน่า

ซึ่งเป็นสาระด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เขาสามารถนำมาเขียนเป็นบทกวีได้  แบบว่า

ใบไม้ผุเน่า

ไส้เดือน

อิ่ม

  หรือ

ท่ามกลางความเน่าเปื่อย

ของใบไม้

ไส้เดือนซ่อนอยู่

นอกจากนี้ต้องฝึกให้ผู้เรียนบอกได้ว่าข้อเขียนทั้งหมดนั้นส่วนไหนเป็นคำวลี  หรือ ประโยค “ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น”

การเรียนรู้แบบผูกโยงเรื่องราวนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้แบบต่อเนื่อง ไม่แยกส่วนรายวิชา แต่ดำเนินกิจกรรมต่อๆกันไปตามเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นในขณะนั้น  เช่นถ้าเด็กๆ กำลังเรียนสาระวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมก็ปล่อยให้เขาเรียนไปครูอย่าห่วงเรื่องคาบเวลาเขาเรียนไปจนกระทั่งสรุปรายงานผลตรงนี้ ภาษาจะเข้ามามีบทบาท  ซึ่งเป็นการเรียนเรื่องเดียวได้หลายสาระวิชา

การจัดกิจกรรมอย่างนี้ครูจะต้องเข้าถึงหลักสูตร  แม่นในเป้าหมาย  เก่งในการตั้งคำถาม  ตั้งคำถามหลักและคำถามซอยย่อย สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนทำกิจกรรมจนบรรจุเป้าหมายได้ด้วยความพอใจ

สำหรับผลการเรียนรู้ที่ปรากฏในผู้เรียนนั้นโดยภาพรวมคล้ายคลึงกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรู้ลึกของแต่ละคนแต่ละกลุ่มแต่ความคิดรวบยอดน่าจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันต่างกันที่ภาษานำเสนอ ดั่งกล่าวที่ว่า

ธรรมสัจจะเหมือนกัน

ต่างกันที่สภาวธรรม

การที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเขียนเป็นบทกวีสั้นๆแบบ

ใบไม้ผุเน่า

ไส้เดือน

อิ่ม

เป็นคำที่เขาเค้นออกมาภายหลังที่ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้จากสภาพจริง ส่งผลให้ผู้เรียนเห็นความจริงจากความเป็นจริง  แล้วเขียนความจริงนั้นออกมา

การเขียนหรือนำเสนอความจริงที่เห็นนั้นจะต้องฝึกบ่อยๆจนเกิดความคล่อง เพราะมิฉะนั้นผู้เรียนจะนำเสนอสั้นๆ หรือเงียบเสียมากกว่า  ทักษะการใช้ภาษาต้องฝึก

สำหรับรูปแบบการนำเสนอนั้น  บางกลุ่มจะนำเสนอเป็นแบบละคร ลิเก มโนราห์หนังตะลุง หรือบทกวี ก็ได้ทั้งนั้น แต่ทุกอย่างต้องชัดเจน ต้องแสดงให้เห็นถึงความสามารถของผู้เรียนผู้นำเสนอตรงนี้สำคัญมาก ครูต้องฝึกวิธีการนำเสนอให้แก่ผู้เรียนจนเกิดเป็นตัวตนของผู้เรียนคนนั้นๆหรือกลุ่มนั้นได้

อ่านเป็นเล่มได้ที่ https://docs.google.com/docume... 


หมายเลขบันทึก: 540686เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2013 13:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2018 12:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท